"ทรีนีตี้" มองตลาดหุ้นฟื้นไตรมาส 4 จากสามปัจจัยหนุน เฟดมีโอกาสคงดอกเบี้ย - เงินดอลลาร์อ่อน - บอนด์ยีลพีคไปแล้ว ขณะที่หุ้นไทยระดับดัชนี 1450-1460 จุด ถูกเป็นอันดับที่ 5 ในรอบ 16 ปี ในเชิง Price Book Value ที่ 1.39X แนวโน้มไตรมาส 3 หุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงจากเศรษฐกิจโตน้อย สภาพคล่องทั่วโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทุนนอกยัง ไม่เข้า หลังขายหนักตั้งแต่ต้นปีกว่า 1 แสนล้าน แนะลงทุนหุ้นอิง Mega Trend เช่น หุ้นได้ประโยชน์ภาวะโลกร้อน และกลุ่มที่ให้เงินปันผลสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เช่น กลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร
ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุน ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอตัว และทิศทาง Fund Flow โลกยังคงอ่อนแอกว่าช่วงต้นไตรมาส 3-4 ตลาดหุ้นจะขึ้นต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเติบโตเศรษฐกิจ หลังดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐน่าจะถึงจุดสูงสุดในปลาย ไตรมาส 3 แล้ว โดยคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยอย่างจริงจังในปลายไตรมาส 3 จะหนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองในทางบวกในไตรมาส 4 ในทางกลับกันถ้าเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยทันทีตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนเป็นลบเพราะเป็นการตอกย้ำว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี
ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิ.ย.เฟดยังส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยอีกเนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข Core PCE โดยที่ FOMC คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในไตรมาส 3 นี้ (อาจจะเป็นปลายเดือนก.ค.) เพราะยังไม่สบายใจกับตัวเลข Core PCE ที่ยังไม่ปรับตัวลดลงที่ยังคงอยู่ระดับ 4.7%
"ตลาดหุ้นทั่วโลกไตรมาส 3 มีโอกาสปรับตัวลดลงเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง และสภาพคล่องทั่วโลกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญและจะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกและไทยในช่วงไตรมาส 3 อ่อนแอลง" ดร.วิศิษฐ์ กล่าว
สภาพคล่องในตลาดโลกกำลังลดลงจาก 7 สาเหตุ ได้แก่
ดร.วิศิษฐ์ กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นในไตรมาส 4 น่าจะฟื้นตัว หลังจากผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วช่วงไตรมาส 3 จาก 1. การอ่อนแอของดอลลาร์สหรัฐ และเฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 1 ปี 2567 2. มองตลาดทุนในตลาดเกิดใหม่จะ Outperform ในไตรมาส 4 เนื่องจากในเอเชียได้ผลกระทบจาก Interest shock น้อยกว่าตลาดหุ้น ในกลุ่มประเทศพัฒนาส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะ Outperform ตลาดหุ้นจีนจะมีการฟื้นตัวในไตรมาส 3 นี้ 3. มอง Bond Yield 10 ปีของสหรัฐได้ถึงจุดสูงสุดไปแล้วที่ระดับ 4.3% หรือกว่า 8 เดือนที่แล้วแต่ Fed Fund Rate อาจจะถึงจุดสูงสุดในไตรมาส 3 และหยุดการขึ้นดอกเบี้ย และมองกนง.ของประเทศไทยจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในไตรมาส 3
การที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกำลังสะท้อนความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายที่มีผลต่อตลาดทุน ขณะที่นักลงทุนขายสุทธิกว่า 1 แสนล้านบาทตั้งแต่ปี 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤษภาคมที่ขายกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 3.3 หมื่นล้าน และคาดว่าการขายของนักลงทุนต่างประเทศลดลง
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่จะหนุนเศรษฐกิจคือ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวกลับมาและมีสัดส่วนมากกว่า 10% ของจีดีพี รวมถึงการส่งออกไทยฟื้นตัวไตรมาส 4 โดยปกติการส่งออกของไทยจะอยู่ในช่วงเฉลี่ยเดือนละ 21,000-23,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ฐานต่ำในไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่ระดับ 21,933 อาจทำให้เราเห็นการเติบโตของ Export ในไตรมาส 4 ปีนี้
"ดัชนีหุ้นไทยที่ระดับ 1450 จุด ถูกเป็นอันดับที่ 5 ในรอบ 16 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับการเกิด Covid รอบ 2 ในกลางปี 2021 และถือเป็นจุดที่น่าลงทุนในระยะกลาง Valuation ปัจจุบัน P/BV ที่ 1.44 เท่า" ดร.วิศิษฐ์กล่าว
ด้านกลยุทธ์มองว่าการลงทุนใน Mega Trend เช่น หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเอลนีโญ ซึ่งจะทวีความรุนแรงขึ้นในครึ่งแรกของปี 2567 หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI Growth ทั่วโลก และหุ้นไทยที่มีการเติบโตทั้ง Yoy และ QoQ ในไตรมาส 2 เช่น BBL BEM CPALL CPAXT KTB MINT และมองกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก Searching for Yields (เงินปันผลมากกว่าอัตราผลตอบแทนรัฐบาล 10 ปี)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit