รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวานสูงที่สุดในโลกภายในปี 2โรคเบาหวานชนิดที่3โรคเบาหวานชนิดที่ ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและยังนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

ดร.อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการและฝ่ายพัฒนาการวิจัยและวิทยาศาสตร์ เฮอร์บาไลฟ์ เอเชียแปซิฟิก เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมุ่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พร้อมแบ่งปันวิธีการปรับไลฟ์สไตล์สู้โรค เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคน

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความเสี่ยงนี้เพิ่มสูงขึ้นจากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองที่เร่งรีบ เคร่งเครียด และขาดการเคลื่อนไหวร่างกายจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน รวมทั้งการเข้าถึงอาหารจานด่วนได้อย่างง่ายดาย นำไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม อย่างการกินขนมและของว่างเพื่อคลายเครียด จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังพบอัตราการเพิ่มขึ้นของเด็กที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งภาวะอ้วนในวัยเด็กเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพระยะยาว รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งบางคนอาจมีรูปร่างภายนอกที่ดูสมส่วน แต่อาจแฝงไปด้วยไขมันส่วนเกิน หรือที่เรียกว่าภาวะ "TOFI" (Thin Outside, Fat Inside: ผอมภายนอก อ้วนภายใน) ซึ่งพบได้บ่อยในชาวเอเชียและผู้ที่บริโภคโปรตีนไม่เพียงพอและมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะเริ่มต้นอาจไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่รู้ตัว

กินแบบสมาร์ท แค่ปรับนิด ชีวิตเปลี่ยน

โภชนาการมีบทบาทอย่างมากในการป้องกันและจัดการโรคเบาหวานชนิดที่2 โดยอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล หรือ GI สูงอย่าง ขนมปังขาว และขนมหวาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลินในระยะยาว การลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก สามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น (ไข่มุกในชานมเป็นตัวเพิ่มแคลอรี่และค่า GI ทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง) และหันมาเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แทน เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก และผลไม้ที่มีใยอาหารสูง ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ชะลอการดูดซึมน้ำตาล ทำให้อิ่มนานขึ้น และส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร

การให้ความสำคัญกับอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน และลดอาหารแปรรูป จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานจัดการกับโรคได้ดีขึ้น และยังเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมและระบบเผาผลาญให้แข็งแรง

มองหาตัวช่วยที่ใช่ ช่วยเสริมสุขภาพแข็งแรง โปรตีน โอเมก้า-3 และแมกนีเซียม เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมระบบเผาผลาญ โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งโปรตีนจะช่วยควบคุมความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น และเพิ่มการเผาผลาญ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานในการย่อยโปรตีนมากกว่าปกติ ส่วนโอเมก้า-3 พบได้ในปลาแซลมอน ช่วยลดการอักเสบ เพิ่มความไวต่ออินซูลิน และลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน สำหรับแมกนีเซียม ช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินและการเผาผลาญกลูโคส เพิ่มความไวต่ออินซูลินและการจัดการน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ และเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักได้ง่ายขึ้น

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายระดับปานกลาง 150 นาทีต่อสัปดาห์ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน หากไม่มีเวลาออกกำลังกายในช่วงเวลาทำงาน การทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น โยคะบนเก้าอี้ทำงาน หรือการเดินระยะสั้น ๆ ก่อนและหลังมื้ออาหาร ก็สามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ รวมทั้งมีส่วนช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เพิ่มระดับพลังงาน และช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายด้านสุขภาพในระยะยาว

นอกจากนี้การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอและความเครียดเรื้อรัง สามารถรบกวนการทำงานของระบบเผาผลาญ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อนและการจัดการความเครียด เช่น การทำสมาธิ และการฝึกหายใจลึกๆ ซึ่งช่วยควบคุมฮอร์โมนความเครียดได้ ดีต่อระบบเผาผลาญ และส่งเสริมสุขภาพโดยรวม

วิถีชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบ อาจทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องยาก แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันอย่างสม่ำเสมอแม้เพียงเล็กน้อย ควบคู่ไปกับการดูแลเชิงป้องกัน และใส่ใจตรวจสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเป็นแนวทางในการรับมือกับโรคเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ

หากต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม หรือติดตามเคล็ดลับด้านสุขภาพ โปรดติดตาม Facebook/HerbalifeThailandOfficial หรือ Instagram/HerbalifeThailandOfficial


ข่าวโรคเบาหวานชนิดที่+เอเชียแปซิฟิกวันนี้

รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวานสูงที่สุดในโลกภายในปี 2030 ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและยังนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดร.อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการและฝ่ายพัฒนาการวิจัย

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเ... โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น — โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง...

กลุ่มแพทย์เผยแนวปฏิบัติใหม่สำหรับการผ่าตัดลดน้ำหนัก หลังใช้ของเดิมมานาน 30 ปี

เผยข้อเสนอแนะใหม่แทนที่ฉันทามติเดิมที่ล้าสมัย ซึ่งจำกัดการเข้าถึงการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักสมัยใหม่ สองหน่วยงานชั้นนำของโลกในด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric Surgery) และการผ่าตัดรักษาระบบเผาผลาญ (Metabolic Surgery) ได้เผย...

เจดีอาร์เอฟประกาศเผยแพร่ดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระดับโลก

ดัชนีดังกล่าวนี้ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก จะยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาระและความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของผู้ที่ต้องใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทั่วโลก เจดีอาร์เอฟ (JDRF) องค์กรชั้นนำระดับโลกผู้วิจัยและสนับสนุนประเด็นโรค...

Gan & Lee Pharmaceuticals เตรียมนำเสนอข้อมูลล่าสุดในการประชุมประจำปีครั้งที่ 57 ของสมาคมการศึกษาโรคเบาหวานแห่งยุโรป

Gan & Lee Pharmaceuticals Co., Ltd. (หมายเลขหุ้น: 603087.SH) มีความยินดีที่จะนำเสนอข้อมูลเชิงบวกจาก 5 บทคัดย่อ ในการอภิปรายสั้น ๆ ระหว่างการประชุมประจำปีครั้งที่ 57 ของสมาคมการศึกษาโรค...

โซลูชันดูแลสุขภาพที่บ้านมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคโควิด

Jeremy Rolleston นักกีฬาโอลิมปิกสองสมัยและผู้ก่อตั้ง Active8me (บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพที่เพิ่งคว้ารางวัล Best Health & Wellness platform in Asia) กล่าวว่า โซลูชันดูแลสุขภาพที่บ้านกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากท่ามกลางสถานการณ์การ...

หลายคนอาจยังเข้าใจว่ามะเร็งตับ, ตับอักเสบ... กินของมันบ่อยๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้ — หลายคนอาจยังเข้าใจว่ามะเร็งตับ, ตับอักเสบ หรือไขมันพอกตับ มักเกิดขึ้นเฉพาะคนที่ทานแอลกอฮอล์เป็นประจำเท่านั้น ...

การศึกษาวิจัยระยะที่ 2 ชี้ การเปลี่ยนไปใช้ insulin icodec สัปดาห์ละครั้ง มีประสิทธิภาพและทนต่อผลข้างเคียงได้ดีในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

วันนี้ Novo Nordisk ได้ประกาศผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 จำนวนสามรายการ ซึ่งเป็นการศึกษา insulin icodec ซึ่งเป็นสารคล้ายคลึงอินซูลินพื้นฐานแบบสัปดาห์ละครั้ง และ...

คงไม่ใช่เรื่องธรรมดานัก หากจะมีใครสักคนที... เข้าใจ 'เบาหวาน’ ผ่าน 'งานศิลป์’ — คงไม่ใช่เรื่องธรรมดานัก หากจะมีใครสักคนที่มองเห็นความงดงามเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับความเจ็บป่วย ทว่าการไม่เห็นนั้น ก็...