องค์กรมันสมองระดับโลกอย่างสถาบันดีคิว เปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล พร้อมส่งเสริมแนวทาง "เทคโนโลยีที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" ในยุคปัญญาประดิษฐ์
สถาบันดีคิว (DQ Institute) องค์กรชื่อดังระดับโลกซึ่งอุทิศตนในการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก มีความภาคภูมิใจในการประกาศเปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล (Digital-ESG Assessment and Reporting Standards) ด้วยความร่วมมือกับองค์กรมันสมองชั้นนำในเกาหลีอย่างสถาบันแทแจ ฟิวเจอร์ คอนเซ็นซัส (Taejae Future Consensus Institute) โดยได้มีการจัดการประชุมหัวข้อ "ยุคดิจิทัล เส้นทางสู่ความยั่งยืน" (Digital Age, A Pathway to Sustainability) ขึ้นที่มูลนิธิการศึกษาขั้นสูงแห่งเกาหลี (The Korean Foundation of Advanced Studies) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีบัน คีมูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8, อิรินา โบโควา (Irina Bokova) อดีตผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก (UNESCO), คิม ยงฮัก (Kim Yong-Hak) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยยอนเซ และดร. ยูฮยอน ปาร์ค (Yuhyun Park) ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว ร่วมเป็นสักขีพยาน
สถาบันดีคิวมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความเสี่ยงทางดิจิทัลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความปลอดภัยของเด็กในโลกออนไลน์ ข่าวปลอม การโจมตีทางไซเบอร์ การปลุกปั่น และการรุกรานความเป็นส่วนตัว เพื่อรับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ พร้อมจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในคราวเดียวกัน ดังนั้น การนำมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัลมาใช้ จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการกำหนดวาระระดับโลกครั้งใหม่ แนวทางดังกล่าวมาพร้อมรายการตรวจสอบและกรอบการทำงานที่ครอบคลุม ให้บริษัทหรือชุมชนการลงทุนต่าง ๆ นำไปจัดการกับความเสี่ยงทางดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริม "เทคโนโลยีที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" ในยุคปัญญาประดิษฐ์
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการนำปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ และเทคโนโลยีเกิดใหม่อื่น ๆ มาใช้อย่างแพร่หลาย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลครั้งใหญ่ของบริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายอันเป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิทัล ในขณะที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) และกรอบ ESG ที่มีอยู่นั้นมุ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศเป็นหลัก แต่ข้อกังวลในเรื่องดิจิทัลยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ ช่องโหว่นี้ทำให้ธุรกิจที่มีแนวโน้มสร้างผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมดิจิทัลหรือส่งผลกระทบด้านลบไปแล้ว หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบด้าน ESG ได้ โดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงต่อพอร์ตการลงทุนหรือชื่อเสียงของตน การนำองค์ประกอบด้านดิจิทัลและ ESG มารวมไว้กับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการควบคุมศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวกับการปกป้องพลเมือง โลกดิจิทัลและโลกจริง และสังคมโลก
บัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 แสดงความคิดเห็นว่า "ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการบรรลุความยั่งยืน และจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบในแง่สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) องค์ประกอบทางดิจิทัลจำเป็นต้องรวมอยู่ในหลักการ ESG ในขณะที่เราปรับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา ขณะที่ทั่วโลกพยายามช่วงชิงอิทธิพลในด้านปัญญาประดิษฐ์ เราจำเป็นต้องขยายกรอบ ESG ที่มีอยู่เดิมให้ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ในกิจกรรมทางดิจิทัลของภาคธุรกิจ เช่น ความเสมอภาคทางดิจิทัล ทักษะดิจิทัล ความปลอดภัยและความมั่นคงดิจิทัล สิทธิดิจิทัล และอื่น ๆ"
สถาบันดีคิวตระหนักถึงความท้าทายเหล่านี้ จึงขอเน้นย้ำความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น ความคิดริเริ่มด้านเทคโนโลยีที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านเศรษฐกิจแบบข้าม การพัฒนาทุนมนุษย์ดิจิทัล ความเสมอภาคทางดิจิทัล ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความปลอดภัยของข้อมูลและความน่าเชื่อถือของระบบ สิทธิและจริยธรรมดิจิทัล รวมถึงการสื่อสารดิจิทัลและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ดร. ยูฮยอน ปาร์ค ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว กล่าวแสดงความกระตือรือร้นว่า "เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในการเปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล ที่งานอันทรงคุณค่าโดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมมากมาย เรามีเป้าหมายเพื่อมอบเครื่องมือและคำแนะนำที่นำไปปฏิบัติได้จริงแก่ผู้นำอุตสาหกรรม ซึ่งจะเข้ามาช่วยบริษัทต่าง ๆ ที่พยายามนำปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ องค์ประกอบด้านดิจิทัลและ ESG ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้อย่างโปร่งใส มีความรับผิดชอบ และมีมาตรฐานทางจริยธรรม องค์ประกอบด้านดิจิทัลและ ESG ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เพิ่มศักยภาพและทรัพยากรได้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ลดอันตรายและอิทธิพลครอบงำให้เหลือน้อยที่สุด"
นอกจากนี้ สถาบันดีคิวยังได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล (Taskforce on Digital-related Financial Disclosure หรือ TDFD) ขึ้น ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่มีสมาชิกเป็นองค์กรและบุคคลจากภาคส่วน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน บริษัท และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสนับสนุนองค์กรในการนำเป้าหมายด้านดิจิทัลและ ESG ไปใช้ บูรณาการ และรายงาน ซึ่งนอกเหนือไปจากกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง และเป็นรากฐานสำหรับรูปแบบธุรกิจ การดำเนินงาน และการจัดการที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ ซึ่งช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ในขณะที่เพิ่มผลกำไรสูงสุดโดยอาศัยกิจกรรมทางดิจิทัลได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล และมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล ได้ที่ https://tdfd-global.org
สถาบันดีคิว
สถาบันดีคิว (DQ Institute หรือ DQI) เป็นองค์กรมันสมองระดับนานาชาติ โดยอุทิศตนเพื่อกำหนดมาตรฐานระดับโลกในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และรับรองความปลอดภัย การสนับสนุน และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับบุคคล องค์กร และประเทศต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล โดยได้วางกรอบดีคิวซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานระดับโลกในการประเมินความรู้ ทักษะ และความพร้อมด้านดิจิทัล (IEEE 3527.1TM) ทั้งนี้ สถาบันดีคิวเป็นองค์กรตามมาตรา 501(c)(3) ในสหรัฐอเมริกา และเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสิงคโปร์
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dqinstitute.org
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2159742/DQ_Institute_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2159743/DQ_Institute_2.jpg
ติดต่อ
เอริส เซียห์ (Eris Seah)
อีเมล: [email protected]
โทร: +65 9818 7704
เอ็กซ์เผิง ผู้นำธุรกิจไฮ-เทคสมาร์ทโมบิลิตี้ เปิดตัวกลยุทธ์ AI Tech Tree หรือโครงข่ายการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แบบต่างๆ ที่ผ่านการอัปเกรดใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับ การเดินทางในอนาคต ผ่านการหลอมรวมเทคโนโลยี AI การบริหารพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และปัญญาประดิษฐ์ที่ฝังอยู่ในตัว รวมถึงการกำหนดรากฐานระบบนิเวศในอนาคต สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ และพาหนะบินได้ มร. เหอ เสี่ยวเผิง ประธานและซีอีโอของ เอ็กซ์เผิง กล่าวว่า "ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งคลื่นแห่งความก้าวหน้านี้ได้ ปัจจุบัน AI
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินให้ลูกค้ามีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
—
ทีเอ็มบีธนช...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU จับมือ BDI เปิดหลักสูตร 'Intermediate Data Science' รุ่น 1 อัปสกิลสู่มืออาชีพด้านวิเคราะห์ข้อมูล
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาล...
PathSense นวัตกรรม AI เพื่อผู้พิการทางสายตาจากนักศึกษา CMKL คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2025
—
ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากหลักสูตร วศ.บ....