23 กันยายน 2567 - เฮอร์บาไลฟ์ บริษัทชั้นนำด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีระดับโลก เปิดผลสำรวจเกี่ยวกับการทำธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Business of Wellness) พบว่า แม้ผู้คนจะมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ใน 5 (63%) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความต้องการที่จะทำธุรกิจขนาดเล็ก และกำลังวางแผนเริ่มต้นธุรกิจใน 18 เดือนข้างหน้านี้ นอกจากนี้ ยังมีทัศนคติในเชิงบวกต่อการเป็นผู้ประกอบการ โดยร้อยละ 59 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นที่จะเริ่มต้นธุรกิจในช่วงนี้
ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสของธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยพิจารณาจากทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคและศักยภาพทางธุรกิจ ดังนี้
การสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดยเฮอร์บาไลฟ์ และดำเนินการโดย Talker Research ในเดือนมิถุนายน 2567 เพื่อสำรวจความต้องการและโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงแนวโน้มการใช้จ่ายด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 8,000 คน จาก 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
"แม้ว่าปัจจุบันการเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะยังคงมีความท้าทาย แต่เราพบว่าผู้ประกอบการในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมั่นและมองเห็นโอกาสในปี 2567 มากขึ้นกว่าปีที่แล้ว" โทมัส ฮาร์มส์ รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์ กล่าว "เราเชื่อว่าการเลือกโมเดลธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนต่ำ และการเข้าร่วมกับชุมชนที่ให้การสนับสนุน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการที่ความมุ่งมั่นตั้งใจ"
"เรายังคงเห็นกระแสความสนใจในการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง" ฮาร์มส์ กล่าวเพิ่มเติม "โดยเฉพะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความมุ่งมั่น การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจส่วนนี้ถือเป็นโอกาสทองที่น่าจับตา เฮอร์บาไลฟ์ ในฐานะบริษัทที่เติบโตเคียงข้างผู้ประกอบการด้านสุขภาพ เรามีพันธกิจที่จะสนับสนุนทั้งผู้ประกอบการปัจจุบันและผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและช่วยให้พวกเขาบรรลุศักยภาพสูงสุด"
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปี 2567
แม้ว่าเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ นำไปสู่ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น จนอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลผลิตภัณฑ์และบริการ แต่ผู้ประกอบการกว่า 81% ที่ทำการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่า ธุรกิจของพวกเขาจะแข็งแกร่งขึ้นในปี 2567 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีความท้าทาย 3 อันดับแรกที่เจ้าของธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญ ได้แก่ ความสามารถในการทำกำไรท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น (32%) การรักษาฐานลูกค้า (26%) และการรักษาธุรกิจให้อยู่รอด จำเป็นต้องทุ่มเทเวลาทำงานมากขึ้น (25%)
โอกาสด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
การใช้จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีกำลังเพิ่มสูงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากผลการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคนี้ ซื้อผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่าครึ่ง (51%) และมีแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในด้านนี้ภายในปี 2567 โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 3 (64%) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายตั้งแต่ 25% ขึ้นไป โดยในบรรดาผู้ที่วางแผนจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มี 2 หมวดหมู่ที่พวกเขาตั้งใจจะใช้จ่ายมากที่สุดคือ อาหารเสริม (72%) และคลาสออกกำลังกาย (31%)
Gen Zs และ Millennials อยากเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่ง
กลุ่ม Gen Zs และ Millennials มีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งกว่า Gen X และ Boomers โดยร้อยละ 87 ของ Gen Zs และ Millennials ระบุว่าตนเองอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือมีความสนใจที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจขนาดเล็กในอนาคต ซึ่งสูงกว่า Gen X ที่มีความสนใจอยู่ที่ 83% และ Boomer (59%)
จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันมีรูปแบบธุรกิจและช่องทางการมีส่วนร่วมที่หลากหลายสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยพบว่ากลุ่มคนรุ่น Gen Z (70%) และกลุ่มคนรุ่น Millennials (65%) มีความเปิดกว้างต่อการขายตรงสูงที่สุด นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ในอินโดนีเซีย (91%) ฟิลิปปินส์ (86%) เวียดนาม (87%) ไทย (77%) และมาเลเซีย (62%) ก็มีมุมมองในเชิงบวกต่อการขายตรงเช่นกัน
Gen Zs และ Millennials ระบุเหตุผลหลักในการเริ่มธุรกิจของตนเองว่า เป็นโอกาสที่จะได้รับรายได้มากขึ้น และให้ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ รวมทั้งยังมีเวลาในการสิ่งที่ชอบ ซึ่งงานทั่วไปไม่สามารถทำได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit