กรุงเทพฯ ประเทศไทย - 30 ตุลาคม 2566 - โรคเบาหวานนับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่รุนแรงที่สุดของโลก สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) ประมาณการณ์ว่ามีประชากรราว 1 ใน 10 หรือ 537 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และคาดว่าตัวเลขนี้จะสูงถึง 783 ล้านคนในปี 2588[1] ประชากรวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 3 ใน 4 ยังอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำและปานกลาง นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนกว่า 6.7 ล้านรายในปี 2564 และก่อให้เกิดรายจ่ายด้านสุขภาพทั่วโลกเป็นมูลค่าสูงถึง 966 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน[2] มากกว่า 4.4 ล้านคน และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 300,000 รายในแต่ละปี[3]
ในปี พ.ศ. 2562 บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แผนกธุรกิจเบาหวาน ร่วมสนับสนุน โรงพยาบาลบ้านตาขุน สำหรับโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานผ่าน Personalised Diabetes Management (iPDM) หรือระบบการจัดการภาวะเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคล ซึ่งโครงการนำร่องนี้ นับว่าประสบความสำเร็จ และในปี พ.ศ. 2563 โรงพยาบาลบ้านตาขุนได้ก่อตั้ง คลินิก Smart NCD โดยใช้มาตรการที่ผสมผสานการศึกษา การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การนำ iPDM มาใช้สามารถช่วยให้โรงพยาบาลพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในปี 2564 ได้มีการขยายผล สู่อีก 5 โรงพยาบาลชุมชนภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย รพ.บ้านนาสาร รพ.บ้านนาเดิม รพ.กาญจนดิษฐ์ รพ.ชัยบุรี และ รพ.เกาะพะงัน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มากขึ้น ปัจจุบันได้มีการเร่งพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมในอีกกว่า 12 โรงพยาบาลเพื่อให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมานับว่าน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความสุขที่เกิดจากการมีสุขภาพที่ดีขึ้นและการรับประทานยาที่ลดลงในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอีกด้วย
นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าว "ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือผู้ป่วยที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในกลุ่มผุ้ป่วยทั้งหมดและจะยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกหลายสิบปีในอนาคตข้างหน้า การสร้างระบบสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาโรคเรื้อรังรวมไปถึงการตอบสนองความต้องผู้ป่วยกลุ่มนี้คือความท้าทายที่แท้จริงของยุคสมัย คือความมุ่งมั่น คือเป้าหมายที่สำคัญของบุคลากรสาธารณสุขทุกคนในจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี"
รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯและนายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ชี้แจงว่านอกจากพันธกิจในการสนับสนุนเชิงวิชาการเกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่ถูกต้องให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วประเทศแล้ว สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย รวมถึงสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ยังมุ่งมั่นที่จะแสวงหาพันธมิตรจากทุกภาคส่วนเพื่อผนึกกำลังกันในการแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง เพราะทางสมาคมเชื่อว่าวิธีการเดียวเท่านั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้คือ 'ความร่วมมือ
"หัวใจสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานหรือความดันให้เข้าสู่ภาวะสงบอย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่ยา แต่คือทักษะในการรับฟังและเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่าง รวมไปถึง ทักษะในการให้กำลังใจและการให้ความรู้ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้และไม่มีใครอยากกินยาไปตลอดชีวิต ในปัจจุบันเราเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skills ทั้งที่เป็น Communication skill และ Empathic skill ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว" พญ. สุพัตรา ศรีวณิชชากร ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าว
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคตา ไต และเส้นประสาทที่มากับโรคเบาหวานได้ถึง 40%[4] เนื่องจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองถือเป็นวิธีการดูแลโรคเบาหวาน[5] ที่ทุกคนทำได้และมีราคาไม่แพง ทั้งยังสามารถลดภาระในการรักษาโรคเบาหวานทั้งสำหรับทั้งตัวผู้มีภาวะเบาหวานเองและระบบสาธารณสุขได้ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านยังนับว่าสำคัญในการดูแลผู้ป่วย เพราะนอกจากสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถใช้ในการวางแผนการรักษาของแพทย์ให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ละรายได้อีกด้วย
คุณมิไฮ อีริเมสซู Cluster Head Asia Emerging Market โรช แผนกธุรกิจเบาหวาน กล่าวว่า "การจับมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ดูแล และผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจในการรักษา โดยที่เรากำลังใช้แนวทางร่วมกันและเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางผ่านการจัดการของ iPDM - integrated Personalised Diabetes Management หรือระบบการจัดการภาวะเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคล เพื่อเป็นการสร้างโครงสร้างการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน พร้อมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยได้รับการดูแลอย่างพึงพอใจ"
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการประชุม IDF World Diabetes Congress 2025 เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 10,000 คน งานครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินการทางการเมืองที่จำเป็นในการกำหนดให้โรคเบาหวานเป็นวาระด้านสุขภาพระดับโลก รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและผู้ที่มีความเสี่ยง
ความสำเร็จของจงหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นการเน้นย้ำว่าโรคเบาหวานสามารถควบคุมให้อาการสงบได้และบริการต่างๆ ก็สามารถนำเสนอแก่ผู้ป่วยได้จากระยะไกล ผ่านการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ ทักษะ และการเชื่อมต่อออนไลน์อย่างเหมาะสม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit