ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลการสำรวจ Thailand Business Transition for Future Energy Ambition Survey ประจำปี 2566

21 Dec 2023

  • ร้อยละ 41 ของบริษัท มองว่าการผลักดันนโยบายระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในการผลักดันการดำเนินการสู่ความยั่งยืน ในขณะที่ ร้อยละ 36 มีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ จากการผลักดันนโยบายระดับชาติ
  • ร้อยละ 40 ของบริษัทให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นเป้าหมายหลักในด้านความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ โดยมีอัตราความสำเร็จในระดับปานกลาง
  • ความท้าทายในการการรวบรวมและติดตามข้อมูลการปล่อยก๊าซในห่วงโซ่อุปทาน การใช้ต้นทุนสูงในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความท้าทายในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทคิดเป็นร้อยละ 50, 47และ 39 ตามลำดับ
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลดการปล่อยก๊าซจากการคมนาคมและห่วงโซ่อุปทาน และการปรับปรุงระบบการจัดการขยะ เป็นสามอันดับแรกของการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 70, 54 และ 43 ตามลำดับ
ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลการสำรวจ Thailand Business Transition for Future Energy Ambition Survey ประจำปี 2566

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Thailand Business Transition for Future Energy Ambition Survey 2023 ซึ่งเผยข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของบริษัทในประเทศไทยต่อความยั่งยืนและมาตรการทางสิ่งแวดล้อม และความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ ผลสำรวจนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ธุรกิจต้องปรับตัวตามเป้าหมายทางความยั่งยืนและดำเนินการทางกลยุทธ์เพื่อจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และนำเสนอแผนกลยุทธ์ให้กับบริษัทที่ต้องการหาแนวทางดำเนินธุรกิจที่มีความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ Thailand Business Transition for Future Energy Ambition Survey 2023 โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจจากบริษัทในประเทศไทย 57 แห่ง จาก 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอุปโภคบริโภค, พลังงาน, ทรัพยากรและอุตสาหกรรม, บริการทางการเงิน, และวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการดูแลสุขภาพ การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของบริษัทต่อการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนและสภาพอากาศ และความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญ ผลการสำรวจประกอบด้วยสามประเด็นสำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ การดำเนินงานในระดับปฏิบัติการ และมาตรการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนและการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ในด้านกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจัยทางกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้รับผลกระทบจากทั้งนโยบายระหว่างประเทศและระดับประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทดำเนินกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 41 ได้รับการผลักดันนโยบายระหว่างประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 36 มีการผลักดันจากนโยบายระดับชาติเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการดำเนินการ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยทางธุรกิจอื่นๆ เช่น การแข่งขัน ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญอีกด้วย และความกดดันภายนอกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อมิติการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของบริษัทอีกด้วย

เมื่อถามเกี่ยวกับเป้าหมายทางความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์สุทธิเป็นเป้าหมายทางความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมอันดับแรกๆ ที่บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ นำมาใช้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมพลังงานและเคมี เป้าหมายอื่นๆ ในลำดับถัดมาได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างไรก็ตาม อัตราการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ยังอยู่ที่ระดับปานกลาง โดยมีคะแนนประมาณ 3.3 จากคะแนนเต็ม 5 นี้ สอดคล้องกับความมุ่งมั่นในข้อตกลง COP26 ที่หลายประเทศได้มีการสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซให้เป็นศูนย์สุทธิอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อกล่าวถึงความท้าทายในการทำให้เป้าหมายทางความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมเป็นจริง ผลสำรวจระบุว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เผชิญกับความท้าทายที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินมากกว่าทางท้าทายที่เกี่ยวกับเงิน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ในส่วนความท้าทายที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงิน การรวบรวมและติดตามข้อมูลการปล่อยก๊าซในห่วงโซ่อุปทานเป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ คิดเป็นร้อยละ 50 ของบริษัทที่ได้รับการสำรวจดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 60 ของบริษัทที่เผชิญความท้าทายที่เกี่ยวกับเงิน ระบุว่าตนกำลังประสบปัญหาต้นทุนการลงทุนสูงที่เกี่ยวข้องกับโครงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า "ในการจัดการความท้าทายในการรวบรวมข้อมูล บริษัทอาจเริ่มจากการพิจารณาประเภทข้อมูลที่จำเป็น ระบุขอบเขตและขอบเขตของการรวบรวมข้อมูล ระบุผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในธุรกิจและสร้างกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบการรายงานเรื่องความยั่งยืนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและอนาคต"

เมื่อพิจารณาการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนและเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อม พบว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการดำเนินงาน, การลดการปล่อยก๊าซจากการคมนาคมและห่วงโซ่อุปทาน และการเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดการขยะ เป็นการดำเนินการสามอันดับแรก โดยคิดเป็นร้อยละ 70, 54 และ 43 ตามลำดับ.

เพื่อลดช่องว่างในกระบวนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ และมีการย้ายพอร์ทการลงทุนไปทางพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไฮโดรอีเล็กทริก (hydroelectric) พลังงานความร้อนใต้พิภพ (geothermal) และกรีนไฮโดรเจน (green hydrogen) .สำหรับเส้นทางไปสู่กระบวนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรนั้น คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการพาธุรกิจไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และจำเป็นต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการผสานโอกาสใหม่ๆ และความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

ถึงแม้การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ผลจากการสำรวจแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยมีการสนับสนุนทางการเงินอย่างจำกัด ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องใช้งบประมาณของบริษัทเพื่อสนับสนุนการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน เห็นได้ชัดว่า การออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bonds) เงินกู้ และงบประมาณของบริษัท เป็นแหล่งทางการเงินที่สำคัญ แต่ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่งหนึ่งขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรการการสนับสนุนของภาครัฐ ชี้ให้เห็นว่าควรปรับปรุงการสื่อสารให้ดีขึ้น จากผลสำรวจ ร้อยละ 81 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าพวกเขาใช้งบประมาณภายในบริษัทเพื่อการจัดการและดำเนินโครงการทางอนุรักษ์และด้านสิ่งแวดล้อม ในทางกลับกัน มีเพียงร้อยละ 28 ของบริษัทที่ร่วมการสำรวจ พึ่งพาทุนสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นแหล่งทางการเงินเพื่อสนับสนุนทางด้านอนุรักษ์และการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อกล่าวถึงนโยบาย 30@30 ซึ่งมุ่งเน้นผลิตรถยนต์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์เป็นจำนวนร้อยละ 30 จากการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี 2573, จากการสำรวจพบว่ามีความกังวลถึงผลกระทบจากการบังคับใช้ของนโยบายดังกล่าว โดยร้อยละ 40 ของบริษัทที่ได้รับการสำรวจ ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อกระบวนการดำเนินงาน.

ดร.บดินทร์ วงศ์วิทยาภิรมณ์ ผู้จัดการอาวุโส Sustainability & Climate, Center of Excellence ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า "นอกจากที่นโยบาย 30@30 จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของบริษัทต่างๆ โดยตรงแล้ว นโยบายดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เห็นได้ชัดว่า ยังมีความท้าทายในส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาดในระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid) การจำกัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะสั้นสำหรับเครื่องยนต์สันดาบภายใน เนื่องจากต้องพึ่งพาวัสดุเชื้อเพลิงทางการเกษตร และการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่ลดรายได้ของรัฐบาลจากภาษีสรรพสามิต

คุณโสภาพรรณ ทรัพย์ทิพยรัตนา Southeast Asia Power, Utilities & Renewables Leader และพาร์ทเนอร์ บริการสอบบัญชี ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า "การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทในการบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังก่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางธุรกิจ เช่น การประหยัดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพ, เพิ่มยอดขาย ความจงรักภักดีจากลูกค้า นวัตกรรม และความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แข็งแกร่งมากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มผ่านทางลิงค์ด้านล่างนี้
https://www2.deloitte.com/th/en/events/2023/thailand-business-transition-for-future-energy-ambition-survey-2023.html

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลการสำรวจ Thailand Business Transition for Future Energy Ambition Survey ประจำปี 2566