หากจะกล่าวถึง 'การเลี้ยงลูก' ถือเป็นงานใหญ่และสำคัญที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ และด้วยความรัก ความปรารถนาดีที่ผู้เป็นพ่อแม่มอบให้ลูก มักจะมาพร้อมกับความคาดหวังที่มีต่อลูกโดยไม่รู้ตัว ในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่ จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ความปรารถนาดีนั้น กลายเป็นพิษ (Toxic) จนถูกมองว่าเป็น Toxic Parents หรือ พ่อแม่จอมบงการและพ่อแม่เผด็จการในสายตาลูก
แพทย์หญิงนิศารัตน์ วัชรีอุดมกาล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำศูนย์ Mind Center โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ความคาดหวังของพ่อแม่ โดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องปกติที่มีได้ แต่การระวังเพื่อไม่ให้ความคาดหวังนั้นเป็นพิษต่อตัวลูกและตัวพ่อแม่เอง ต้องเริ่มต้นจากการพยายามสื่อสารกันในครอบครัว และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือการสื่อสารแบบ 2 ทาง นั่นคือ การสื่อสารบอกลูก และการรับฟังว่า ในฐานะที่เขาเป็นลูก เขามีความคาดหวังต่อเราที่เป็นพ่อแม่อย่างไร และความคาดหวังที่ลูกมีต่อตัวเขาเองเป็นอย่างไร เขามีความฝัน มีความหวังอะไรเกี่ยวกับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน ตลอดจนการใช้ชีวิตของเขาไว้อย่างไร ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวด้วย
การเริ่มต้นในการสื่อสารกับลูกที่ดีที่สุด คือ การฟัง และต้องเป็นการฟังแบบตั้งใจ หรือที่เรียกว่า Active Listening เพราะพ่อแม่จะได้เริ่มรู้จัก และทำความเข้าใจกับตัวตนของลูก รู้ว่าลูกมีความคิดแบบไหน เขากำลังคิดอะไรอยู่ เขาสนใจเรื่องอะไร ชอบอะไร หลายครั้งที่การสื่อสารของพ่อแม่เริ่มต้น ด้วยการให้คำแนะนำ บอกหรือเริ่มที่จะชี้แนะซึ่งเกิดขึ้นจากความรัก ความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ กลับทำให้เด็กรู้สึกเหมือนคุณพ่อคุณแม่ยังไม่ได้ฟังเขาเลย
ดังนั้น การสื่อสารกับลูก โดยเฉพาะลูกวัยรุ่น ขอให้เริ่มต้นจาก การตั้งใจฟัง ฟังนิ่งๆ ฟังให้จบ แล้วหลังจากนั้น ค่อยซักถามเมื่อเราไม่เข้าใจ"
แพทย์หญิงนิศารัตน์ เล่าต่อว่า "ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ในหลายบ้านพาลูกๆ มาพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ซึ่งเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่ถามลูก รับฟังลูก ลูกเนี่ยแหละค่ะจะเป็นคนเข้าหาเราก่อน แล้วก็จะเป็นคนที่มาบอกพ่อแม่เองว่า ตอนนี้เขาไม่โอเค เขาต้องการมาพบจิตแพทย์
หลายครั้งที่ได้พบเจอเคสต่างๆ จึงเข้าใจเป็นอย่างดีว่ามันเป็นการยาก ในฐานะพ่อแม่ บางทีเรารู้สึกว่าเราทำดีที่สุดแล้ว แต่บางครั้งลูกเราเองก็ยังมีประเด็นปัญหาที่เราไม่สามารถช่วยเหลือ ปกป้องหรือว่าดูแลเขาได้ เพราะฉะนั้น ต้องขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ที่เปิดใจ แล้วพาลูกของท่านมาหาความช่วยเหลือ หรือว่ารับฟังเขา"
"หลักการเลี้ยงลูกเพื่อไม่ให้คุณพ่อคุณแม่กลายเป็น Toxic Parents มีเทคนิคที่จำง่ายๆ คือ 3L (สาม-แอล)
สำหรับตัวคุณพ่อคุณแม่เองในฐานะที่ได้ดูแลเขามาอย่างเต็มที่ ขอให้เป็นกองหลังที่ดี คอยสนับสนุนลูก ไม่ว่าเขาจะชนะหรือพ่ายแพ้กลับมา เขาก็จะได้รับรู้ว่า คุณพ่อคุณแม่จะอยู่ตรงนี้เพื่อเป็นกำลังใจ และคอยซัพพอร์ตเขาเสมอ"
"อย่าลืมว่า LOVE, LIMIT, LET THEM GROW: รัก มีวินัย และปล่อยให้เขาเติบโต" แพทย์หญิงนิศารัตน์ ทิ้งท้าย
รับฟังคำแนะนำในการเลี้ยงลูก รวมถึงวิธีสื่อสารกับลูกให้ไม่รู้สึกกดดันจนเกิดความเครียด จาก แพทย์หญิงนิศารัตน์ วัชรีอุดมกาล เพิ่มเติมได้ทาง www.youtube.com/Praram9HospitalChannel นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษาจิตแพทย์เด็ก คลิก https://hubs.li/Q01sgspD0 ศูนย์ Mind Center โรงพยาบาลพระรามเก้า โทร. 1270 หรือ www.praram9.com / Line: lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital และทาง Facebook: Praram9 Hospital โรงพยาบาลพระรามเก้า HEALTHCARE YOU CAN TRUST เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา #Praram9Hospital
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit