จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายประยุกต์ สุดธัญญรัตน์ พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยในรอบปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการดังนี้
1. ผลการดำเนินโครงการ "บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง" "ซอยนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน" ทำให้ชุมชนมีพืชผักที่เป็นอาหารแก่ประชาชนในหมู่บ้านและประชาชนที่สัญจรผ่านเส้นทางไปมามีการรณรงค์ ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนดำเนินกิจกรรมโครงการ "บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง" นอกจากนี้ยังพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์/ประมง 5,780 ครัวเรือน มีการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต CLM และ HLM 829 ครัวเรือน คัดแยกขยะ 272,971 ครัวเรือน ทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน 261,120 ครัวเรือน ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ 73,897 ครัวเรือน มีการรณรงค์สร้างคลังอาหารชุมชน โดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ผ่านกิจกรรมทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน 2,182 แห่ง โดยมีผลดำเนินการแล้วครบ 25 อำเภอ ถนนกินได้ ปลอดภัยไร้สารพิษ 6,289 ครัวเรือน ปลูกผักร่วมกันในที่สาธารณประโยชน์ 5,053 แห่ง ปลูกผักสวนครัวจากศาสนสถานสู่ชุมชน 1,208 แห่ง ปลูกผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 661 แห่ง โรงเรียน 909 แห่ง และอื่น ๆ 87 แห่ง มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปันในชุมชน 33,917 ครั้ง แลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปัน ระหว่างชุมชน 26,153 ครั้ง
2. การขยายผลเพิ่มเติมเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมครัวเรือนปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย ๑๐ ชนิด เป็น ๓๐ ชนิด (ตามฐานข้อมูลครัวเรือนที่จัดเก็บ จปฐ.2565)ผลการดำเนินงาน จำนวนครัวเรือนที่จัดเก็บ จปฐ.2565 เป้าหมาย 370,878 ครัวเรือน ดำเนินการแล้ว 239,194 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 64.49 3. การรณรงค์ปลูกผักสวนครัวในที่ว่าการอำเภอ ได้รณรงค์ ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชผักสวนครัว ครบทุกอำเภอครบ 25 อำเภอ และดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริมให้ นายอำเภอ เป็นต้นแบบตามหลัก"ผู้นำต้องทำก่อน" 25 อำเภอ โดย รณรงค์ ส่งเสริมให้ 7 ภาคี เครือข่าย ส่วนราชการ ภาครัฐ ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิบัติการ "ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร" กิจกรรม " ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก คนเชียงใหม่" ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอฯ บ้านพักนายอำเภอ บ้านพักส่วนตัว และจุดอื่นๆ ดำเนินการครบ 25 อำเภอ คิดเป็น ร้อยละ 100 รวม จำนวน 44 แห่ง
โดยแยกเป็น 1) ที่ว่าการอำเภอ 19 แห่ง 2) บ้านพักนายอำเภอ 20 แห่ง 3) จุดอื่นๆ ที่เป็นสถานที่เรียนรู้ 5 แห่ง 4. การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในวัด และศาสนสถาน ได้ดำเนินงานโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชน วัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำปี 2566 และโครงการ จิตอาสาพัฒนาชุมชน วัด ประชา รัฐ สร้างสุข เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก 26 มิถุนายน 2566 ครอบคลุม 25 อำเภอ อย่างเป็นรูปธรรม ผลการดำเนินงาน จำนวนวัด ทั้งหมด 1, 486 แห่ง ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ตามโครงการฯ จำนวน 1,208 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.29 5. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้มีโมเดลต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ระดับอำเภอ ในการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร 25 อำเภอ จำนวน 25 จุดเรียนรู้
ทั้งนี้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า " เชียงใหม่ มีผืนดิน และน้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนซึ่งเป็นการลดรายจ่าย และยังมีผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือนอีกด้วย และในส่วนที่เหลือยังสามารถนำไปขายหรือแบ่งปันให้กับคนรอบข้าง สร้างสังคมแห่งการเกิ้อกูล เกิดความรัก ความสามัคคีให้แก่คนในชุมชนได้อีกด้วย" ทั้งนี้ได้สั่งการและเน้นย้ำให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายประยุกต์ สุดธัญญรัตน์ พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร อย่างต่อเนื่อง และติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค พร้อม ทั้งให้การส่งเสริมสนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงาน และรายงานให้ทราบเป็นประจำทุกเดือน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit