กล้องวงจรปิดเป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล ถือเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน เมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรืออาชญากรรม "กล้องวงจรปิด" ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยภาครัฐระบุตัวตนผู้ต้องสงสัยและช่วยตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อโลกหมุนเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ที่หลายคนเคยอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
แต่แท้จริงแล้วเอไอได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย อาทิ ด้านการแพทย์ การเกษตร ด้านการศึกษา ภาคธุรกิจ รวมไปถึงด้านความมั่นคงของประเทศ หลายภาคส่วนเริ่มมองเห็นแนวทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ เช่นเดียวกับนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียที่มีแนวคิดนำเอไอมาปรับใช้ และพัฒนากล้องวงจรปิดให้อัจฉริยะมากขึ้น เพื่อเตรียมรับมือกับภัยความไม่สงบและปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยวันนี้ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. ที่ให้การสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าวจะพาไปชมความล้ำที่รับรองว่าทุกคนจะต้องรู้สึกทึ่งและภาคภูมิใจไปกับเทคโนโลยีนี้
รศ. ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเจ้าของโครงการระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว เล่าว่า แรงผลักดันที่ทำให้เกิดแนวคิดที่จะทำ "โครงการระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว" มาจากความสนใจที่จะนำ "เอไอ" มาทำงานค้นหาและติดตามผู้ต้องสงสัยแทนคน โดยได้เอาเหตุระเบิดบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อปี 2558 ที่กล้องวงจรปิดบริเวณโดยรอบศาล
พระพรหมสามารถบันทึกเหตุการณ์ก่อนและหลังเกิดเหตุระเบิด รวมถึงจับภาพชายเสื้อเหลือง ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุวางระเบิดได้ แต่กว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถแกะรอยหาเส้นทางหลบหนี จนนำไปสู่การจับกุมชายผู้ต้องสงสัยได้สำเร็จ ต้องไล่กล้องวงจรปิดทั้งของส่วนราชการและภาคเอกชน ซึ่งใช้เวลานานหลายสัปดาห์ มาเป็นโจทย์ในการสร้างนวัตกรรมที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับงานด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ
ระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว ที่วิจัยและพัฒนาขึ้น เป็นการนำเทคนิค "ดีพ เลิร์นนิง" ที่ถูกสร้างขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมมาใช้ในการเทรนระบบซอฟต์แวร์ multi-camera tracking ที่พัฒนาขึ้นเพื่อหาบุคคลรูปพรรณสัณฐาน ให้เกิดการจดจำลักษณะทางกายภาพของบุคคล ประเภทของสี รูปแบบของเครื่องแต่งกาย ซึ่งชุดคำสั่งนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ อีกทั้งยังมีความแม่นยำมากกว่าคนในด้านของการเรียนรู้และจดจำ ดังนั้น เวลาเกิดเหตุความไม่สงบ หรือปัญหาอาชญากรรมเพียงแค่ดึงภาพของผู้ต้องสงสัยที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดป้อนเข้าไปยังระบบ เพียงเท่านี้ซอฟต์แวร์ก็จะทำหน้าที่วิเคราะห์ ประมวลผล ค้นหา และติดตามผู้ต้องสงสัย โดยการเชื่อมต่อกับกล้องวงจรปิดตัวอื่นๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามผู้ต้องสงสัยได้ทันท่วงที
สำหรับระบบแพลตฟอร์มติดตามบุคคลจากกล้องวงจรปิดหลายตัว เป็นซอฟต์แวร์อันดับต้น ๆ ที่นักวิจัยสามารถพัฒนาขึ้นสำเร็จในประเทศไทย นอกจากจะช่วยลดการนำเข้า ยังช่วยลดการเสียเงินตราออกนอกประเทศ เพราะซอฟต์แวร์ที่ไทยพัฒนาขึ้นมีความสามารถใกล้เคียงกับที่เคยสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคา 1 ล้านบาท อีกทั้งระบบยังมีความโดดเด่นในเรื่องของสามารถที่จะปรับจูนให้เหมาะกับการใช้งานในประเทศ โดยการสอนให้ เอไอ เรียนรู้ที่จะจดจำและค้นหาวัตถุสิ่งของที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย อย่างเช่น เครื่องแต่งกายชุดไทย รถตุ๊กตุ๊ก หรืออัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งซอฟต์แวร์ต่างประเทศไม่สามารถค้นหาได้ มีความแม่นยำในการเปรียบเทียบอัตลักษณ์ใกล้เคียงกับรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการอยู่ที่ 85% เพราะในบางกรณีที่ เอไอ ค้นหาบุคคลที่มีรูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกับผู้ต้องสงสัยมากกว่า 1 คน ระบบยังคงต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการช่วยวินิจฉัยเพิ่มเติม แต่การใช้ เอไอ ช่วยค้นหาบุคคลต้องสงสัยจะสามารถช่วยร่นระยะเวลาการไล่กล้องของเจ้าหน้าที่จากเดิม 1 - 2 สัปดาห์ เหลือเพียงแค่หลักนาที ก็จะตามเกาะรอยผู้ต้องสงสัยได้ครบทุกจุด และสามารถแสดงผลการค้นหาได้แบบเรียลไทม์
โครงการระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว ปัจจุบันมีการใช้งานใน 2 พื้นที่ คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จะเป็นการใช้ในส่วนของการวิจัยและพัฒนาระบบในระดับห้องปฏิบัติการ ส่วนการทดสอบและใช้งานจริงของระบบจะเป็นการเชื่อมต่อ เอไอ กับกล้อง 100 ตัวที่ติดตั้งบริเวณสกายวอล์ก ย่านราชประสงค์ ซึ่งเป็นการทำวิจัยระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการราชประสงค์ ภายใต้การสนับสนุนเงินทุน โดยกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อเป็นการช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในกรณีเกิดเหตุอาชญากรรม จะสามารถติดตามบุคคลต้องสงสัยได้ทันท่วงที เป็นการพัฒนาและยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรม
"ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาใช้ในประเทศได้ แต่ก็ต้องมีทุนวิจัยสนับสนุน ขอบคุณ กทปส. ที่เห็นความสำคัญและช่วยสนับสนุนโครงการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยในอนาคตวางเป้าหมายอยากจะพัฒนาระบบแพลตฟอร์มให้มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น เนื่องจากตอนปิดโครงการเคยได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยากเห็นความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำไปขยายผลใช้งานจริงในพื้นที่ทางด้านความมั่นคงที่ดูแลโดยตำรวจ ทหาร ซึ่งทางกองทุน กทปส. ก็มีการให้ทุนกับโครงการต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณา
ความเป็นไปได้ของการนำระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัวไปขยายผลใช้จริง ในพื้นที่ด้านความมั่นคงของประเทศ"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-554-8124 และ 02-554-8102 หรือติดตามความเคลื่อนไหวของ กทปส. ได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th และ www.facebook.com/BTFPNEWS
เรนวูด ปาร์ค (Reignwood Park) โครงการมิกซ์ยูสระดับเมกะโปรเจกต์แห่งแรกในไทย ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสำหรับการใช้ชีวิตทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด "The World Community for Multi-Generational Living" ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ บนพื้นที่ลำลูกกา ปทุมธานี ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยภายในโครงการ เรนวูด ปาร์ค ด้วยการนำเทคโนโลยีอากาศยาน
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
OKMD ประกาศผล แพลตฟอร์มช่วยคนหูหนวก - เอไอออกแบบเสื้อผ้า คว้าชัยประกวด Learn Lab 2025 : Creativity Beyond AI
—
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์คว...
สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education"
—
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...
สคส. ดันไทยก้าวสู่มาตรฐานโลก คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระดับสากล ร่วมประชุม APEC DESG ครั้งที่ 50 ณ เกาหลีใต้
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สค...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...
"มทร.ล้านนา" เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล...