ปี 2567 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่สำคัญอย่างมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้นหลายประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งที่ผ่านไปแล้วอย่าง รัสเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อังกฤษ และที่ต้อง จับตาอย่างมากคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจและกระทบต่อภูมิทัศน์การลงทุนทั่วโลกอย่างแน่นอน
ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ กับจุดเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจโลก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองมากที่สุดด้วยหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น อิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายจากผู้นำคนใหม่ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองนี้สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ ที่คาดไม่ถึงและอาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น ในด้านของเศรษฐกิจที่นโยบายของสองผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน โดย โดนัลด์ ทรัมป์ เน้นนโยบายการลดภาษี การลดข้อบังคับทางธุรกิจ และเการเจรจาทางการค้าที่ยุติธรรมและเป็นมิตรต่อธุรกิจ ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตของภาคธุรกิจในประเทศและการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น ในขณะที่ ความตึงเครียดทางการค้ากับประเทศอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนระหว่างประเทศ ในขณะที่ คามาลา แฮร์ริส มีนโยบายไม่แตกต่างจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน มากนัก โดยยังคงเน้นนโยบายการลงทุนในพลังงานสะอาด การเพิ่มภาษีคนรวย และการเสริมสร้างระบบสวัสดิการสังคม โดยนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจสร้างความไม่แน่นอนและความผันผวนในตลาดการลงทุน
ทิศทางการลงทุนก่อน-หลังเลือกตั้ง
เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงภาพรวมการลงทุนในตลาดช่วงระหว่างก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา จะพบว่าตลาดหุ้นผันผวนสูงทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่การฟื้นตัวของตลาดหลังการเลือกตั้งมักเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากมีปัจจัยจากนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน เช่น การเลือกตั้งในปี 2559 ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นตอบสนองในทางบวกช่วงหลังการเลือกตั้ง ตรงกันข้ามกับช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ตลาด มีความผันผวนสูง และการเลือกตั้งในปี 2563 ที่โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นต่างมีความผันผวนทั้งก่อน และหลังการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน และสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าภาพรวมการลงทุนของตลาดจะอยู่ในทิศทางบวก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ ยังคงแข็งแกร่ง แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรก แต่หลังจากสถานการณ์เงินเฟ้ออ่อนตัวดีขึ้น พร้อมทั้งถ้อยแถลงจากประธาน FED ล่าสุดมีการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ โดยที่ตลาดคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้
นอกจากนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้ท้าชิงจากฝั่งเดโมแครต ส่งผลให้การแข่งขันของทั้งสองพรรคกลับมาสูสีกัน และยากที่จะคาดเดาว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ทำให้เกิดความผันผวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น การกระจายการลงทุนและจัดการด้านความเสี่ยงถือเป็น หลักสำคัญในสภาวะตลาดเช่นในปัจจุบัน
กระจายการลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation คือทางออกในการรับมือกับความผันผวน ALL ROADS Series โอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคง จำกัดผลกระทบแม้ในสถานการณ์ไม่แน่นอน
ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและคาดการณ์ได้ยากจากสถานการณ์เช่นนี้ KBank Private Banking แนะนำให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation โดย แบ่งเงินลงทุน 50-70% ของพอร์ตลงทุนในกองทุน ALL ROADS Series ไม่ว่าจะเป็น K-ALLRD-UI-A(A), K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ช่วยให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมทั้งจำกัดความเสียหายในทุกสภาวะตลาด และยังมาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติ ในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ขณะเดียวกันในช่วงตลาดผันผวน ลดสัดส่วนการลงทุน ถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กองทุนสามารถจัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในสภาพตลาดที่หลากหลาย โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสม่ำเสมอ และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
นอกเหนือจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนต้องติดตาม ยังมีสิ่งอื่นที่นักลงทุนต้องจับตาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็น ความกังวลต่อเรื่อง Recession ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือยังเป็น Soft Landing ตามที่เคยคาดไว้ การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่จะลดครั้งละ 0.25% ในเดือนกันยายน พฤศจิกายน และธันวาคมในปีนี้ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่ 3.75% และคงอยู่ในระดับสูง (Higher for longer) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงได้ในทุกสถานการณ์
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของคู่ค้าสหรัฐฯ แต่ยอมรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อ GDP ไทย คาดมาตรการดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลทันที แนะไทยเร่งหาตลาดใหม่ทดแทน และสร้างช่องทางการส่งออกให้กับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เพื่อสร้างรายได้จากการส่งออกและโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งเป็นการกระจายเม็ดเงินสู่ระดับฐานราก ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า การที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
จับตาเลือกตั้งใหญ่ระดับโลกทำตลาดผันผวน เตรียมจัดพอร์ตลงทุนอย่างไรดี
—
ปี 2567 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่สำคัญอย่างมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เนื่องจาก...
โรงแรมอนันตรา สยาม จัดแพ็คเกจยกระดับการพักผ่อนสุดหรู พร้อมมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยระดับโลก
—
โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ จัดแพ็คเกจยกระดับการพักผ่อน...
KBank Private Banking ผนึกกำลัง ลอมบาร์ด โอเดียร์ คว้า อัล กอร์ ร่วมสัมมนา “SUSTAINABILITY REVOLUTION” จุดประกายการลงทุนสู่ความยั่งยืน
—
KBank Private Ban...
“ทิสโก้” แนะจับตาเลือกตั้งประธาน Fed หวั่นพลิกโผหนุนดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า เงินไหลออกบอนด์-หุ้นไทย
—
กูรูทิสโก้แนะจับตาทรัมป์เลือกประธาน Fed คนใหม่ หากพลิก...
ภาพข่าว: SCB PRIVATE BANKING และ SCB FIRST จัดสัมมนาพิเศษ Investment Talk เจาะลึกนนโยบายทรัมป์ โอกาสหรือความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก
—
SCB PRIVATE BANKING (เอ...
“พีพีทีวี” ส่ง “กรุณา บัวคำศรี” เกาะติดโค้งสุดท้ายศึกชิงทำเนียบขาว 2016 ลุ้น “ฮิลลารี-ทรัมป์” นั่งแท่นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 58
—
สถานีโทรทัศน์...
สนุกดอทคอมจับมือสำนักข่าวต่างประเทศ ร่วมเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งสหรัฐฯ ผ่านออนไลน์
—
สนุกดอทคอม (Sanook.com) เว็บไซต์ให้บริการข้อมูลข่าวสารและสาระบันเ...
Gossip News: ใครคือประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป ? ติดตามใน “เส้นทางสู่ทำเนียบขาว 2016” รอบ Battle!!
—
ใครจะได้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนต่อไป ติด...
SUPER POLL โพลเสียงคนไทย ต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐฯ
—
ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPE...