เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยวิจัย องค์กรเติบโตสูง คาดหวังว่า AI และ GenAI จะช่วยปฏิรูปอุตสาหกรรม

07 Oct 2024

ผลวิจัยจาก 40 ประเทศ ชี้องค์กรกำลังเผชิญความท้าทายในการนำ AI มาใช้ ขณะสร้างจุดยืนเพื่อนวัตกรรมในอนาคต

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยวิจัย องค์กรเติบโตสูง คาดหวังว่า AI และ GenAI จะช่วยปฏิรูปอุตสาหกรรม
  • 99% ขององค์กรในไทยเชื่อว่า AI จะเข้ามาปฏิรูปอุตสาหกรรม
  • 27% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กำลังเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดสู่การนำ GenAI มาใช้งานจริง
  • 98% ขององค์กรไทยกล่าวว่าข้อมูลคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้าน AI
  • 89% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กล่าวว่าเครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์ และให้ผลลัพธ์สูงสุด

ผลการวิจัย Dell Technologies Innovation Catalyst Research 99% สำหรับองค์กรไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) โดยองค์กรที่รายงานการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2023 มีสูงถึง 91% (เพิ่มขึ้น 25%) และลดลงเหลือ 75% สำหรับองค์กรที่รายงานการเติบโตรายได้ลดลง (1-5%) และมีรายได้คงที่หรือถดถอย

จากการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 6,600 คน ครอบคลุม 40 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AI และ GenAI แต่ระดับความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ล้วนแตกต่างกันไปมาก  เกือบทุกองค์กรในประเทศไทย (98%) กล่าวว่าตัวเองมีจุดยืนที่ดีในการแข่งขันและมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 80% ทั่วโลก 82%) ขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจที่เป็นองค์กรในไทยต่างไม่แน่ใจว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 50% ทั่วโลก 48%) และทุกองค์กร (100%) รายงานถึงความยากลำบากในการตามให้ทันกับสถานการณ์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% ทั่วโลก 57%) โดย 40% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทยกล่าวว่ายังขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 41% ทั่วโลก 35%) โดย 37% รายงานถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 31%) และ 34% ขององค์กรในประเทศไทยรายงานถึงการขาดงบประมาณ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 31% ทั่วโลก 29%) ว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

GenAI จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง

60% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่า GenAI ให้ศักยภาพที่โดดเด่นในการปฏิรูปการทำงาน ช่วยสร้างคุณค่าในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยไอที (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 52%) และ 65% อ้างถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดี (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 53% ทั่วโลก 52%) ขณะที่ 62% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย อ้างถึงศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้น (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 51%) นอกจากนี้ ผู้ร่วมการสำรวจยังตระหนักดีถึงความท้าทายที่ต้องรับมือ 88% ขององค์กรในไทยกลัวว่า AI จะนำพาปัญหาใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยภัยและความเป็นส่วนตัวมาด้วย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 69% ทั่วโลก 68%) และ 90% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) เห็นพ้องว่าข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรตนมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาไว้ในเครื่องมือ GenAI ที่บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงได้

ในภาพรวม การตอบแบบสอบถามยังชี้ว่าองค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของ GenAI ในการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การนำมาใช้งานจริง 27% ของผู้ร่วมการสำรวจจากไทยกล่าวว่ากำลังเริ่มนำ GenAI มาใช้งาน เนื่องจากองค์กรต่างๆ กำลังนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งความกังวลหลักจะอยู่ที่การทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงตรงจุดไหนบ้าง และใครรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น โดย 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย เห็นพ้องว่าองค์กรควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของ AI มากกว่าตัวระบบ การใช้งาน หรือสาธารณะเองก็ตาม

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มว่า "ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าบรรดาธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงของ AI และ GenAI ที่ให้ศักยภาพสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้า ความท้าทายในขณะนี้ คือการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การใช้งานจริง และการสร้างระบบนิเวศของพันธมิตรที่เชื่อถือได้คือสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้องค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย สามารถปรับขยายเพื่อรองรับนวัตกรรมได้ อีกทั้งช่วยตอบโจทย์ความกังวลใจหลักอย่างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม และการสร้างความยั่งยืน  

