หัวเว่ยส่งเสริมการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมเทคโนโลยีกับการนำไปใช้
หัวเว่ย (Huawei) ผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ประกาศคิดค่าสิทธิ เพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเครื่องโทรศัพท์ ไวไฟ และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นได้
"หัวเว่ยยินดีแบ่งปันนวัตกรรมล้ำสมัยในรูปแบบของสิทธิบัตรกับทั้งโลก" ซ่ง หลิวผิง (Song Liuping) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย กล่าว "สิ่งนี้จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน"
คุณซ่ง หลิวผิง ได้มีถ้อยแถลงดังกล่าวในงานสำคัญประจำปีที่ทางหัวเว่ยได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในเซินเจิ้น โดยปีนี้จัดขึ้นในหัวข้อ "เชื่อมขอบฟ้าแห่งนวัตกรรม แบ่งปันทรัพย์สินทางปัญญาและขับเคลื่อนนวัตกรรม"
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในการส่งเสริมมาตรฐานไอซีทีกระแสหลัก เช่น กลไกเข้าและถอดรหัสสัญญาณเซลลูลาร์ ไวไฟ และมัลติมีเดีย
งานนี้มีเซสชันแบ่งปันข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ครอบคลุมเทคโนโลยีที่ใช้ได้ทั้งที่บ้าน ระหว่างเดินทาง และที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยชั้นนำเกี่ยวกับ 5.5G, เทคโนโลยีเสียงและวิดีโอ รูรับแสงที่ปรับได้ 10 ขนาดในโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายตรวจจับสิ่งกีดขวางทั่วไปที่ช่วยให้รถยนต์ระบุวัตถุผิดปกติที่อยู่นอกรายการสิ่งกีดขวางทั่วไปได้ และอัลกอริทึมที่ช่วยให้จัดตารางการผลิตอัจฉริยะและเพิ่มประสิทธิภาพได้
หัวเว่ยมีแผนอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (SEP) ได้ โดยให้สิทธิ์อย่างเป็นธรรม สมเหตุสมผล และไม่เลือกปฏิบัติ (FRAND) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ประกาศคิดค่าสิทธิสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องโทรศัพท์ระบบ 4G และ 5G อุปกรณ์ไวไฟ 6 และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภาคส่วนที่หัวเว่ยถือครองสิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยมีเพดานค่าสิทธิสำหรับเครื่องโทรศัพท์ระบบ 4G อยู่ที่ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย และเครื่องโทรศัพท์ระบบ 5G อยู่ที่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย ส่วนค่าสิทธิสำหรับอุปกรณ์ไวไฟ 6 อยู่ที่ 0.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย ค่าสิทธิสำหรับอุปกรณ์ IoT-Centric อยู่ที่ 1% ของราคาขายสุทธิ หรือไม่เกิน 0.75 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าสิทธิในอุปกรณ์ IoT-Enhanced อยู่ที่ 0.3-1 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย
อลัน ฟ่าน (Alan Fan) รองประธานและหัวหน้าแผนกสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย ย้ำว่าผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง ได้ค่าตอบแทน และได้รับการสนับสนุน เพื่อให้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างยั่งยืน
เขากล่าวว่า "หัวเว่ยใช้แนวทางที่สมดุลในการออกใบอนุญาตสิทธิบัตร เราเชื่อว่าค่าสิทธิที่สมเหตุสมผลจะผลักดันให้เกิดทั้งการสร้างสรรค์และการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปใช้"
จนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้ออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรระดับทวิภาคีเกือบ 200 ฉบับแล้ว นอกจากนี้ บริษัทกว่า 350 แห่งได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรของหัวเว่ยได้ผ่านกลุ่มสิทธิบัตร ใบอนุญาตเหล่านี้ทำให้หัวเว่ยได้ค่าลิขสิทธิ์เป็นสามเท่าของการเก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด ขณะที่รายได้จากการออกใบอนุญาตในปี 2565 รวมกันอยู่ที่ 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โทมัส ลามาเนาคัส (Tomas Lamanauskas) รองเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้เข้าร่วมงานนี้ผ่านทางออนไลน์ โดยเปิดเผยว่า หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมที่คุ้มค่า เสมอภาค และยืดหยุ่น
คุณลามาเนาคัส กล่าวเสริมว่า "ในขณะที่เรายังคงหาทางรับมือความท้าทายระดับโลก และมุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) นโยบายและกรอบการทำงานที่เอื้ออำนวยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ระบบนิเวศแห่งนวัตกรรมเติบโตได้"
หัวเว่ยลงทุนในการวิจัยและพัฒนาไปถึง 9.773 แสนล้านหยวนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2565 หัวเว่ยลงทุนวิจัยและพัฒนาไป 1.615 แสนล้านหยวน หรือ 25.1% ของรายได้ ขณะที่กระดานจัดอันดับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป (EU Industrial R&D Investment Scoreboard) ประจำปี 2565 ยกให้หัวเว่ยอยู่อันดับ 4 ของโลก
หัวเว่ยได้ทำข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น ซุมซุง (Samsung) และออปโป้ (Oppo) และผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) อาวดี้ (Audi) บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ปอร์เช่ (Porsche) ซูบารุ (Subaru) เรโนลต์ (Renault) ลัมโบร์กีนี (Lamborghini) และเบนท์ลีย์ (Bentley)
คุณฟ่านเปิดเผยว่า หัวเว่ยยังเป็นผู้สนับสนุนองค์กรอุตสาหกรรมโอเพนซอร์สรายใหญ่ ๆ ระดับโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวเว็บไซต์อนุญาตให้ใช้สิทธิอย่างเป็นทางการภายในงานนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการออกใบอนุญาตระดับทวิภาคีของหัวเว่ย ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงไวไฟ และ IoT เซลลูลาร์
แรนดัลล์ อาร์ เรเดอร์ (Randall R. Rader) อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาประจำศาลอุทธรณ์สหรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า "ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้ทุกคนได้ประโยชน์"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมและอัตราค่าสิทธิ์ของหัวเว่ย ได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของหัวเว่ยที่ https://www.huawei.com/en/ipr
รับชมคลิปย้อนหลังฟอรัมหัวข้อ "เชื่อมขอบฟ้าแห่งนวัตกรรม แบ่งปันทรัพย์สินทางปัญญาและขับเคลื่อนนวัตกรรม" ได้ที่ https://www.huawei.com/en/events/ipr2023
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2154160/image_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2154161/image_2.jpg
มหาวิทยาลัยรามคำแหง รับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาโท (ส่วนกลาง) ภาค 1 ปีการศึกษา 2568 ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ สมัครทางอินเทอร์เน็ต บัดนี้ 10 มีนาคม 2568 ที่ www.grad.ru.ac.th กำหนดสอบข้อเขียน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 รับสมัคร จำนวน 10 คณะ ในสาขาวิชาและวิชาเอก ดังนี้ คณะนิติศาสตร์ วิชาเอกกฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ และบริหารงานยุติธรรม คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการ
"หัวเว่ย" ประกาศคิดค่าสิทธิให้ใช้สิทธิบัตรของบริษัทได้
—
หัวเว่ยส่งเสริมการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมเทคโนโลยีกับการนำไปใช้ หัวเว่ย...
ก.ล.ต. ร่วม Meta และ Facebook ประเทศไทย เสริมสร้างการปกป้องแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญา
—
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศ...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือร่วมกับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดกา...
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ FAO หนุนพัฒนา GI ภูฏานผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดการส่งเสริมสินค้า GI ไทยสู่ตลาดโลก
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การต้อน...
ซานริโอ เปิดตัวแคมเปญระดับภูมิภาค มุ่งเสริมสร้างการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
—
กรุงเทพฯ, 19 มีนาคม 2568 ซานริโอ (Sanrio) ประกาศเป...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกและ CEA นำร่องสร้างดัชนีชี้วัดซอฟต์พาวเวอร์ไทย
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโ...