ฮันนี่เวลล์ (Honeywell) ประกาศให้บริการเทคโนโลยีและดิจิทัลโซลูชั่นส์ เพื่อช่วยให้ลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งวัตถุดิบทดแทนหลากหลายแหล่ง
ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด เนื่องจากมีการเร่งผลักดันความร่วมมือด้านความยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความพร้อมและสามารถช่วยให้โรงกลั่นผลิตเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสีย และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
เพื่อช่วยลูกค้าจัดการกับความท้าทายนี้ และพร้อมตอบสนองความต้องการพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ฮันนี่เวลล์ ยูโอพี (Honeywell UOP) ขอแนะนำโซลูชั่นส์ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) รวมไปถึงน้ำมันดีเซลพลังงานหมุนเวียน และเชื้อเพลิงทดแทนอื่น ๆ จากแหล่งวัตถุดิบทดแทนจากธรรมชาติที่มีศักยภาพหลากหลายแหล่ง ทั้งนี้ เทคโนโลยีเชื้อเพลิงทดแทนของฮันนี่เวลล์ ประกอบด้วย:
"ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเชื้อเพลิงทดแทน ฮันนี่เวลล์ตระหนักดีว่าการสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำจากตัวเลือกวัตถุดิบทดแทนที่หลากหลาย นั้นมีความสำคัญต่อการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วเอเชียแปซิฟิกในระยะยาว" แม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของฮันนี่เวลล์ ยูโอพี เอเชียแปซิฟิก กล่าว "ความสามารถในการใช้วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงที่หลากหลายถือเป็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตลาด ซึ่งฮันนี่เวลล์ตระหนักดีและพร้อมนำเสนอทางเลือกด้วยเทคโนโลยี UOP eFining(TM), Ecofining, ETJ และ RTP เพื่อตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงทดแทนที่หลากหลายและเติบโตอย่างรวดเร็ว"
นอกจากสนับสนุนเทคโนโลยีและโซลูชันส์ใหม่ ๆ แล้ว ฮันนี่เวลล์ยังมีความเชี่ยวชาญในการปรับปรุงโรงกลั่นที่มีอยู่เดิมให้สามารถผลิตเชื้อเพลิงทดแทนได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ทำให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้เชื้อเพลิงทดแทนนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า
เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์เหล่านี้ ฮันนี่เวลล์จึงนำเสนอดิจิทัลโซลูชันส์ที่ครอบคลุมซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีความปลอดภัยสูงก่อการโจมตีทางไซเบอร์และได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พร้อมใช้งานตั้งแต่วันแรก นอกจากนี้ยังสามารถขยายขนาด และรวมเข้ากับระบบเดิมได้อย่างราบรื่น
"ด้วยประสบการณ์อันยาวนานของฮันนี่เวลล์ในการควบคุมกระบวนการผลิตและระบบอัตโนมัติ ควบคู่ไปกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับผู้ออกใบอนุญาตเทคโนโลยีกระบวนการผลิตชั้นนำ เรากำลังบุกเบิกโรงกลั่นดิจิทัลแห่งอนาคต" ทาธากาทา บาซู ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายตลาดการกลั่นและปิโตรเคมีของฮันนี่เวลล์ โพรเซส โซลูชันส์ (Honeywell Process Solutions) กล่าวว่า "เราตั้งเป้าเป็นผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมนี้ด้วยผลงานดิจิทัลโซลูชันส์แบบครบวงจรที่ช่วยให้ลูกค้าสร้างและดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และคล่องตัว เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและความยั่งยืน"
ฮันนี่เวลล์นำเสนอชุดโซลูชันส์เอ็กซ์พีเรียน (Experion(R) Solution Suites) ที่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ และดิจิทัลโซลูชันส์ ฟอร์จ เพอร์ฟอร์แมนซ์ พลัส (Forge Performance+ digital solutions) โดยรวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการผลิตลงในระบบอัตโนมัติ ซึ่งใช้พลังของเทคโนโลยีเสมือน และดิจิทัล ทวิน(Digital Twins) และขณะเดียวกันก็พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเป็นมนุษย์ เพื่อตอบสนองการดำเนินงานสำหรับอนาคต
ฮันนี่เวลล์มุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินงานและตามโรงงานต่าง ๆ ภายในปี 2578 ทั้งนี้ ราว 60% ของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของฮันนี่เวลล์ในปี 2565 นั้น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการด้าน ESG ให้แก่ลูกค้า
เกี่ยวกับฮันนี่เวลล์
ฮันนี่เวลล์ (Honeywell) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร โดยให้บริการอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ครอบคลุมระบบอัตโนมัติที่เป็น 3 เมกะเทรนด์ ได้แก่ อนาคตของภาคการบิน และการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากระบบปฏิบัติการ ฮันนี่เวลล์ แอคเซลเลอเรเตอร์ (Honeywell Accelerator) และแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์แบบเบ็ดเสร็จ ฮันนี่เวลล์ คอนเนคเต็ด เอ็นเทอร์ไพรซ์ (Honeywell Connected Enterprise) ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ เราช่วยให้องค์กรต่าง ๆ แก้ไขปัญหาท้าทายที่ยากที่สุดและซับซ้อนที่สุดในโลกด้วยการมอบโซลูชันส์และนวัตกรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อช่วยทำให้โลกฉลาดขึ้น ปลอดภัยขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น สำหรับข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮันนี่เวลล์ โปรดเข้าชมที่ www.honeywell.com/newsroom
[i] อ้างอิงจากการวิเคราะห์ประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกน (Michigan Technological University) ภายใต้การกำกับของดร.เดวิด ชาร์นนาร์ด (Dr. David Shonnard)
[ii] อ้างอิงจากบทสรุปการประเมินวัฏจักรชีวิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอ้อย จัดทำโดยสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA)
[iii] การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงนั้นอ้างอิงจากการวิเคราะห์ความเข้มข้นของคาร์บอนโดยยูโอพี ซึ่งได้จากการศึกษาของหน่วยงานภายนอกเรื่องการผลิตเมทานอลจากไฮโดรเจนสีเขียวและคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ดักจับได้จากกระบวนการชีวมวล เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล
สื่อมวลชนติดต่อ :
แอนนา แรมลี (Anna Ramli)
โทร. +60122124439
อีเมล: [email protected]
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2255933/aerial_view_chemical_oil_refinery_plant_power_plant_blue_sky_background.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit