โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมแสดงความยินดี ศ.นพ. กุลวี เนตรมณี ได้รับการยกย่องเป็น World's Top 2% Most-cited Scientists ประเภท Career-long Achievement โดย Stanford University Ranking 2023

20 Sep 2024

ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำทีมแพทย์ ผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ.นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจ และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในโอกาสที่ได้รับการยกย่องให้เป็น World's Top 2% Most-cited Scientists ประเภท Career-long Achievement โดย Stanford University Ranking 2023 (Scopus by Elsevier)

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมแสดงความยินดี ศ.นพ. กุลวี เนตรมณี ได้รับการยกย่องเป็น World's Top 2% Most-cited Scientists ประเภท Career-long Achievement โดย Stanford University Ranking 2023

ศ.นพ. กุลวี เนตรมณี มีประสบการณ์ด้านการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กับผู้ป่วยจากนานาประเทศทั่วโลกมากว่า 30 ปี ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ศ.นพ. กุลวี สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่ Tulane University ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับวุฒิบัตรอเมริกันบอร์ดด้านอายุรกรรม (internal medicine) ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) รวมถึงด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (cardiac electrophysiology)

ศ.นพ. กุลวี เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในการนำนวัตกรรม CardioInsight หรือเทคนิคตรวจหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและเป็นแห่งที่ 3 ของโลก และเป็นผู้คิดค้นวิธีการรักษาหัวใจผิดจังหวะชนิดเรื้อรังและชนิดที่เป็นชั่วคราว โดยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (CFAE ablation) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและมีประสิทธิผลในการรักษาดีขึ้นเมื่อเทียบกับการจี้หัวใจด้วยวิธีทั่วไป นอกจากนี้ ยังเป็นผู้วิจัยและค้นพบสาเหตุของการเกิด "โรคไหลตาย" เป็นคนแรกในโลก และได้ค้นพบการรักษาด้วยการจี้พังผืดบริเวณพื้นผิวของหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยพบความผิดปกติในส่วนนั้น ไม่เพียงเท่านั้น ศ.นพ. กุลวี ยังได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายในสถาบันและการประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงมีผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการอีกมากมาย

HTML::image(