สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น (Retail Sentiment Index) ของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำไตรมาสสาม ปี 2566 พบว่า ลดลงมาที่ 46.4 จุด ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ในรอบปี 2566 ปัจจัยฉุดยังคงเป็นปัจจัยเดิมที่รอการเยียวยา ประกอบด้วย กำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ, หนี้ครัวเรือนสูง, ราคาพลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงการท่องเที่ยวที่เป็นช่วง โลว์ซีซั่น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก ระยะ 3 เดือนจากนี้ (ต.ค.-ธ.ค.) เพิ่มขึ้น 12.0 จุด เนื่องจากความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล มาตรการลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำมัน นโยบายวีซ่าฟรีให้นักท่องเที่ยวชาวจีนและคาซัคสถาน รวมถึงการโหมโปรโมชั่นของร้านค้าในช่วงไตรมาสสุดท้าย ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในช่วงเทศกาลปลายปีได้ดีขึ้น
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า "ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกทั่วประเทศ (Retail Sentiment Index - RSI) ในภาพรวมพบว่า ดัชนี RSI (QoQ) ไตรมาสสาม 2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสสอง 2566 "ซบเซา 3 เดือนต่อเนื่อง" โดยลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ทั้งดัชนียอดขายสาขาเดิม SSSG (Same Store Sale Growth) QoQ , ยอดใช้จ่ายต่อครั้ง (Spending Per Bill หรือ Per Basket Size) และ ความถี่ในการจับจ่าย (Frequency on Shopping) สะท้อนถึงผู้บริโภคฐานราก กำลังซื้อยังอ่อนแอ โดยลังเลที่จะจับจ่ายและมุ่งเน้นสินค้าที่จำเป็น
โดยเมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกจำแนกตามประเภทร้านค้าปลีกพบว่า ธุรกิจห้างสรรพสินค้า, แฟชั่น, สุขภาพ-ความงาม, ร้านวัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งและซ่อมบำรุง, ร้านไอที เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต มีการชะลอตัวลง และร้านค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ภัตตาคาร ร้านอาหาร ยังซบเซา นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่ากรุงเทพปริมณฑลเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึมลึก ส่วนภูมิภาคอื่นๆชะลอตัว
ทางสมาคมฯ จึงเห็นด้วยกับภาครัฐเกี่ยวกับนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน ซึ่งมาตรการลดค่าไฟและน้ำมัน มาตรการฟรีวีซ่าจีน และการเพิ่มเที่ยวบินถือว่าเป็นมาตรการที่มาถูกที่ถูกเวลา อย่างไรก็ตามสมาคมผู้ค้าปลีกไทยมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่จะช่วยขับเคลื่อนภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศซึ่งเชื่อมโยงกับภาค ค้าปลีกและบริการ ดังนี้
ทั้งนี้ทางสมาคมฯ ยังได้เผยผลสำรวจ "ประเด็นเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก" ของผู้ประกอบการ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน 2566 อาทิ
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เชื่อว่าแม้ภาพรวมค้าปลีกและบริการในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงเปราะบาง แต่หากรัฐบาล เร่งเครื่องฟื้นฟูสุขภาพเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องและตรงจุด ประกอบกับทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกัน จะสามารถนำพาให้เศรษฐกิจไทยกลับมามีเสถียรภาพที่มั่นคงและเดินหน้าอย่างเข้มแข็งอีกครั้ง โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่" นายฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit