บริษัท ไบเออร์ ไทย จำกัด รับรางวัล AMCHAM Corporate Social Impact ประจำปี 2566" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (รางวัลระดับทอง -Gold Level) จากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM Thailand) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย มอบรางวัลให้แก่บริษัทที่เป็นสมาชิกหอการค้าฯ ทั้งหมด 98 ราย เพื่อประกาศเกียรติคุณที่บริษัทฯ ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า AMCHAM Corporate Social Responsibility (CSR) Excellence Awards
สำหรับไบเออร์ บริษัทมุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในเชิงบวกในประเทศไทย การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมสนับสนุนพันธกิจของเราภายใต้แนวคิด "ทุกคนมีสุขภาพดี และไม่ขาดแคลนอาหาร (Health for all, Hunger for none)"
โดยหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โครงการ Better Science for Better Life (วิทย์ก้าวหน้า ชีวิตก้าวไกล) โดยร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM มาตั้งแต่ปี 2560 โดยผลิตสื่อการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และส่งมอบให้กับ 300 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 3,000 คน ในระหว่างปี 2560-2563 โดยหลังจากดำเนินการมาได้ 3 ปี ทางคณะผู้ดำเนินการได้มีการปรับปรุงสำหรับโครงการ ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2565-256 จัดทำและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ (Tool Kits) ภายใต้แนวคิด "Plant Ranger : ขบวนการพิทักษ์พืช" โดยมุ่งเน้นเรื่องวิทยาศาสตร์กับพืช (Science Behind Plant) เจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กในระดับประถมศึกษาอายุระหว่าง 10-12 ปี เพื่อให้เยาวชนสามารถเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับพืช และการคงอยู่ของพืช เมื่อมีความเข้าใจแล้วเด็กๆ จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับพืชได้อย่างมีความหมาย และความเข้าใจมากขึ้น ขณะเดียวกันโครงการนี้จะเสริมศักยภาพครูให้สามารถต่อยอดจากการนำชุดสื่อการเรียนรู้ไปใช้สำหรับการเรียนการสอนได้
นอกจากนั้น ไบเออร์ยังดำเนินโครงการเพื่องความยั่งยืนด้วยการลดผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา (Solar Rooftop) ครอบคลุมพื้นที่ 50% ของพื้นที่ของศูนย์วิจัยพัฒนา และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม จังหวัดพิษณุโลก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 600 กิโลวัตต์ เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 20% คิดเป็น 371 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบได้กับการปลูกต้นโกงกางประมาณ 190,000 ต้น