เมื่อเร็วนี้ ที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park : 88 Sandbox ม.ธรรมศาสตร์ จับมือสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD เปิดตัวโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program) ผนึกกำลังผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ร่วมคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม เพื่อสังคมด้านการศึกษา พร้อมคัดเลือก 20 ทีม (76 คน) จากผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 100 ทีม (237 คน) ตั้งเป้าบ่มเพาะความรู้ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือ กับ OKMD ภายใต้โครงการ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program ในครั้งนี้ว่า เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงความรู้อย่างกว้างขวางและรอบด้าน เพิ่มโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาให้กับประเทศไทย โดยการสร้างและส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการ ศึกษา ที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการศึกษาในสังคมให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ ประกอบการทุกคนที่ต้องการสร้างไอเดีย จากศูนย์สู่ความสำเร็จ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่อง DMii, For Future Education Model ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการเรียนรู้ในยุค "ความรู้อายุสั้น แต่คนอายุยาว" ว่า "หากย้อนกลับไปดูตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าเป็นตำแหน่งงานที่ไม่เคยมีมาในอดีตซึ่งทักษะที่ใช้ในงานเหล่านั้น ได้เปลี่ยนไปหมด มีงานวิจัยบอกว่าความรู้จำนวนหนึ่งจะล้าสมัย, ใช้ไม่ได้และจะหายไปในทุกๆ 18 เดือน แล้วจะมีความรู้ใหม่งอกขึ้นมา ส่งผลให้สิ่งที่เราเรียนรู้ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิต หรืออาจพูดได้ว่าความรู้มีอายุสั้นลงเรื่อยๆ ดังนั้นสถาบันการศึกษา ควรที่จะให้เด็กรีบเรียน เรียนเฉพาะเรื่องที่จำเป็น เพื่อที่จะให้เด็กได้ออกมาหาประสบการณ์จากโลกภายนอกให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันเมื่อเจอกับปัญหาหรือการทำงานที่ไม่เชี่ยวชาญ ก็ต้องทำให้เขากลับมาสถาบันศึกษาได้ง่ายและเร็วที่สุด เพื่อเพิ่มทักษะที่ขาดหายไป โดยที่ไม่ต้องเรียนให้ครบทั้งหลักสูตร หากต้องการปริญญาก็สามารถเก็บสะสมเอาไว้เพื่อให้ครบตามเงื่อนไขของทางสถาบันฯ ซึ่งปริญญาในโลกอนาคตนั้นจะไม่ค่อยมีความหมาย องค์กรสมัยใหม่จะให้ความสำคัญว่าเราทำอะไรได้บ้าง สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับบุคคลต่างเจนเนอเรชั่นได้ไหม"
ทั้งนี้ รศ.ดร.พิภพ เน้นย้ำว่า การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตัวเองในโลกอนาคต หรือที่เรียกว่า DMii นั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วย1) Discover คือต้องหาให้เจอว่าตนเองถนัดหรือเก่งด้านใด 2) Master คือการเดินหน้าพัฒนาทักษะให้มีความเชี่ยวชาญในระดับที่ สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 3) Integrate คือ สามารถบูรณาการ การเรียนรู้ นำสิ่งที่ไม่รู้เข้ามาขยายโลกทัศน์ให้กับตัวเอง 4) Innovate คือการนำความรู้ไปต่อยอดสร้างสิ่งใหม่ๆ หรือมองสถานการณ์เดิมด้วยวิธีการใหม่ขึ้นมา สุดท้ายผมขอขอบ คุณ ศ.ดร.ณภัทร สรอัฑฒ์ คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายเอกชน ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าในการจัดทำโครงการฯ รวมถึง รองศาสตราจารย์ ดร.อัญณิฐา ดิษฐานนท์ วิทยาลัยนวัตกรรม และ ผศ.ดร. อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ที่ได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือมาโดยตลอด"
ด้าน ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ได้เปิดเผยว่า "การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นความมุ่งมั่นของทั้งสองหน่วยงานที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนานวัตกรรมและให้บริการความรู้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพด้านการเรียนรู้และการศึกษา รวมถึงเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสามารถหาแนวทางแก้ปัญหาธุรกิจให้ตอบโจทย์และเข้าสู่ตลาดได้ และที่สำคัญคือสามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาให้กับประเทศไทย รวมทั้งทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ และแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้านการศึกษา ได้อีกด้วย" ผู้อำนวยการ OKMD กล่าว
นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ม.ธรรมศาสตร์ และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ใน "โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา" (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program) และยังมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ Learnovation to Learnlab จากนวัตกรรมการศึกษา สู่พื้นที่แห่งการสร้างโอกาสด้านการศึกษาแห่งอนาคต โดย โตมร ศุขปรีชา Chief Creative Director OKMD, 88 SANDBOX พื้นที่ผลักดันขีดจำกัดการศึกษาไทย ให้มุ่งสู่ Better Life, Better Society, Discover the Future of Education ค้นหา และค้นพบศักยภาพของการศึกษาแห่งอนาคต นำโดย ธเนศ จิระเสวกดิลก, พัฒนพงศ์ รานุรักษ์ และภูมิศาสตร์ รุจีรไพบูลย์ ซึ่งเป็นทีมผู้บริหาร 88 SANDBOX, Discover the Future of Education ส่องอนาคตการศึกษาไทย โลกยุคใหม่ควรเรียนแบบไหน? ร่วมเสวนาโดย ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการ กทม., ผศ.ดร. อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และพัฒนพงศ์ รานุรักษ์ Co-CEO 88 SANDBOX, Innovative Edtech Lab นอกห้องเรียน ที่พาคุณไปทดลอง และทำจริง กับนวัตกรรมการศึกษาแห่งอนาคต, Integrated Education Platform บูรณาการของ 5 องค์กรนวัตกรรมชั้นนำ เชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับนวัตกรรม และ Master from Failure เชี่ยวชาญให้สุด จาก "ความล้มเหลว" แบบเฮียๆ โดย ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน
โดยหลังจากนี้จะเริ่มต้นการบ่มเพาะธุรกิจด้านการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม - 5 ตุลาคม 2566 ในรูปแบบของ 1)Training & Workshop เพื่อพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ รวมถึงการเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาธุรกิจด้านการศึกษาของตนเอง ในกระบวนการจะมี Workshop จากวิทยากรทั้งด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 2)Education Experts เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในระบบนิเวศการศึกษา และ 3)Community Activities เพื่อเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ ช่วยผู้ประกอบการสร้างความสัมพันธ์และทำให้ธุรกิจเติบโต
สำหรับผลงานนวัตกรรมที่เข้ารอบทั้ง 20 ทีม มีความพิเศษและน่าสนใจหลายผลงานด้วยกัน เช่น ผลงาน App Ai ของ กลุ่ม Link Together ที่คิดค้นสร้าง ai Kru Buddy ออกแบบการเรียนการสอนให้กับครู เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องของเวลา และรองรับการขาดแคลนบุคลากร, กลุ่ม Code Venture เป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit