เมื่อวันพุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2566 ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) หรือ SHECU ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการเสวนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายฯ ปี 2566) โดยได้รับเกียรติจาก นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนาและการอบรม ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนาวยการ ศปอส. ศาสตราจารย์ ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล รองศาสตราจารย์ ดร.วราพรรณ ด่านอุตรา รองศาสตราจารย์สุชาตา ชินะจิตร คณะกรรมการที่ปรึกษา ศปอส. ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม ชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) เวลา 09.00 - 16.00 น.
ในช่วงเช้ามีกิจกรรมสัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในหัวข้อ "ทำความรู้จักนโยบาย วช. ด้าน Lab Safety และมาตรการขับเคลื่อน ที่นักวิจัยต้องรู้" ที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายและการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2566 - 2570 และมาตรการส่งเสริมความปลอดภัยให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยมี รองศาสตราจารย์ สุชาตา ชินะจิตร ทำหน้าที่เป็นพิธีกร ซึ่งศาสตราจารย์ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ได้ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีในจุฬาฯ จากนั้น ดร.ขวัญนภัส สรโชติ หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ศปอส. แนะนำระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระบบการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) ระบบดิจิทัลอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแบบไร้รอยต่อ (Smart Lab) แบบเรียนออนไลน์ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (E-Learning) ระบบตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558) พร้อมการอบรมฝึกปฏิบัติการใช้งาน ESPReL Checklist โดย คุณชนัญญา เพิ่มชาติ เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (นักวิทยาศาสตร์) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2566
บ่ายวันเดียวกันได้จัดกิจกรรม เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในหัวข้อ "ทำแล้ว ทำไมทำต่อ" โดยมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อาจารย์ ดร. สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คุณรุ่งเกียรติ ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ ศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คุณวาทิศ วารายานนท์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ดร. พรพิมล มะหะหมัด หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวรัตน์ จันทะโร คณะวิทยาศาสตร์ รับหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดำเนินงาน การบริหารจัดการ ทั้งในการจัดทำฐานข้อมูล การจัดการคลังสารเคมี การจัดเก็บและการเคลื่อนย้ายสารเคมี รวมไปถึงการจัดการและกำจัดของเสียอันตรายจากสารเคมี เพื่อยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเคมีของการศึกษาวิจัยและการทำงานกับสารเคมี ทั้งในระดับสถานศึกษาและภาคเอกชน พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังสอบถามและแสดงความเห็น
เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนเที่ยวชมสัมผัสเสน่ห์พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน รื่นเริงกับการแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบเต็มอิ่ม ย้อนวันวานชมหนังกลางแปลง งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 23 27 เม.ย.นี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จัดงานใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 23 27 เมษายน 2568 ใน 3 พื้นที่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Program สำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth
—
ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Progr...
จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ "ไฮยีนา" ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
—
รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจาร...
SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน"
—
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และนักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
—
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาว...