เครือซีพีพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง ผนึกกำลังทุกภาคส่วนปกป้องฟื้นฟูป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน ร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคเหนือ

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลอดมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทั้งการร่วมขับเคลื่อนพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ควบคู่กับการมุ่งดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดยด้านสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และมุ่งสู่การลดขยะเป็นศูนย์ ภายในปี ก๊าซเรือนกระจกเครือเจริญโภคภัณฑ์3เครือเจริญโภคภัณฑ์ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ก๊าซเรือนกระจกเครือเจริญโภคภัณฑ์5เครือเจริญโภคภัณฑ์

เครือซีพีพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง ผนึกกำลังทุกภาคส่วนปกป้องฟื้นฟูป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน ร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคเหนือ

จากปัญหาในพื้นที่ภาคเหนือที่เผชิญกับความท้าทายเรื่องการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ และปัญหาหมอกควันไฟป่าในฤดูร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่พบจุดความร้อน (Hotspot) และหมอกควันมากที่สุด ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เพื่อลดหมอกควันไฟป่าที่เกิดขึ้น เครือซีพีพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง ผนึกกำลังทุกภาคส่วนปกป้องฟื้นฟูป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน ร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคเหนือ

เครือซีพี จึงได้เข้าไปขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2559 - ปัจจุบัน ในพื้นที่ 4 ต้นน้ำภาคเหนือ ปิง วัง ยม น่าน ในการพลิกฟื้นป่า แก้ปัญหาภูเขาหัวโล้น หมอกควันไฟป่า ส่งเสริมปลูกกาแฟทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยในพื้นที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพราะต้องอาศัยน้ำในช่วงฤดูฝนชาวบ้านอยากปรับเปลี่ยนอาชีพแต่ไม่รู้จะทำอะไรจึงเป็นโจทย์ที่ท้าท้ายของเครือซีพี ที่ต้องสร้างอาชีพควบคู่กับการฟื้นฟูป่าได้ผนึกกำลังทุกภาคส่วนสนับสนุนเกษตรกรปลูก "กาแฟ" ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง เหมาะสมกับพื้นที่สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ นอกจากนั้น ต่อยอดเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชน

โดยนำร่องเข้าไปพัฒนาในพื้นที่หมู่บ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผ่า จ.น่าน ต้นแบบฟื้นป่าภาคเหนือที่นำร่องสู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ในการปรับเปลี่ยนวิถีจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่การปลูกกาแฟสร้างป่า สร้างรายได้ ปัจจุบันสามารถฟื้นฟูผืนป่ากลับมาได้กว่า 2,100 ไร่ เกิดวิสาหกิจชุมชนสร้างป่า สร้างรายได้บ้านสบขุ่น สนับสนุนโรงแปรรูปกาแฟ และมีแบรนด์กาแฟบ้านสบขุ่น ภายใต้การเรียนรู้การจัดการอย่างเป็นระบบมุ่งสู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social enterprise) และกำลังผลักดันสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต นอกจากนี้เครือฯ ยังให้ความสำคัญด้านการลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร สนับสนุนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนใน 'โครงการปุ๋ยอินทรีย์บ้านดอนไชยป่าแขม' ต.ออย อ.ปง .พะเยา ด้วยแนวคิดการลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยและหันมากำจัดเศษวัสดุทางการเกษตรแบบระบบหมุนเวียน สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้แล้วกว่า 62,975 กิโลกรัม อีกทั้งเครือฯ ยังคงมุ่งมั่นผลักดันธุรกิจชุมชนสู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น 'วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านเลาสู' อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง จากชาวบ้านเมี่ยนและอาข่าที่ปลูกกาแฟเป็นทุนเดิม สู่การพัฒนาสร้างอาชีพ สร้างรายได้ กลายเป็นวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง พร้อมใจขับเคลื่อนปลูกกาแฟเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ

การขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคการศึกษา ฯลฯ เครือซีพีจึงได้ก่อตั้ง สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ ขึ้น ณ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เพื่อร่วมสร้างสรรค์คุณค่า สู่การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างสมดุลให้เมืองน่านน่าอยู่ คู่ป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากนี้ พื้นที่ที่พบหมอกควันไฟป่ามากที่สุด และต้องเร่งเข้าไปดำเนินงาน คือ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยนำร่องที่ชุมชนบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ใช้โมเดล "กาแฟสร้างป่า" ที่ขยายต่อยอดจากพื้นที่บ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จ.น่าน ผ่านโครงการ "ศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย" และขยายผลไปชุมชนใกล้เคียงบ้านแม่วาก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ โดยมีเป้าหมายหลักคือการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม โดยตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ที่เครือซีพี เข้าไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อาทิ กรมป่าไม้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ มูลนิธิฮักเมืองแจ๋ม สถาบันอ้อผะหญา มูลนิธิไทยรักษ์ป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และชุมชนในเครือข่าย "แม่แจ่มโมเดล" ในการส่งเสริมองค์ความรู้ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในการปลูกกาแฟสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเกิดเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตอบโจทย์อาชีพทางเลือกใหม่ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ เครือซีพียังสนับสนุนการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว และพืชมูลค่าสูง ที่สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 4 ต้นน้ำภาคเหนือ ปิง วัง ยม น่าน อย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งไม้ป่าและไม้สี อาทิ พยุง จามจุรี ยางนา สัก ไผ่ พญาเสือโคร่ง ราชพฤกษ์ ไม้ผลเมืองหนาว อาทิ แมคคาเดเมีย พลับ อะโวคาโด กล้วย รวมถึงพืชมูลค่าสูงอย่างกาแฟ และต่อยอดพัฒนาสู่โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Less) โดยได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บได้ จำนวน 10,688.153 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) จากแผนงานที่เครือซีพีเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคการเกษตร โดยปรับเปลี่ยนแนวทางการปลูกพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เครือซีพี ดำเนินงานควบคู่ไปกับการสนับสนุนการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าอย่างต่อเนื่อง อาทิ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าแก่เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวไฟ ศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่า (ส่วนหน้า) ภาคเหนือ กรมป่าไม้ และ ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าภาคเหนือ สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อสนับสนุนภารกิจการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า พร้อมทั้ง การสร้างความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกชองชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยเครือซีพีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตปัญหาหมอกควันไฟป่าได้อย่างยั่งยืน


ข่าวเครือเจริญโภคภัณฑ์+จอมกิตติ ศิริกุลวันนี้

เครือซีพี - ซีพีเอฟ ยกระดับโภชนาการในพื้นที่ห่างไกล เดินหน้า "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน"

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ขับเคลื่อน "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" ต่อเนื่องตลอด 36 ปี มุ่งส่งเสริมโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนพื้นที่ห่างไกล ในโรงเรียนทั่วประเทศ 988 แห่ง ช่วยให้นักเรียนกว่า 223,000 คน ครู 16,500 คน และชุมชน ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน มุ่งเน้นส่งเสริม

พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก... กองทัพบก-ม.แม่ฟ้าหลวง-ซีพี-ซีพีเอฟ ร่วมภารกิจส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วมเชียงราย — พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.มัชฌิมา ...

สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงราย ยังมีน้ำเ... จิตอาสา ซีพี-ซีพีเอฟ รวมพลังลงพื้นที่ส่งมอบอาหารคุณภาพ เสริมทัพโรงครัวพระราชทาน ช่วยชาวเชียงราย — สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงราย ยังมีน้ำเอ่อท่วมในหลายพื...