องค์กรกำลังต่อกรกับความท้าท้ายของภาพรวมภัยคุกคามในปัจจุบัน

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในวงกว้าง ความกังวลเหล่านี้ มีที่มาที่ไป เนื่องจาก 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากการโจมตีความปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 83%) ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ (96%) กำลังนำกลยุทธ์ Zero Trust มาใช้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 90% ทั่วโลก 89%) และ 94% ขององค์กรในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรตนมีแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Plan) อยู่แล้ว ในการรับมือการโจมตี หรือข้อมูลรั่วไหล (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 78%)

ปัญหาหลักสามอันดับแรก ได้แก่ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการละเมิดข้อมูล ในรายงานยังเน้นว่าปัญหาที่เกิดจากฟิชชิ่ง เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมา โดยพนักงานมีบทบาทต่อภัยคุกคามในภาพรวม ตัวอย่างเช่น 86% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 72% ทั่วโลก 67%) เชื่อว่าพนักงานบางคนหลบหลีกข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในองค์กรเพราะทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ 91% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย กล่าวว่าภัยคุกคามจากในองค์กรเป็นความกังวลอย่างมาก (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 70% ทั่วโลก 65%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเพราะบุคลากรคือด่านแรกในการป้องกัน

โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การวิจัยยังเผยว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง GenAI กำลังเดินหน้าพัฒนาและมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการปรับขยายได้ ถูกหยิบยกว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ธุรกิจต้องปรับปรุงเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในประเทศไทย (78%) กล่าวถึงความชื่นชอบในโมเดลแบบ on-prem หรือไฮบริด ว่าช่วยตอบโจทย์ความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดจากการนำ GenAI มาใช้ในองค์กร

นอกจากนี้ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลทั่วองค์กร ยังนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม 53% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 33%) กล่าวว่าปัจจุบันตนสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังรับมือกับความท้าทาย 98% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 82%) กล่าวว่าข้อมูลคือปัจจัยที่สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ GenAI ต้องสัมพันธ์กับการใช้และปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ผู้ร่วมการสำรวจเกินครึ่ง (62%) ในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 47% ทั่วโลก 42%) ยังอ้างว่าตัวเองคาดว่าภายในห้าปีข้างหน้า จะมีปริมาณข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมาจากเอดจ์

ผลวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ รวมถึงประเด็นต่อไปนี้

  • เรื่องทักษะ เกือบสามในสี่ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (78%) (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 74% ทั่วโลก 67%) อ้างว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะซึ่งจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรม ความคล่องตัวในการเรียนรู้และปรับตัว ความเชี่ยวขาญด้าน AI และความสร้างสรรค์ รวมถึงการคิดในเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการจัดให้เป็นทักษะและความสามารถด้านการแข่งขันในอันดับต้นสำหรับห้าปีข้างหน้า
  • ความยั่งยืน 64% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 48% ทั่วโลก 42%) เชื่อว่า "การขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนให้สภาพแวดล้อม" คือส่วนสำคัญที่ต้องปรับปรุง และประสิทธิภาพด้านพลังงานคือประเด็นหลัก 92% ขององค์กรในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 79%) กำลังทดลองใช้โซลูชันเชิงบริการ (as-a-Service) เพื่อจัดการสภาพแวดล้อมไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 97% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) กำลังย้ายการดำเนินงานด้าน AI Inferencing ไปที่เอดจ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน (เช่น อาคารอัจฉริยะ)
  • การทำไอที ให้เป็นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ปัจจุบัน 82% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) มีเหตุผลในการแยกผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ออกจากการสนทนาที่เป็นเชิงกลยุทธ์ กระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังถูกจัดว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ควรปรับปรุงและสำคัญเป็นอันดับสอง
  • การให้ผลลัพธ์ 89% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย เชื่อว่าเครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์และให้ผลลัพธ์สูงสุด

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยวิจัย องค์กรเติบโตสูง คาดหวังว่า AI และ GenAI จะช่วยปฏิรูปอุตสาหกรรม
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit