ผลิตภัณฑ์โอทีเอเมติกและเซิร์ฟเวอร์การเซ็นโค้ดผสานรวมกันเพื่อให้ผู้ผลิตยานยนต์มีโซลูชันแบบเบ็ดเสร็จสำหรับการใช้งานกรอบการรักษาความปลอดภัยอัปเทน
แอร์บิควิตี้ (Airbiquity(R)) ผู้นำระดับโลกด้านบริการสำหรับยานยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ประกาศว่าได้ผนึกกำลังกับแบล็กเบอร์รี (BlackBerry(R)) ผู้ให้บริการโซลูชันการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยเชื่อถือได้ เพื่อช่วยผู้ผลิตรถยนต์ในการอัปเดตยานยนต์แบบไร้สาย (over-the-air หรือ OTA) ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรม ด้วยการรวมแพลตฟอร์มการจัดการซอฟต์แวร์โอทีเอเมติก (OTAmatic(R)) ของแอร์บิควิตี้ เข้ากับเซิร์ฟเวอร์การจัดการคีย์การเซ็นโค้ดเซอร์ติคอม (Certicom) ของแบล็กเบอร์รี โรงงานรับจ้างผลิต (OEM) จึงสามารถนำกรอบการรักษาความปลอดภัยอัปเทน (Uptane Security Framework) มาใช้ได้อย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทยังจัดการกับความท้าทายด้านความปลอดภัย OTA ต่าง ๆ เช่น การปลอมแปลง, การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การแก้ไขข้อมูลโดยประสงค์ร้าย, การปฏิเสธ, การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle, การลอบยกระดับสิทธิ์ และการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (DDOS) ปัญหาเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากยานพาหนะต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์มากขึ้น
คุณคีฟ เหลียง (Keefe Leung) รองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ของแอร์บิควิตี้ กล่าวว่า "การเป็นพันธมิตรกับแบล็กเบอร์รีถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในภารกิจของแอร์บิควิตี้ในการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของยานพาหนะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แบล็กเบอร์รี เซอร์ติคอม เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในด้านการเข้ารหัสประยุกต์และการจัดการคีย์ และซอฟต์แวร์ที่ผสานรวมไว้แล้วของเรานำเสนอโซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับ OEM ยานยนต์ เพื่อช่วยลดแรงและต้นทุนในการส่งมอบการอัปเดต OTA ที่ปลอดภัย มั่นคง ทันเวลา"
แพลตฟอร์มการจัดการซอฟต์แวร์โอทีเอเมติกของแอร์บิควิตี้นำเสนอพอร์ทัลการจัดการแบ็กเอนด์แบบครบวงจรสำหรับ OEM ยานยนต์ ช่วยให้สามารถดำเนินแคมเปญการอัปเดตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ใน ECU ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มโอทีเอเมติกให้การกำหนดเป้าหมายที่แม่นยำสำหรับยานพาหนะและอุปกรณ์ พร้อมด้วยนโยบายและการควบคุมความเป็นส่วนตัวแบบแยกส่วน การสื่อสารถึงผู้บริโภคที่ปรับแต่งได้ ตัวเลือกการปรับใช้โซลูชันที่ยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังผสานรวมกรอบการรักษาความปลอดภัยอัปเทน ซึ่งปรับปรุงการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบหลายชั้นที่ป้องกันช่องโหว่ได้
คุณจิม อัลเฟรด (Jim Alfred) รองประธานแบล็กเบอร์รี เซอร์ติคอม กล่าวว่า "ประสบการณ์ตลอดหลายทศวรรษของแอร์บิควิตี้ในบริการรถยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความร่วมมือของเรา และเราร่วมกันนำเสนอโซลูชันแบบผสานรวมไว้แล้วสำหรับ OEM ยานยนต์ ด้วยการรวมความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน ทำให้ OEM ยานยนต์สามารถนำกรอบการรักษาความปลอดภัยอัปเทนมาใช้ได้อย่างมั่นใจ รับประกันความมั่นคงปลอดภัยระดับสูงสุดสำหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบูรณาการครั้งใหม่ได้ที่ https://www.airbiquity.com/technology-integrations/blackberry-certicom
เกี่ยวกับแอร์บิควิตี้
แอร์บิควิตี้ (Airbiquity(R)) เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการสำหรับยานยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาและวิศวกรรมเทคโนโลยีเทเลเมติกส์สำหรับยานยนต์ บริษัทยืนอยู่แถวหน้าในวงการนวัตกรรมยานยนต์เสมอมา โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สำหรับยานยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและบริการคลาวด์ที่ก้าวล้ำที่สุดในอุตสาหกรรม การทำงานร่วมกับแอร์บิควิตี้ช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์และผู้จัดหาชิ้นส่วนยานยนต์สามารถเข้าถึงโปรแกรมการบริการยานยนต์เชื่อมต่อที่มีความยืดหยุ่นสูง บริหารจัดการได้ง่าย และมีความปลอดภัยสำหรับยานยนต์หลายล้านคันในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.airbiquity.com หรือร่วมพูดคุยได้ที่ @Airbiquity
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
ฟรานเซส บิกลีย์ (Frances Bigley)
อีเมล: [email protected]
เครื่องหมายการค้าซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง BlackBerry(R) และ Certicom(R) เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท แบล็กเบอร์รี จำกัด (BlackBerry Limited) และสงวนสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยชัดแจ้ง Airbiquity(R), OTAmatic(R) และโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท แอร์บิควิตี้ จำกัด (Airbiquity Inc.) แบล็กเบอร์รีไม่รับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของบุคคลที่สามใด ๆ
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/177305/airbiquity_logo.jpg
ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System DNS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยจะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมน เช่น www.abc.com ให้เป็น IP Address เช่น 122.950.34.138 ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย DNS นั้น เปรียบเหมือนสมุดโทรศัพท์ ในขณะที่ IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า DNS จะเป็นระบบที่สำคัญและถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่การรักษาความปลอดภัยของระบบก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซ
5 ประโยชน์ของ CCTV ในการรักษาความปลอดภัย ร่วมกับความเร็วและเสถียรของเน็ตบ้าน True Gigatex Fiber
—
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเนื้อหา...
INET เซ็นเอ็มโอยูพัฒนา Platform ให้กับสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
—
คุณมรกต กุลธรรมโยธิน (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไ...
ยูจีน แคสเปอร์สกี้ เน้นความสำคัญของ Cyber Immunity ในการประชุม สกมช.
—
จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เช่นเดียวกับความสน...
รายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ปี 2568 เผยว่าเหตุการณ์ภัยไซเบอร์เกือบ 44% เกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์
—
พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ก...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
มั่นใจทุกมิติ! ไอคอนสยามผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ เตรียมพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มข้นรับสงกรานต์ 2025 สร้างความเชื่อมั่นสูงสุดแก่ผู้มาร่วมงาน
—
ไอคอนสยาม ร...
สายสีแดง เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มมาตรการในด้านการรักษาความปลอดภัยอย...
เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) คว้ารางวัล National Distributor Award จาก Hikvision
—
บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติรับรางวัล Na...