วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันสุขภาพจิตโลก" (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และส่งเสริมการดูแลจิตใจให้กับทุกคน หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงอย่างมากในวันสุขภาพจิตโลกคือ "โรคซึมเศร้า" ที่นับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคลและสังคม
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่า ประมาณ 280 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 4% ของประชากรโลก และโรคนี้ยังมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายอีกด้วยในประเทศไทย โรคซึมเศร้าก็เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ จากสถิติของกรมสุขภาพจิตเผยว่า คนไทยกว่า 1.5 ล้านคนกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้า
นอกจากนี้ ในกลุ่มอายุ 15-29 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับความใส่ใจและการดูแลอย่างใกล้ชิดถึงแม้การรับรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดและอคติอยู่มาก เช่น การมองว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงการคิดมากเกินไปหรือการขาดกำลังใจ ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่กล้าเปิดเผยตัวตนและไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ดังนั้น การยอมรับและเข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องการการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการลดอคติและสร้างสังคมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพจิตของทุกคนในปัจจุบัน โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ และมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น การรักษาด้วยยา, การทำจิตบำบัด การทำกิจกรรมบำบัด และการรักษาด้วย
dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระแสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ในการที่จะปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้ โดยการรักษาด้วย dTMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยและมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันมีการนำ dTMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดและการกินยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรักษาให้ดีขึ้นอีกด้วย"โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง และมีจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การที่มีวันสุขภาพจิตโลกจึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และส่งเสริมให้ทุกคนมีความใส่ใจในสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง" แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit