ปอร์เช่ เอจี (Porsche AG) และ H2 Green Steel บริษัทสตาร์ทอัพด้านพลังงานสัญชาติสวีเดน ได้ลงนามในข้อตกลงสำหรับการจัดหาเหล็กที่มาจากกระบวนการผลิตแบบลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการปรับปรุงสมดุลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์ปอร์เช่ (Porsche) ให้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้เหล็กที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
H2 Green Steel วางแผนที่จะผลิตเหล็กโดยใช้พลังงานหมุนเวียนในเมืองโบเดน (Borden) ประเทศสวีเดน ซึ่งริเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2025 เป็นต้นมา และนับจากปี 2026 เป็นต้นไป ปอร์เช่ และ แผนกผู้จัดหาวัสดุที่ใช้ในการผลิตหลากหลายประเภทของปอร์เช่ จะได้รับการสนับสนุนเรื่องการจัดสรรเหล็กที่ปล่อยมลพิษต่ำโดยบริษัท H2 Green Steel โดยวัสดุนี้ เป็นหนึ่งในวัสดุที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำที่สุดในตลาด H2 Green Steel ซึ่งใช้นวัตกรรมใหม่ของไฮโดรเจนและไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต ส่งผลให้เหล็กมีคุณภาพเกือบปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเปรียบเทียบจากกระบวนการผลิตของ H2 Green Steel สามารถลดได้ถึง 95% เมื่อเทียบกับการผลิตเหล็กแบบดั้งเดิมที่ใช้ถ่านโค้ก (coking coal) ในแต่ละปี ปอร์เช่จะใช้เหล็กที่ปล่อยมลพิษต่ำที่ผ่านกระบวนการผลิตในสวีเดนมากถึง 35,000 ตัน เพื่อใช้ในการผลิตรถยนต์ปอร์เช่จำนวนมาก อย่างไรก็ตามเมื่อปี 2022 รถยนต์ปอร์เช่ใช้เหล็กโดยรวมมากถึง 220,000 ตัน
บาร์บาร่า เฟรงเคิล (Barbara Frenkel) ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อของปอร์เช่ (Porsche) กล่าวว่า "ปอร์เช่กำลังมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย เรื่องการสร้างความสมดุลของคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าของรถยนต์ ซึ่งภายในปี ค.ศ. 2023 เหล็กที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา โดยเป้าหมายคือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเหล็กที่ผลิตโดย H2 Green Steel ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของการใช้เหล็กในรถยนต์ปอร์เช่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ปอร์เช่ (Porsche) ก็หันมาพึ่งพาอะลูมิเนียมมากขึ้นสำหรับโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา อย่างไรก็ตามเหล็กยังคงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการผลิตรถสปอร์ตเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ตรงกับกลยุทธ์ของเรา ทั้งด้านของพลังงาน หรือกระบวนการผลิตต่างๆ และเพื่อการจัดการวัสดุให้มีสัดส่วนในอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะสม นี่คือเหตุผลที่เราต้องการเพิ่มการใช้วัสดุรีไซเคิลและพลังงานสีเขียวในกระบวนการผลิตของซัพพลายเออร์โดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างจริงจังในการลดคาร์บอน"
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามความร่วมมือ พัฒนาโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนพื้นเรียบ (Ground Mounting Solar) กำลังการผลิต 12 เมกะวัตต์ หรือ เทียบเท่าการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกสูงสุดประมาณ 9000 ตันต่อปี เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟเข้าระบบภายในกลาง ปี 2569 โดยมี นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจอุตสาหกรรม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย"
—
นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเ...
GPSC ปลื้มคว้า DJSI ปี 2567 ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน สะท้อนความสำเร็จบริษัทนวัตกรรมพลังงานยั่งยืน
—
GPSC บริษัทนวัตกรรมพลังงาน รักษาอันดับธุรกิจยั่งยืน DJSI ปีท...
GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน ตามแผนรองรับอุตฯ แห่งอนาคต พร้อมหนุนเป้าหมายลดคาร์บอนฯ ของประเทศ
—
GPSC ผ่านการคัดเลือก...
'ซีเค พาวเวอร์' เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ CKP NET ZERO 2050
—
"เราคือหนึ่งในผู้บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออ...
ครั้งแรกของโลก! IDEMITSU IFG Plantech Racing น้ำมันเครื่องจาก "พืช" ที่ใช้ได้ในสนามแข่ง
—
ในยุคที่ผู้คนตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอ...
ซีเค พาวเวอร์ คว้ารางวัล "องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก" ชูกลยุทธ์ C-K-P ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
—
คว้ารางวัลดีเด่นในด้านตรวจวัดและการลดก๊าซเรือ...
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ผนึกกำลังพันธมิตรปรับตัวรับเทรนด์ที่อยู่อาศัยยั่งยืนทั้งซัพพลายเชน ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42% ภายในปี 2573
—
เฟรเซอร์ส พ...
GPSC แข็งแกร่งรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว จาก 3 แบงค์รัฐ-เอกชน มูลค่า 7 พัน ลบ. รุกพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ Net Zero รองรับแผนพัฒนาพลังงานชาติ
—
GPSC ลงนามใ...
"ธุรกิจไทย" เดินหน้าปรับโครงสร้างสู่เศรษฐกิจสีเขียว ตั้งเป้าการลดคาร์บอนฯ ให้มีค่าเป็นกลาง ปี 2593
—
"ธุรกิจไทย" เดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจ สู่เศรษฐกิจสี...