กทม. เร่งแก้ปัญหากัดเซาะฝั่งทะเลบางขุนเทียน สร้างแนวคันไม้ไผ่-ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม

02 Sep 2024

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. ได้รับงบประมาณในปี 2567 โดยสภา กทม. เห็นชอบเพิ่มวงเงินผูกพันงบประมาณเป็นงบประมาณ กทม. 100% เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 67 และจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนและศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 720 วัน และโครงการจ้างควบคุมงานก่อสร้างโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนและศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง ระยะเวลาดำเนินการ 1,440 วัน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ยังไม่มีการก่อสร้างโครงการฯ ดังกล่าว สนน. ได้ร่วมกับสำนักงานเขตบางขุนเทียนและชุมชนชายทะเลบางขุนเทียนดำเนินการมาตรการชั่วคราว โดยก่อสร้างแนวคันไม้ไผ่และปลูกป่าชายเลน เพื่อชะลอการกัดเซาะ

กทม. เร่งแก้ปัญหากัดเซาะฝั่งทะเลบางขุนเทียน สร้างแนวคันไม้ไผ่-ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม

สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน มีระยะทางชายฝั่งรวม 4.7 กิโลเมตร ที่ผ่านมาได้ถูกคลื่นกัดเซาะเข้าไปแล้วกว่า 900 เมตร ซึ่งการแก้ไขปัญหาเมื่อปี 2532 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้จำแนกป่าชายเลน 2,735 ไร่ ออกจากป่าไม้ถาวรแห่งชาติและให้ กทม. รับไปดูแล เพื่อป้องกันการพังทลายของชายฝั่งโดยก่อสร้างแนวเขื่อนหินทิ้งในช่วงปี 2534 ปี 2536 ปี 2538 และปี 2539 ต่อมาในปี 2548 - 2550 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน แบบไส้กรอกทราย รอดักตะกอนรูปตัวที (T-Groins) และมอบให้ สนน. ดำเนินการก่อสร้าง โดยก่อนเริ่มดำเนินการ ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านโครงการ แต่ขอให้ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เนื่องจากเกรงว่า ไส้กรอกทรายจะแตก ทำให้หาดเต็มไปด้วยทรายและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำนานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน

นอกจากนี้ ในปี 2556 สนน. ได้จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาอนุมัติก่อน ทั้งนี้ ที่ปรึกษาได้ทบทวนรายละเอียดโครงการและรูปแบบของคันหินป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยเปลี่ยนจากโครงสร้างคันหินขาตัวที เป็นโครงสร้างคันหินไม่มีขา และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 62

HTML::image(