ซีเมนส์ โมบิลิตี้ รวมพลผู้เกี่ยวข้องด้านรถไฟ ร่วมพัฒนารถไฟไทยสู่ความยั่งยืนระดับสากล

07 Jul 2023

บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ผู้นำด้านเทคโนโลยีขนส่งระบบราง จัดงาน Siemens Mobility Day: Railvolution รวมผู้เกี่ยวข้องทางด้านคมนาคมขนส่งทางรางร่วม 200 รายอาทิเช่น หน่วยงานจากทางภาครัฐ หน่วยงานจากทางภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อแลกเปลื่ยนความรู้ พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นสร้างระบบนิเวศการสัญจรสีเขียว สะท้อนความความยั่งยืนและความยืดหยุ่นเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2023 ที่ผ่านมา ณ ห้องศาลาไทย โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยในงานได้รับเกียรติ จาก ดร. ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และ นายเกออร์ก ชมิดท์เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงานขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนและการเดินทางแบบไร้รอยต่อเทียบชั้นสากล

ซีเมนส์ โมบิลิตี้ รวมพลผู้เกี่ยวข้องด้านรถไฟ ร่วมพัฒนารถไฟไทยสู่ความยั่งยืนระดับสากล

นายโธมัสค์ มาซัวร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ประเทศไทย เปิดเผยว่า "ด้วยกระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ล้วนทำให้ความต้องการในการเดินทางที่สะอาด ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและเชื่อถือได้เพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น เราจะต้องหาวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียทรัพยากรภายในขอบเขตของโลก เราต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดและนำมาตรฐานความยั่งยืนมาใช้ และจำเป็นต้อง ผสานรวมระบบนิเวศการสัญจรทั้งหมดเพื่อให้เมืองต่างๆ สามารถสัญจรกันอย่างครอบคลุมทั่วถึงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยึดมั่นในจุดนี้ เพื่อช่วยแยกสมรรถนะทางเศรษฐกิจออกจากรอยเท้านิเวศน์ โดยนำเสนอเทคโนโลยีทางราง อย่างเช่น Mobility as a Services (MaaS) เทคโนโลยีอัจฉริยะบนโทรศัพท์มือถือสร้างระบบการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ ที่ผสานรวมการขนส่งผู้โดยสาร การซื้อตั๋ว รวมถึงผสานการขนส่งสาธารณะแบบดั้งเดิมเข้ากับการขนส่งสมัยใหม่ตอบสนองการเดินทางที่ราบรื่นตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง"

โดยภายในงาน ซีเมนส์ โมบิลิตี้ยังได้นำเสนอเทคโนโลยีอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนารถไฟไทยในอนาคต อาทิ

  • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นหมู่คณะ(Panel Discussion) ระหว่างตัวแทนทั้งในไทยและต่างประเทศจากผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า ตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษาทางราง มหาวิทยาลัย และผู้ผลิตระบบรถไฟ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ การวางแผนและการดำเนินการด้านระบบรางภายใต้แนวทางความยั่งยืนและการเดินทางแบบไร้รอยต่อ ทำให้มุ่งเห็นความสำคัญ แนวทางปฏิบัติ ความท้าทายและโอกาสในอนาคตของคมนาคมขนส่งในไทย
  • รถไฟไฮโดรเจน (Mireo Plus H) ที่ติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อเปลี่ยนไฮโดรเจนและออกซิเจนให้เป็นไฟฟ้า ใช้เวลาในการชาร์จไฟเพียง 15 นาที ก็สามารถเดินทางได้ถึง 600 กม. ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถไฟไฮโดรเจนจะสามารถเข้ามาทดแทนรถไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลได้ในระยะยาว ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้ราว 330 ตันต่อปี เมื่อเทียบกับการใช้รถไฟพลังงานดีเซลแบบเดิม
  • โครงสร้างพื้นฐานในระบบคลาวด์ คือ โครงสร้างพื้นฐานระบบรางแบบเครือข่ายดิจิทัลทั้งหมด ที่ทำให้สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันต่างๆบนโปรเซสเซอร์มัลติคอร์มาตรฐานแทนฮาร์ดแวรได้ เป็นการปูทางสำหรับแนวทางการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศที่ประหยัดต้นทุน ด้วยการเชื่อมถึงข้อมูลซ้ำซ้อนแบบไร้รอยต่อจากศูนย์ข้อมูลแห่งเดียว
  • เทคโนโลยีอัจฉริยะ ระบบการจัดการสินทรัพย์ทางรางดิจิทัล Railigent เป็นนวัตกรรม IoT ( Internet of Things) ตัวช่วยในการเชื่อมต่อข้อมูล Big Data ผ่านอินเทอร์เน็ตและ AI แบบ 100% ครอบคลุมทุกฟังก์ชั่นการใช้งานด้วยเทคโนโลยีแบบ Full Loop ตั้งแต่การเก็บข้อมูลจากตัวรถไฟ การวิเคราห์และวางแผนการซ่อมบำรุงดูแลรักษา ไปจนถึงระบบปฏิบัติการภายในต่างๆ เพื่อลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น มีความแม่นยำและความรวดเร็วในการดึงข้อมูล ช่วยลดต้นทุนในการดูแลรักษาได้มากกว่า 15% ลดการหยุดการทำงานของระบบและตัวรถไฟที่ไม่ได้วางแผนไว้ ได้ถึง 50 % และยังช่วยลดการใช้พลังงานถึง 10% จึงตอบโจทย์อนาคตคมนาคมขนส่งทางรางอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

HTML::image(