เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ เรื่อง "การร่วมสร้างนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ตำบลปงยางคก ด้วยทักษะวิศวกรสังคม" ซึ่ง วช. ให้การสนับสนุนการบ่มเพาะวิศวกรสังคมดวยวิจัยและนวัตกรรม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการ "วิศวกรสังคม" โดย วช.สนับสนุนให้มีกระบวนการนำวิศวกรสังคมที่ผ่านการบ่มเพาะนำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ด้ยวิจะยและนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เลือกประเด็นการท่องเที่ยว ในพื้นที่ตำบลปงยางคก อำเภอเมืองห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ให้วิศวกรสังคมมาร่วมพัฒนาโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วม และมีความเข้มแข็งเป็นตนแบบที่ดีเป็นอย่างยิ่ง
ผศ.ปริตต์ สายสี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา กล่าวรายงาน กล่าวถึง การให้ความสำคัญและการสนับสนุนงานวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ซึ่งขณะนี้ ผลงานของการดำเนินงานของวิศวกรสังคมในโครงการที่พื้นที่ปงยางคก จ.ลำปาง ได้มีผลสำเร็จที่ดี
ผศ.ดร.นิศากร สุวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ได้ดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เข้ามาแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการวิศวกรสังคม ผ่านรูปแบบกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1) การบ่มเพาะและพัฒนาทักษะวิศวกรสังคม โดยใช้เครื่องมือ 5 ชิ้น กิจกรรมที่ 2) การพัฒนานวัตกรรมร่วมสร้างโดยบูรณาการทักษะ 4 ประการ กิจกรรมที่ 3) การติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน และ กิจกรรมที่ 4) การนำส่งองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมการท่องเที่ยวให้ปงยางคก จังหวัดลำปาง ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว อาทิ การสร้างสรรค์บทเพลงพื้นถิ่น เพลงขอเชิญแอ่วปงยางคก การออกแบบท่าฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์ของปงยางคก ฟ้อนปูรณฆฏะและการจัดทำของที่ระลึก ถุงผ้าจากปงยางคก ที่มีการเพ้นท์ลวดลายภาพของหม้อปูรณฆฏะ จากสถานที่สำคัญวัดปงยางคก ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารเจ้าแม่จามเทวี ที่เป็นเอกลักษณ์ ของตำบลปงยางคก จังหวัดลำปาง เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดลำปาง นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนชุมชนท้องถิ่นตามปรัชญาขอมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. คณะนักวิจัย ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการดังกล่าว และลงพื้นที่วัดปงยางคก เพื่อรับฟังความคิดเห็นและต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป