ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยและสร้างคุณค่าร่วมกันกับทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับสังคมให้เติบโตไปด้วยกันแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งธุรกิจ สังคม ชุมชน ลูกค้า และคู่ค้า สะท้อนถึงพันธกิจและวิสัยทัศน์อันแรงกล้าที่ถูกบ่มเพาะจากผู้ก่อตั้งโดย คุณเตียง จิราธิวัฒน์ คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ และ คุณวันชัย จิราธิวัฒน์ สืบทอดเป็นดีเอ็นเอในการบริหารงานตั้งแต่ แรกเริ่มในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลกระทั่งปัจจุบันที่ย่างก้าวสู่ปีที่ 76
ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า "หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของกลุ่มเซ็นทรัลในฐานะผู้นำค้าปลีกและบริการ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ คือ การขยายธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับเมือง สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในพื้นที่ ภายใต้แนวคิด "Growth for the Country , Great for Local Communities" โดยเน้นภูมิภาคที่มีศักยภาพภายในประเทศ รวมไปถึงการสร้างสรรค์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ ควบคู่กับการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้คน สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ พัฒนาเป็นไลฟ์สไตล์ฮับประจำถิ่น จุดประกายเทรนด์ท่องเที่ยวเมืองรองให้คึกคักสู่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับบน"
กลุ่มเซ็นทรัล ใช้แนวคิด "Growth for the Country , Great for Local Communities" ผ่านการดำเนินงาน 3 มิติ คือ "เซ็นทรัล สร้าง" , "เซ็นทรัล พัฒนา" และ "เซ็นทรัล ทำ"
1.รุกบุกเบิกเมืองศักยภาพ ด้วย เซ็นทรัล..สร้าง
?สร้างเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการมุ่งมั่นเดินหน้าขยายโครงการต่างๆ ภายใต้การลงทุนที่มุ่งเน้นผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างรอบด้าน (Impact Investment) โดยกระจายการเติบโตไปสู่พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือ "เมืองรอง" ด้วยการชูบทบาทการเป็น Central of Life ศูนย์กลางของชีวิต เร่งเครื่องสร้างและพัฒนาย่านที่มีคุณภาพสู่แลนด์มาร์กแห่งใหม่อันโดดเด่น เพื่อเป็นแม่เหล็กภาคท่องเที่ยวและบริการใหม่ ถือเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลักของประเทศ โดยมีแผนการลงทุน 5 ปี (2566-2570) ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) รวมกว่า 135,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 30,000 ล้านบาท ครอบคลุม 30 จังหวัด
?สร้างความเจริญให้ชุมชน ส่งเสริมและต่อยอดให้เป็นพื้นที่ทำเลทองของเมือง ก่อให้เกิดความเจริญในทุกพื้นที่ อาทิ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ และเวลเนส เซ็นเตอร์ เป็นต้น
?สร้างการลงทุนให้หลากหลาย ด้วยการขยายการลงทุน เป็น Mixed-Use Development ครอบคลุมศูนย์การค้า ค้าปลีก โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย เน้นการออกแบบก่อสร้างให้คงไว้ซึ่งมนต์เสน่ห์และสอดคล้องกับเอกลักษณ์ในพื้นที่ชุมชน โดยจะมีการขยายธุรกิจต่างๆ ในช่วงปี 66-67 อาทิ
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง ด้วยงบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท เตรียมเปิดตัวในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 โดยจังหวัดนครพนมมีความสำคัญทางด้านเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและเมืองหน้าด่านการค้าและการท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดเมืองท่าแขก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีเส้นทางคมนาคมอันโดดเด่น คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 รองรับการเดินทางและการขนส่งด้านการค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน โดยช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวียดนามและจีนตอนใต้ให้มีมูลค่าการค้าผ่านแดนสูงสุดในประเทศไทย รวมทั้งการก่อสร้างรถไฟรางคู่สายใหม่ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ที่จะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโครงการใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัล จึงมีส่วนสำคัญในการเสริมศักยภาพให้จังหวัดนครพนมให้เป็นเมืองสุดฮิป ในแดนอีสาน ถูกใจนักท่องเที่ยวสไตล์ฮิปสเตอร์ไม่ซ้ำใคร โดยมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้า ที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีนตอนใต้ ส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ผลักดันแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยจังหวัดนครพนมมีนักท่องเที่ยวประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวกว่า 2,200 ล้านบาท , ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดหนองคาย งบลงทุน 1,000 ล้านบาท เตรียมเปิดตัวในปี 2567 โดยจังหวัดหนองคายเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเมืองชายแดนติดกับนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีจุดผ่านแดนด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้เป็นที่นิยมในการเดินทางมาจับจ่ายใช้สอยของประเทศเพื่อนบ้าน
อีกทั้งมีแผนพัฒนาระบบขนส่งให้เป็น Transportation Hub ทั้งทางบก ทางราง รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน-คุณหมิง ในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้หนองคายมีมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว สูงสุดของประเทศไทย ปีละไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท มีนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ภาคท่องเที่ยวกว่า 3,350 ล้านบาท ทั้งนี้ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ หนองคาย จะกลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของเมืองรองที่รวมทุกความสุข ก่อให้เกิดการใช้ชีวิตอย่างมีสีสันและมีชีวิตชีวาของทุกคน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit