ไข้หวัด,ไข้หวัดใหญ่ ถึงจะชื่อไข้หวัดเหมือนกัน แต่อันตรายต่างกันมากนะครับ...ยิ่งในเด็กเล็กเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสับสนกับอาการไม่สบายของลูกว่าเป็น "ไข้หวัดธรรมดา" หรือ "ไข้หวัดใหญ่" กันแน่!!.. ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากความแตกต่างของอาการ คือ ไข้หวัดใหญ่มักจะมีไข้สูงมาก คัดจมูก เจ็บคอ ปวดหัวมาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งในเด็กเล็กอาจมีอาการที่รุนแรงกว่า หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กเล็กยังมีไม่มากพอ ส่วนไข้หวัดธรรมดานั้นอาการไข้จะน้อยกว่า น้ำมูกไหล และมีอาการไอร่วมด้วย
ทั่วไปถ้าเด็กติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มักจะหายได้เองใน 7-10 วัน โดยควรดูแลให้เด็กนอนพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เช็ดตัว ทานยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการ แต่ถ้าเด็กมีอาการหนัก เช่น มีไข้สูง กินอาหารไม่ได้ ไอเยอะ มีเสมหะ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ หรือในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง ไอจนเหนื่อย ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เช่นกัน เพราะเด็กอายุน้อยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือมีโรคประจำตัว
อย่างที่เราทราบกันว่าไข้หวัดใหญ่ติดต่อกันได้จากการสัมผัส ไอ จาม เอาเชื้อเข้าทางจมูกหรือปาก ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ การไม่ให้ลูกอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย เลี่ยงการอยู่ในที่แออัดมีคนเยอะๆ หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และอีกวิธีที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ดีคือการฉีด "วัคซีนไข้หวัดใหญ่" ป้องกัน ซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
** คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เพราะถ้าเด็กเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ **
ไข้หวัด,ไข้หวัดใหญ่ ถึงจะชื่อไข้หวัดเหมือนกัน แต่อันตรายต่างกันมากนะครับ...ยิ่งในเด็กเล็กเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสับสนกับอาการไม่สบายของลูกว่าเป็น "ไข้หวัดธรรมดา" หรือ "ไข้หวัดใหญ่" กันแน่!!.. ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากความแตกต่างของอาการ คือ ไข้หวัดใหญ่มักจะมีไข้สูงมาก คัดจมูก เจ็บคอ ปวดหัวมาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งในเด็กเล็กอาจมีอาการที่รุนแรงกว่า หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ
ลูกเป็น "ไข้หวัดธรรมดา" หรือว่า "ไข้หวัดใหญ่" กันแน่!
—
ไข้หวัด,ไข้หวัดใหญ่ ถึงจะชื่อไข้หวัดเหมือนกัน แต่อันตรายต่างกันมากนะครับ...ยิ่งในเด็กเล็กเมื่อเป็น...
"ไซนัสอักเสบ" ปล่อยไว้นาน ยิ่งอันตราย!
—
คัดแน่นจมูก น้ำมูกข้นเหลือง ปวดบริเวณโพรงจมูก ใบหน้า หรือรากฟันบน ในกรณีที่รุนแรง อาจมีไข้สูงร่วมด้วย หากอาการ...
"ไซนัสอักเสบ" โรคใกล้ตัวและอันตรายกว่าที่คิด!
—
โรคไซนัสอักเสบ มักเกิดจากการเป็นหวัดเรื้อรัง ภูมิแพ้ที่โพรงจมูกที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม หรือ...
น้ำมูกข้นเขียวเหลือง ปวดบริเวณใบหน้า ระวัง! "ไซนัสอักเสบ"
—
ไซนัสอักเสบ คือภาวะการอักเสบติดเชื้อของโพรงอากาศรอบจมูก ปกติโพรงไซนัสจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 ...
"ไซนัสอักเสบ" ปล่อยเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
—
"ไซนัสอักเสบ" ปล่อยเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หากคุณมีอาการคัดจมูกไม่หาย น้ำมูกข้นสี...
"ไซนัสอักเสบ" รีบรักษาก่อนลุกลามไปตาและสมอง
—
ใครๆ ก็คงเคยเป็นหวัดและน้ำมูกไหลกันทั้งนั้น โดยปกติอาการหวัดจะหายได้เองในไม่กี่วัน แต่ถ้าใครที่มีอา...
ผ่าตัดส่องกล้อง Full House FESS หยุด "ไซนัสอักเสบเรื้อรัง"
—
คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ไม่เป็นไข้ มีอาการแบบนี้ติดต่อกันบ่อยๆ นี่ร่างกายเป็นอะไร โรคร้ายใช่ไหมเ...
ไซนัสเรื้อรัง...โรคฮิตที่น่ารำคาญ รักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ฟื้นตัวไว ไร้รอยแผล
—
หลาย ๆ คนอาจเคยมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกข้นเสมหะไหลลงคอ อาการคล้าย "ไ...