ภาคอุตสาหกรรมนำ AI มาช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้หรือไม่

โดย ฮีทเธอร์ ไซโคสกี รองประธานอาวุโส ธุรกิจอุตสาหกรรมและกระบวนการอัตโนมัติ

ภาคอุตสาหกรรมนำ AI มาช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้หรือไม่

การใช้งาน AI เติบโตอย่างมหาศาลในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา และเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนาที่ล้ำหน้าของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ large language models (LLMs) นั่นเอง การเติบโตนี้ยังส่งแรงกระเพื่อมไปยังทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการใช้งานโดยตรงที่พร้อมเปิดตัวสู่ตลาด หรือโดยอ้อมจากการปฏิรูปที่เกิดขึ้นรุนแรงและรวดเร็วเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตและสร้างความยั่งยืนได้ดีในโลกของ AI ภาคอุตสาหกรรมนำ AI มาช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้หรือไม่

แม้ว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะเป็นผู้นำด้านการปฏิรูปสู่ดิจิทัลและถือว่าเป็นผู้มาก่อนกาล ที่ประยุกต์ใช้ AI ตั้งแต่ยุคแรกๆ และ AI ก็แทรกซึมอยู่ในทุกที่ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ห้องนั่งเล่น  อาคารและกระทั่งในโรงงานของชไนเดอร์เองก็ตาม เราได้เห็นพัฒนาการของ AI ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จนมาวันนี้ แทนที่บริษัทต่างๆ จะตั้งคำถามว่า "เราจะใช้ AI กันเมื่อไหร่ดี" ต้องเปลี่ยนเป็นคำถามที่ว่า "เราจะใช้ AI ได้เร็วแค่ไหน"

ภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสของการผสานรวม AI ที่ขยายสู่วงกว้างได้ พร้อมกับต้องคิดว่าจะใช้ AI ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งสำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราได้ค้นหาแนวทางที่เป็นนวัตกรรมในการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว มาผสานรวมกับ AI เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้นจากข้อมูล ด้วยการนำข้อมูลหลายสิบปีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางอย่างอยู่ในรูป AI สิ่งเหล่านี้แฝงอยู่ในเทคโนโลยีทั้งหมดของชไนเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน ภายในอุปกรณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรก็ตาม ตั้งแต่อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิ่ง ที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ตลอดจนการผสานรวม LLM แบบบูรณาการ โดยทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยนักบิน ซึ่ง AI ช่วยเร่งการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมของชไนเดอร์ได้เร็วยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ชไนเดอร์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ Hy Stor Energy เพื่อพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวแบบ off-grid และระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ นอกจากชไนเดอร์จะมอบโซลูชันระบบอัตโนมัติ โซลูชันความปลอดภัย และแพลตฟอร์มควบคุมกระบวนการดำเนินงานของ AVEVA แล้ว ยังมอบซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพ AI ที่ช่วยปรับปรุงการวิเคราะห์สภาพอากาศ ช่วยให้ดำเนินงานในเชิงคาดการณ์ได้ และปรับปรุงโซลูชันการจัดการพลังงานแบบดิจิทัลให้แม่นยำขึ้นอีกด้วย การผสานกลยุทธ์ดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยให้ Hy Stor Energy สามารถส่งมอบพลังงานปลอดคาร์บอน 100 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่ลูกค้า รวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ในทันทีที่ต้องการ

โครงการ AI จะประสบความสำเร็จได้ ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัย

องค์ประกอบด้านมนุษย์ของ AI

ปีเตอร์ เฮอร์เวค ซีอีโอของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เคยกล่าวถึงมุมมองดังกล่าวในงาน CERA Week เมื่อตอนต้นปีว่า AI ทุกตัวเริ่มต้นและจบลงด้วยองค์ประกอบของมนุษย์ โดยอธิบาย AI ในแง่มุมที่เป็นการผสานปัญญาของมนุษย์ เข้ากับ AI หรือที่เรียกว่า "HI กับ AI" เมื่อรวมกันถึงจะสัมฤทธิ์ผลได้

ประการแรก มนุษย์มีความสำคัญต่อการสร้างและฝึกอบรมโมเดล AI เพื่อให้แน่ใจถึงความแม่นยำที่มากขึ้น และมีการป้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับโมเดล AI ซึ่งเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ ประการที่สอง มนุษย์เป็นแกนกลางในการเปลี่ยนแปลงการทำงาน ซึ่งจำเป็นต่อการผสานการทำงานร่วมกับ AI ได้สำเร็จ การบริหารการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ อาจหมายถึงการเอาคนใหม่มาร่วมในทีม หรือให้การสนับสนุนในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะให้ทีมงานที่มีอยู่ เพื่อช่วยสร้างความก้าวหน้าให้ AI ได้เร็วขึ้น การมุ่งเน้นที่องค์ประกอบสำคัญด้านมนุษย์ จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากชไนเดอร์จะใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมเหล่านี้ในโรงงานของเราเองแล้ว ยังนำเรื่องเหล่านี้มาช่วยลูกค้าเช่นกัน  ขอให้ตระหนักว่าไม่ว่าพนักงานเจนไหนก็ตาม จะต้องใช้ AI เป็นตัวช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น และจะดีมากหากพนักงานสามารถใช้ AI จัดการงานทุกอย่างได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รับผิดชอบ และยั่งยืน

ในการใช้งานและผสานการทำงานร่วมกับ AI หากไม่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี แม้จะใช้โมเดล AI ที่ดีที่สุด ทำงานได้ลื่นไหลที่สุด ก็อาจล้มเหลวได้ ซึ่งนำไปสู่ประเด็นต่อไป นั่นคือ AI จะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้หากขาดความน่าเชื่อถือ

ความเชื่อมั่นใน AI

สำหรับภาคอุตสาหกรรมสำคัญๆ อย่าง พลังงาน ความเชื่อมั่นใน AI ถือเป็นสิ่งจำเป็น และต้องให้ความสำคัญในระดับเดียวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในขณะที่จุดเริ่มต้น อยู่ที่คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและฝึกโมเดล แต่ความเชื่อมั่นใน AI ก็จะต้องเกิดจากการแนวทางออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งหมายความว่า โปรโตคอลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะต้องถูกสร้างและฝังไว้ในเครื่องมือ ในโซลูชัน AI รวมถึงกระบวนการต่างๆ ไม่ใช่ค่อยมาทำเพิ่มภายหลัง

การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AI ยังหมายถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งมีค่าสูงสุดขององค์กร สำหรับภาคพลังงาน ความเชื่อมั่นในระดับนี้มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากภาคพลังงาน มีการลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีและแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน

ตัวอย่างเช่น EcoStruxure(TM) Automation Expert ของ Schneider เป็นโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งลูกค้าสามารถนำข้อมูลหรือแหล่งความรู้จากชไนเดอร์ หรือส่วนอื่นๆ ขององค์กร ไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานได้ตลอดอายุการใช้งาน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ให้ความปลอดภัยทางไซเบอร์

ความร่วมมือในโครงการ AI

อย่างที่เคยกล่าวไปว่า AI มีบทบาทอยู่ในทุกสิ่งที่ชไนเดอร์ทำ และในการผสานรวม AI อย่างเต็มรูปแบบได้สำเร็จ ความร่วมมือกับพันธมิตรคือสิ่งสำคัญ ซึ่งในความเป็นจริง ความร่วมมือ คือจุดเริ่มต้นในการทรานส์ฟอร์มสู่ AI เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในโลกที่ให้ความสำคัญกับ AI เป็นอันดับแรก

ตัวอย่างเช่น ชไนเดอร์ กำลังร่วมมือกับ Intel เพื่อนำเสนอโมดูล AI ที่เป็นส่วนหนึ่งในโซลูชัน EcoStruxure(TM) Automation Expert ตามที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ การทำงานร่วมกับ Intel ช่วยให้เราสามารถขยายศักยภาพของระบบอัตโนมัติที่ใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอุตสาหกรรมตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการบำรุงรักษา การเป็นพันธมิตรถือเป็นแนวทางของทั้งภาคอุตสาหกรรมในการผสานรวมการทำงานกับ AI ได้อย่างแท้จริง

หากคุณเป็นบริษัทที่รวบรวมข้อมูลมานานหลายทศวรรษ เช่นเดียวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค คุณจะต้องแน่ใจว่าได้มีการจัดวางบริบทให้กับข้อมูลนั้น นั่นคือสิ่งที่เราทำ ในเวลาที่ทำงานร่วมกับลูกค้าในฐานะพันธมิตร ต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดได้อย่างถูกต้อง

ขยายผลลัพธ์ของโอกาสที่ได้จาก AI

สิ่งที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ถ้าใช้งาน AI ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน และความคล่องตัว ด้วยการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ในระบบอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์อุตสาหกรรม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าจะมาจากซัพพลายเออร์คนละรายก็ตาม กุญแจสำคัญของความสำเร็จคือการหาพันธมิตรที่มีประสบการณ์เชิงลึกด้าน AI อีกทั้งมีความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อขยายผลลัพธ์ของโอกาสที่ AI นำเสนอให้กับคุณ และธุรกิจของคุณได้มากที่สุด


ข่าวธุรกิจอุตสาหกรรม+ภาคอุตสาหกรรมวันนี้

"ดีพร้อม" ขานรับแนวทาง "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เปิดศูนย์บริการธุรกิจออนไลน์-ออฟไลน์ ครบวงจร (DIPROM E-Service และ DIPROM BSC)

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มุ่งเน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย และยกระดับการเข้าถึงบริการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้แก่ภาคอุตสาหกรรมผ่านระบบ DIPROM E-Service และ DIPROM BSC ภายใต้กิจกรรม "First Touch to Business : คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม" เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถรับบริการในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ด้วยการพัฒนาสมรรถนะ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนากระบวนการผลิตหรือการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ระบบ

ดีพร้อม ปรับโฉมศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรร... "ดีพร้อม" ชวนร่วมงานเปิดตัว ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม 24 กันยายนนี้ — ดีพร้อม ปรับโฉมศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม DIPROM BSC & DIPROM E-Ser...

โดย ฮีทเธอร์ ไซโคสกี รองประธานอาวุโส ธุรก... ภาคอุตสาหกรรมนำ AI มาช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้หรือไม่ — โดย ฮีทเธอร์ ไซโคสกี รองประธานอาวุโส ธุรกิจอุตสาหกรรมและกระบวนการอัตโนมัติ การใช้งาน ...

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลการดำเนินงานสนับสน... ก.อุตฯ โชว์ 6 โครงการ ปั้นนักธุรกิจกว่า 4,900 คน กระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1,400 ล้านบาท — กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลการดำเนินงานสนับสนุน ส่งเสริมเอสเอ็มอี ผ่าน 6 ...

บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ผู้นำด้าน โซลูชันไอ... A-HOST ร่วมออกบูธและบรรยายในงาน Automation Expo 2025 — บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ผู้นำด้าน โซลูชันไอทีครบวงจร และตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ Oracle & Microsoft ได้...

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอ... คณะบริหารธุรกิจ มจพ.วิทยาเขตระยอง รับสมัครนักศึกษาโควตาพื้นที่ภาคตะวันออก — คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขต ระยอง เปิด...