เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ Green Road การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมสีเขียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ร่วมเยี่ยมชม
โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน กรีนโรด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและขยายผลที่ วช. ให้การสนับสนุนทุน มรภ.เชียงใหม ดำเนินการ โดยมี ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยศูนย์ Green Road อยู่ในการดูแลของ มรภ.เชียงใหม่
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาขยะและการจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและการวิจัยนวัตกรรมที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการบริหารจัดการของ Green Road ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการบริหารจัดการขยะพลาสติก จากทั่วประเทศเพื่อนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นับว่าเป็นModelที่ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากหลายภาคส่วน เป็นการลดการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use packaging) โดยส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถรีไซเคิลได้ง่ายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า เป้าหมายหลักคือการเก็บขยะ และคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำมาทำพื้นที่กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย และนำมาทำบล็อกรีไซเคิลเพื่อปูพื้นในวัด จากนั้นได้มีการขยายผลไปที่ชุมชนข้าง ในรูปแบบกลุ่มจิตอาสา โดยกรีนโรดทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และได้รวบรวมขยะมาบริจาคให้โครงการ จนเป็นที่มาของโครงการ "ขยะแลกบุญ" โดยใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ปัจจุบัน ช่วย รณรงค์ให้คนในประเทศคัดแยกขยะ ลดการใช้พลาสติกแบบ Single-Use และรับบริจาคขยะพลาสติกจากประชาชนทั่วประเทศ เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ ถนนสีเขียว ทางรถเข็นผู้พิการ บล็อกรีไซเคิล โต๊ะเก้าอี้สนามหรือของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ แล้วนำไปบริจาคต่อให้โรงเรียน วัด อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ โดยมุ่งหวังที่จะทำให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าขยะชุมชนถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งการลดขยะของขยะชุมชนจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และลดขยะชุมชนได้อย่างยั่งยืน
บริษัท อีคิวกรุ๊ป จำกัด ร่วมกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ "Young Smart Startup" โดยเป้าหมายหลักในการจัดโครงการเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับนักศึกษาที่มีความสนใจในการเป็นผู้ประกอบการนำไปประยุกต์และปรับใช้ในธุรกิจของตนเองในอนาคต โครงการนี้จัดขึ้นโดยมี อาจารย์นก ฉัตรชัย ตันติวัฒนา วิทยากรผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร EQ Group พร้อมทีมงาน เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จำนวน 60 คนที่สนใจก้าวเข้าสู่โลกของการเป็นผู้ประกอบการ
มรภ.เชียงใหม่ โชว์ศูนย์ Green Road การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมสีเขียว
—
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระท...
วช. หนุน มรภ.เชียงใหม่ นำกระบวนการวิศวกรสังคม พัฒนาชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม
—
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษ...
อพสธ. รำไพฯ ร่วมประชุมฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับภูมิภาค
—
มหาวิทยลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนร...
ม.พะเยา ร่วมงานแถลงข่าว การเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7
—
วันพฤหัสบดี...
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ร่วมกับ กองการสังคีต กรุงเทพมหานคร เชิญชมการแสดงและการเสวนา 'Bandstand: Chamber of Resonance'
—
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ร่วมกับ กอ...
"ท้าไม่ทิ้งกับกาแฟเขาช่อง ซีซั่น 3" เปิดรับบริจาคขยะพลาสติกจากทั่วประเทศเพื่อสร้างถนนรีไซเคิล มอบให้อุทยานแห่งชาติภูลังกา จ.นครพนม และ จ.บึงกาฬ
—
"ท้าไม่ทิ้ง...
วช. จับมือ สทน. และ 3 ราชภัฏ ยกระดับ "อาหารไทยภาคเหนือ" ด้วยการฉายรังสี
—
5 หน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ สำนักงานการว...
วช. และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนการ "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่)
—
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้ให้เกียรต...