"บูสต์" บริษัทฟินเทคครบวงจรในเครือเอเซียต้า ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับ MSME ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นประเด็นขัดแย้งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) มาช้านาน โดยในประเทศมาเลเซียนั้น มีรายงานว่าธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาทางการเงินบางประการ เช่น การขอหลักประกันที่สูงขึ้นจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม (58.8%) และความล่าช้าในการอนุมัติสินเชื่อหรือการเบิกจ่าย (23.5%) [วิสาหกิจขนาดกลาง] ขณะที่อินโดนีเซียเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากธุรกิจ 5วิสาหกิจขนาดกลาง% เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (unbanked) และ 26% เข้าถึงบริการได้เพียงบางอย่าง (underbanked) [2]

"บูสต์" บริษัทฟินเทคครบวงจรในเครือเอเซียต้า ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับ MSME ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นถึงช่องว่างขนาดใหญ่ของบรรดาธุรกิจขนาดเล็กที่ด้อยโอกาสทางการเงินและไม่สามารถใช้บริการทางการเงินตามระบบปกติได้ ซึ่งหากแก้ไขปัญหานี้ก็อาจช่วยเพิ่ม GDP ให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศได้ถึงกว่า 30%[3] และนี่เองคือจุดที่ฟินเทคเข้ามาเพื่ออุดช่องว่างทางการเงินโดยทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงโซลูชันทางการเงินได้

หนึ่งในบริษัทฟินเทคจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้นำการผสานรวมบริการทางการเงินคือ บูสต์ (Boost) ธุรกิจฟินเทคครบวงจรระดับภูมิภาคของเอเซียต้า (Axiata) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งเป็นข่าวใหญ่จากการที่บูสต์และพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง อาร์เอชบี (RHB) กลายเป็นหนึ่งในห้าหน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลจากธนาคารกลางมาเลเซีย

จากกรณีศึกษาอุตสาหกรรมธนาคารดิจิทัลทั่วโลก[4] พบว่า ธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะเปิดตัวของบูสต์นั้นถือเป็นผู้นำระดับแนวหน้า เนื่องจากข้อได้เปรียบที่โดดเด่นในฐานะธุรกิจฟินเทคที่มีระบบนิเวศที่ครอบคลุม และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับขนาดการดำเนินงานได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของธนาคารดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ

บูสต์มีผลงานเป็นที่ยอมรับว่าช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ใช้และผู้ค้าหลายล้านรายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2560 ด้วยระบบนิเวศฟินเทคแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่แอปฟินเทคแบบครบในหนึ่งเดียว โซลูชันสำหรับผู้ค้า ไปจนถึงธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI และแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามพรมแดน

นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงช่วงต้นปี 2566 ธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI ของบูสต์ จัดหาเงินทุนให้แก่ MSME ทั่วมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมแล้วเป็นมูลค่ากว่า 2.8 พันล้านริงกิต แม้ว่าผลการศึกษาก่อนหน้านี้จะประเมินว่า เกือบครึ่งหนึ่งของลูกค้าของบูสต์ไม่เคยขอสินเชื่อมาก่อน แต่บูสต์ยังคงสามารถรักษาอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับตัวเลขหลักเดียว และมีอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำสำหรับการจัดหาเงินทุนระยะสั้นที่ประมาณ 90% ในทั้งสองประเทศ

ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้ด้วยระบบนิเวศและเทคโนโลยีฟินเทคแบบองค์รวมของบูสต์ ซึ่งรวมโซลูชันการเงินดิจิทัลไว้ภายในเส้นทางการทำธุรกรรมและวงจรการซื้อของธุรกิจต่าง ๆ ด้วยโซลูชันไมโครไฟแนนซ์แบบดิจิทัลของบูสต์ เหล่า MSME จึงสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านแอปพลิเคชันดิจิทัลง่าย ๆ เพียง 5 นาที พร้อมการเบิกจ่ายเงินภายใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับอนุมัติ

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้จึงไม่น่าแปลกใจที่บูสต์ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลในมาเลเซีย และบัดนี้ทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่บูสต์ ซึ่งกำลังจะเปิดตัวธนาคารดิจิทัลที่ผู้ค้าและผู้ใช้ต่างตั้งตารอคอยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

[1] https://smecorp.gov.my/images/pdf/2021/LTPKS/BI/Economic%20Report/4.%20Economic%20Performance%20&%20Outlook%202019_20%20-%20Box%20Article.pdf
[2] https://theasianbanker.com/finance-indonesia-2022/
[3] https://www.adb.org/sites/default/files/publication/222061/financial-inclusion-se-asia.pdf   
[4] https://www.bcg.com/publications/2021/digital-banking-asia-pacific  

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2102669/Boost.jpg
คำบรรยายภาพ - บูสต์ ธุรกิจฟินเทคครบวงจรระดับภูมิภาคของเอเซียต้า เดินหน้าอุดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านระบบนิเวศแบบองค์รวมของบริษัท


ข่าวสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม+วิสาหกิจขนาดกลางวันนี้

"บูสต์" บริษัทฟินเทคครบวงจรในเครือเอเซียต้า ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับ MSME ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นประเด็นขัดแย้งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) มาช้านาน โดยในประเทศมาเลเซียนั้น มีรายงานว่าธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาทางการเงินบางประการ เช่น การขอหลักประกันที่สูงขึ้นจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม (58.8%) และความล่าช้าในการอนุมัติสินเชื่อหรือการเบิกจ่าย (23.5%) [1] ขณะที่อินโดนีเซียเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากธุรกิจ 51% เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (unbanked) และ 26% เข้าถึงบริการได้เพียงบางอย่าง (underbanked) [2] ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ให้

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่... สสว. จัดงาน "ปลดล็อคความสำเร็จ SME" ปี 2568 — สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะจัดงานเผยแพร่นโยบาย/โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่ง...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคา... SME D Bank ลุยโครงการเติมความรู้บัญชีภาษี ปูทางพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 3%ต่อปี — นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนา...

"พาณิชย์" คิกออฟโครงการ "Trademark Monitor" เดินหน้าปกป้องแบรนด์ไทย ขยายโอกาสในเวทีโลก

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดตัวโครงการ Trademark Monitor เฝ้าระวังการนำเครื่องหมายการค้าของคนไทยไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยไม่สุจริต มุ่งปกป้องสิทธิ SME ไทย และสร้างความมั่นใจ...

ฟินโทเนียคว้าใบอนุญาตยกระดับเป็นผู้ให้บริการตลาดทุน มุ่งนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนความต้องการในการร่วมมือจากสถาบันการเงินดั้งเดิมและสถาบันคริปโทฯ

ฟินโทเนีย กรุ๊ป (Fintonia Group) หรือฟินโทเนีย สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมุ่งให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลและคริปโทฯ ได้รับ...

LJZ Capital จัดการประชุม "LJZ Branding Strategy and Financing Conference" ที่เซี่ยงไฮ้

"LJZ Branding Strategy and Financing Conference" ได้จัดขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 โดย LJZ Capital บริษัทด้านการจัดการลงทุนชั้นนำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินสกุลเงินคริปโต...