คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดย กลุ่มวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือและต้อนรับคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวก์ (Technical University of Braunschweig) ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาร่วมงานสัมมนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ไทย-เยอรมนี พร้อมศึกษาดูงานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งในกรุงเทพมหานคร และเข้าเยี่ยมสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาการศึกษาและวิจัยด้านวิศวกรรมระบบราง การขนส่ง และโลจิสติกส์
รศ.ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โดยเฉพาะระบบขนส่งทางรางเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ มหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวก์ ประเทศเยอรมนี ได้จัด "งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ไทย -เยอรมนี" ผสานความร่วมมือทางวิชาการและเปิดเวทีเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้มุมมองและถ่ายทอดประสบการณ์องค์ความรู้ รวมทั้งการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะของไทยในมุมมองผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นข้อมูลเชิงลึกด้าน Traffic and Transportation Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวก์ เข้าพบท่านเอกอัครราชทูต H.E. Mr. Georg Schmidt ณ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยได้ร่วมหารือและรายงานการดำเนินงานความร่วมมือของทั้งสองสถาบัน อีกทั้งได้จัดเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และให้ข้อมูลการพัฒนาระบบรถไฟของประเทศไทย
พร้อมทั้งได้นำคณะจากแยอรมนีเดินทางไปศึกษาดูงานระบบขนส่งทางราง 6 จุดหลักของสถานีรถไฟของไทย ซึ่งประกอบด้วย สถานีกรุงเทพ สถานีกลางบางซื่อ จุดเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อ สถานีตลิ่งชัน สถานีธนบุรี และสถานีศาลายา รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สนามบินดอนเมือง และ ทางด่วน MFlow อีกด้วย
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญแม้แต่ทางด้านศิลปะแห่งโลกตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการแสดงในหลากหลายสาขาอย่างเช่น "บัลเล่ต์" (Ballet) ที่ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรพื้นฐาน เพื่อการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วโลก ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีโอกาสร่วมวิจัยกับนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโตรอน
ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร
—
จากความสำเร็จที่ได้ออกแบบระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นับตั้งแต่ช่วงวิก...
วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ "จดจำ" อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โ...
วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พัฒนาเยาวชน การศึกษา และการวิจัย
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์...
ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ
—
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...
ม.มหิดลแนะโลจิสติกส์สีเขียว สร้างได้ไม่เพิ่มต้นทุน เสริมเศรษฐกิจชาติยั่งยืน
—
ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างกว้างขวา...
7 ก.ย. วิศวะมหิดล จัดเวิร์กชอปเพื่อเยาวชน "เตรียม Port(folio)แบบตัวตึง สอบสัมภาษณ์แบบถึงใจ"
—
ข่าวดีสำหรับเยาวชนนักเรียน ในการเตรียมตัวศึกษาต่อสู่อนาคตที่...
วิศวะมหิดล เชื่อมต่อองค์ความรู้...สู่มัธยมศึกษา กับเครือ ร.ร.เทพศิรินทร์ และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การนำของ รศ. ด...
วิศวะมหิดล เดินหน้าพัฒนา 'วิศวศึกษายุคใหม่' ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นและไต้หวัน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความร่วมมือกับ มห...