เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก ประจำปี 2566 (The Symposium on Global Maritime Cooperation and Ocean Governance 2023) ได้เปิดฉากขึ้นที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน งานนี้ร่วมกันจัดโดยศูนย์วิจัยหัวหยางเพื่อความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล (Huayang Center for Maritime Cooperation and Ocean Governance) มูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาสมุทรของจีน (China Oceanic Development Foundation) และสถาบันทะเลจีนใต้ศึกษาแห่งชาติ (National Institute for South China Sea Studies)
ในโอกาสนี้ นายหวัง อี้ (Wang Yi) สมาชิกกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกลางการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษผ่านทางวิดีโอ ขณะที่นายซุน เว่ยตง (Sun Weidong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน, นายหวัง หง (Wang Hong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ว่าการบริหารรัฐกิจด้านมหาสมุทรของจีน, นางเซี่ย จิง (Xie Jing) รองผู้ว่าการมณฑลไห่หนาน, นายหลิว เจิ้นหมิน (Liu Zhenmin) อดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติ, นายลู่ ปิน (Lu Bin) ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาสมุทรของจีน, นายไมเคิล ลอดจ์ (Michael Lodge) เลขาธิการองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (International Seabed Authority) และนายปีเตอร์ ทอมสัน (Peter Thomson) ผู้แทนพิเศษด้านมหาสมุทรของเลขาธิการสหประชาชาติ ได้มาร่วมกล่าวเปิดงาน ส่วนนายสตีเฟน เอ. ออร์ลินส์ (Stephen A. Orlins) ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-จีน ของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถ้อยแถลงพิเศษ
นายหวัง อี้ กล่าวว่า จีนมีข้อเสนอหลายประการ ได้แก่ การยึดมั่นในการเจรจาและการปรึกษาหารือกัน รวมถึงการปกป้องสันติภาพและความสงบสุขทางทะเล, การส่งเสริมความเท่าเทียมและความยุติธรรม รวมถึงการปรับปรุงระบบสมุทราภิบาลโลก, การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อรักษามหาสมุทรให้สะอาดและสวยงาม, การสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางทะเล
นายซุน เว่ยตง กล่าวว่า เรายึดมั่นในการสื่อสารและการเจรจา และต่อต้านการประท้วงหรือการใช้กำลัง, เรายึดมั่นในการให้คำปรึกษาและการสร้างคุณูปการร่วมกัน และต่อต้านการใช้อำนาจครอบงำทางทะเล, เรายึดมั่นในความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และต่อต้านแนวคิด "สนามเล็ก กำแพงสูง" (small courtyard high wall), เรายึดมั่นในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และมหาสมุทร และต่อต้านการกอบโกยผลประโยชน์จากมหาสมุทร
นายหวัง หง กล่าวว่า นับเป็นเวลายาวนานที่จีนยึดมั่นในแนวคิดเรื่องการเคารพซึ่งกันและกัน การปรึกษาหารือและการกำกับดูแลร่วมกัน รวมถึงการเปิดกว้างและแบ่งปันกัน จีนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการกำหนดและการใช้กลไกสมุทราภิบาลและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบของสหประชาชาติ อีกทั้งยังมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการทำเหมืองใต้ทะเลลึกและการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
นายไมเคิล ลอดจ์ กล่าวว่า อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศ ระเบียบทางกฎหมายและความมั่นคงในมหาสมุทร ตลอดจนการพัฒนามหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐภาคีทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงจุดยืนในการสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่ ต่างดำเนินการด้วยความระมัดระวังเพื่อปกป้องความสำเร็จของอนุสัญญา รวมถึงบทบาทและขอบเขตอำนาจที่เกี่ยวข้อง
นายไซอา โมเฮา (Saia Moehau) กล่าวว่า สมาคมมิตรภาพแปซิฟิก-จีน (Pacific China Friendship Association) สนับสนุนการดำเนินการตามข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRI) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสมุทราภิบาลโลก พร้อมทั้งเสนอให้การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก สร้างความร่วมมือกับสมาคมมิตรภาพแปซิฟิก-จีน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีน้ำเงินผ่านการวางแผนเชิงพื้นที่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2273171/The_Symposium_on_Global_Maritime_Cooperation_and_Ocean_Governance_2023.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit