นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวกรณีชาวบ้านในพื้นที่เขตลาดพร้าว ถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ (ถนนประดิษฐ์มนูธรรม) ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากที่ กทม. อนุมัติให้บริษัทเรียลเอสเตทก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมมากกว่า 6 อาคารว่า โครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมโนเบิล ครีเอท (Noble Create) ชื่อเดิมโครงการ โนเบิล ฟรีดอม (Noble Freedom) ตั้งอยู่ที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว ได้เสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 65 และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร (คชก.กทม.) ในการประชุมครั้งที่ สำนักสิ่งแวดล้อมประพาส เหลืองศิรินภา/คอนโดมิเนียม565 เมื่อวันที่ คอนโดมิเนียม8 ก.พ. 65 ต่อมาได้เสนอรายงานฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเข้าสู่การพิจารณาของ คชก.กทม. ในการประชุมครั้งที่ สำนักสิ่งแวดล้อมเรียลเอสเตท/คอนโดมิเนียม565 เมื่อวันที่ คอนโดมิเนียมสำนักสิ่งแวดล้อม มี.ค. 65 ซึ่งมีมติให้ความเห็นชอบรายงาน EIA โครงการดังกล่าว ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณารายงาน EIA โครงการดังกล่าวที่เสนอให้ คชก.กทม. พิจารณานั้น เป็นไปตามหลักกฎหมายและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้นำประเด็นข้อห่วงกังวลของโครงการดังกล่าวเข้ามาพิจารณาประกอบการให้ความเห็น โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความได้สัดส่วน และความจำเป็นในการใช้ดุลพินิจในเรื่องนั้น ๆ ไว้ด้วยแล้ว ซึ่ง คชก.กทม. ได้ดำเนินกระบวนการพิจารณารายงาน EIA ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งโครงการได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้อย่างครอบคลุม หากมีการร้องเรียนจะต้องดำเนินการตามผังแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่กำหนดไว้ในมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยมาตรการต่าง ๆ ในรายงานโครงการจะกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตก่อสร้าง หรือรับแจ้งการก่อสร้างอาคาร ซึ่งโครงการจะต้องถือปฏิบัติ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ จะมีความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ส่วนการติดตามตรวจสอบให้ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานฯ มีทั้งการติดตามตรวจสอบโดยหน่วยงานที่อนุญาต ได้แก่ สำนักการโยธา และหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ นอกจากนี้ เจ้าของโครงการมีหน้าที่จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการในการรายงานฯ ให้ กทม. เพื่อส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ปีละ 2 ครั้งด้วย
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเร่งด่วนของ กทม. เพื่อรองรับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแนวโน้มสูงขึ้นว่า กทม. ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 68 อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สูง โดยให้ทุกหน่วยงานเพิ่มความเข้มงวดกวดขัน เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิด บรรเทาสถานการณ์ฝุ่นและลดผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นผ่านแอปพลิเคชัน AirBKK เพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม กทม.
กทม. เร่งปรับปรุงห้องน้ำในสวนสาธารณะ กำชับเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด-ตรวจความเรียบร้อยทุก 2 ชม.
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ก...
กทม. ดูแลรักษาความสะอาด จัดเก็บขยะและวัชพืชในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวกรณีมีข้...
กทม. ย้ำตัวเงินตัวทองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แนะประชาชนเรียนรู้อุปนิสัย-อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กท...