นายไวทยา นวเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตขอบยางแบ่งช่องจราจรรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) กับถนนปกติ เริ่มหลุดลอกชำรุดบางส่วนเนื่องจากมีทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าไปวิ่งในช่องทางรถ BRT แล้วขับเหยียบยางออกมาในช่องทางปกติว่า สจส. อยู่ระหว่างติดตั้งคันยางกั้นช่องเดินรถ BRT ปัจจุบันยังดำเนินการไม่ครบถ้วนตามสัญญา (สิ้นสุดสัญญาวันที่ รถจักรยานยนต์สำนักการจราจรและขนส่ง พ.ย. 67) หากมีการชำรุดเสียหายจะเร่งดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนสิ้นสุดสัญญา สำหรับรูปแบบของคันยางกั้นช่องเดินรถโดยสาร BRT เดิมใช้เป็นแท่งคอนกรีต เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นส่งผลให้ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุมีระดับสูง ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุมีโอกาสได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือเสียชีวิต จึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุเป็นยาง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและสามารถลดระดับความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
นอกจากนี้ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ในฐานะเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 139 (1) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) และรถมวลชน พ.ศ. 2553 ที่สรุปสาระสำคัญในข้อ 3 ได้ว่า กำหนดให้ช่องทางเดินรถบนถนนดังต่อไปนี้เป็นช่องทางสำหรับเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) และรถมวลชน ดังนี้ (1) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งแต่แยกถนนสาทรใต้ตัดกับถนนนราธิวาสราชนครินทร์มุ่งหน้าถนนพระรามที่ 3 ไปตลอดทั้งสาย และถนนพระรามที่ 3 ตั้งแต่สะพานข้ามแยกถนนวงแหวนอุตสาหกรรมถึงเชิงสะพานพระราม 3 กำหนดให้ช่องทางเดินรถด้านขวาสุดของถนนดังกล่าวเป็นช่องทางเฉพาะรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) สำหรับเดินรถเท่านั้น (2) บนสะพานข้ามแยกถนนวงแหวนอุตสาหกรรม สะพานข้ามแยกถนนสาธุประดิษฐ์ สะพานข้ามแยกถนนรัชดาภิเษก สะพานข้ามแยกเจริญราษฎร์ สะพานพระราม ๓ และถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่สะพานพระราม 3 ถึงแยกราชพฤกษ์ กำหนดให้ในช่องทางเดินรถด้านขวาสุดเป็นช่องทางเฉพาะรถมวลชน ซึ่งหมายถึง รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีผู้โดยสารนั่งรวมผู้ขับขี่ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเดินรถในช่องทางดังกล่าวเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท ดังนั้น หากประชาชนพบเห็นผู้กระทำความผิด ขอให้ช่วยกันกล่าวโทษกับเจ้าพนักงานตำรวจ หรือส่งข้อมูลวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ และรายละเอียดต่าง ๆ ส่งให้ สจส. เพื่อกล่าวโทษต่อไป
นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ่มความปลอดภัยทางม้าลาย หลังเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ฝ่าไฟแดงชนนักท่องเที่ยวขณะข้ามทางม้าลายหน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ว่า บริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย) ดังกล่าว สจส. ได้ทาสีพื้นทางม้าลายด้วยสีโคลด์พลาสติกสีแดง เพื่อเตือนผู้ขับขี่ให้ชะลอความเร็วก่อนถึงทางข้าม พร้อมติดตั้งสัญญาณไฟจราจรชนิดกดปุ่มเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้คนเดินข้ามถนน อีกทั้งยังติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) พร้อมระบบ AI
กทม. เร่งติดกล้อง CCTV พร้อมระบบ AI เพิ่ม พบหลังติดตั้งผู้ฝ่าฝืนขับขี่บนทางเท้าลดลง
—
นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ก...
กทม. เดินหน้าติดกล้อง CCTV พร้อม AI แล้ว 80 ตัว ตรวจจับผู้ฝ่าฝืนจอด-ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า
—
นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. ก...
สจส. คืนช่องจราจรแยกพร้อมจิต พร้อมปรับช่องทางคนเดินกว้าง 1.20 เมตร
—
นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวชี้แจงกรณีการ...
กทม. เร่งติดตั้งคันยางกั้นช่องเดินรถ BRT ลดระดับความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ-ผบช.น.ออกข้อบังคับช่องเดินรถ BRT
—
นายไวทยา นวเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักกา...
กทม. เดินหน้าลดอุบัติเหตุบริเวณทางม้าลาย ติดตั้งสัญญาณไฟชนิดกดปุ่ม-ทำทางข้ามยกระดับ
—
นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ก...
กทม.เร่งปรับปรุงกายภาพ-ติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมระบบ AI เพิ่มความปลอดภัยทางม้าลายหน้า รร.โยธินบูรณะ
—
นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง...
กทม.เร่งปรับปรุงกายภาพทางข้าม - ติดกล้อง CCTV พร้อม AI ป้องปรามผู้ทำผิดกฎจราจร
—
นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.กล่าวถึ...
กทม. แจงจัดซื้อกรวยล้มลุกเปิดให้แข่งขันราคาอย่างโปร่งใส-พร้อมให้ความร่วมมือหน่วยงานตรวจสอบ
—
นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)...