ในวันนี้แพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัลสีเขียว (Green Digital Economy Platform) หรือจีดีอีพี (GDEP) ได้มีการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านนวัตกรรมระดับนานาชาติ การเปิดตัวครั้งนี้ได้รับการรับรองจากดร.มูลโดโก (Moeldoko) เสนาธิการประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอินโดนีเซียและเกาหลีในการผลักดันความยั่งยืน ส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัล และทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลก้าวหน้า แพลตฟอร์มจีดีอีพีนำทีมโดยฮิวแมนเอ็กซ์ (HumanX) ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับโลกที่ส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดยร่วมมือกับมาจูทานิ มูฟเมนต์ (Maju Tani Movement) ในอินโดนีเซีย และสถาบันดีคิว (DQ Institute)
การเปิดตัวครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Republic of Korea Summit) ครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 โดยได้ทำข้อตกลงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวและดิจิทัล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมทั้งความเป็นกลางทางคาร์บอนในภูมิภาค
จีดีอีพีเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือทางธุรกิจที่ประสานเศรษฐกิจดิจิทัลและความยั่งยืน โดยบุกเบิกโมเดล "ข้ามระบบเศรษฐกิจ" ซึ่งขยายไปไกลกว่ากรอบการทำงานของ "เศรษฐกิจหมุนเวียน" แบบดั้งเดิม จีดีอีพีใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเกาหลี ตลาดและทรัพยากรที่มากมายของอินโดนีเซีย ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาและการลงทุนระดับโลก จึงพร้อมที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงได้ทั่วทั้งเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ และการซื้อขายคาร์บอน ผลกระทบหลายแง่มุมต่อเศรษฐกิจดิจิทัลและความยั่งยืนจะได้รับการติดตามผ่านดัชนีดิจิทัล-การวัดความยั่งยืน (Digital-ESG Index) ซึ่งนำโดยคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล (Taskforce on Digital-Related Financial Disclosure)
ดร.มูลโดโก กล่าวว่า "เราตั้งเป้าหมายที่จะเสริมศักยภาพเกษตรกรอินโดนีเซีย 62 ล้านคนด้วยเอไอและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลผ่านจีดีอีพี โดยจะทำให้อินโดนีเซียเป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตร" เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของความยั่งยืนและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับความมั่นคงทางอาหาร เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.มูลโดโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสมาคมเกษตรกรอินโดนีเซีย (Indonesian Farmers' Association หรือ HKTI) ได้กลายมาเป็น "บิดาแห่งมาจูทานิ มูฟเมนต์ ของอินโดนีเซีย" ซึ่งเป็นขบวนการระดับรากหญ้าที่นำโดยคนรุ่นใหม่ในอินโดนีเซียนี้ มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมให้เป็นภาคเทคโนโลยีการเกษตรที่ทำกำไรได้สูง
แพลตฟอร์มดังกล่าวกำหนดให้จังหวัดกาลีมันตันเหนือในประเทศอินโดนีเซียเป็นพื้นที่ทดสอบ โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ระดับชาติและระดับโลก แพลตฟอร์มจีดีอีพีจะช่วยให้เกษตรกรจะได้รับความรู้ทางดิจิทัลและการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็เข้าถึงแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย รวมถึงการทำเมตาฟาร์ม (meta-farming) ด้วย
ดร.ยูฮยอน ปาร์ก (Yuhyun Park) ผู้ก่อตั้งฮิวแมนเอ็กซ์และสถาบันดีคิว กล่าวว่า "วัตถุประสงค์ของเราคือการสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือเชิงนวัตกรรม ที่ช่วยให้เกษตรกรชาวอินโดนีเซียได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญถึงสามเท่า โดยบูรณาการดิจิทัลและการมีส่วนร่วมในการซื้อขายคาร์บอน ซึ่งทำให้แหล่งรายได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก"
ดร.คิม ซัง-ฮยับ (Kim Sang-Hyup) ประธานคณะกรรมาธิการประธานาธิบดีว่าด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอนและการเติบโตสีเขียว (Carbon Neutrality and Green Growth) ซึ่งเป็นประธานร่วมกับนายฮัน ดัก-ซู (Han Duck-Soo) นายกรัฐมนตรีของเกาหลี กล่าวว่า "อินโดนีเซียเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของเกาหลี ในขณะที่เราเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของความร่วมมือทางการทูต ทั้งสองประเทศจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันแสวงหาความเป็นกลางทางคาร์บอนและนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้จึงมีความหมายที่สำคัญ"
แพลตฟอร์มจีดีอีพีจะมีส่วนร่วมกับเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องหลายรายในทั้งสองประเทศ เพื่อทำวิสัยทัศน์ให้กลายเป็นความจริง ส่งเสริมภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการคิดค้นนวัตกรรมและผลักดันการเติบโตที่ยั่งยืน การลงทุนในแพลตฟอร์มนี้คาดว่าจะเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สื่อมวลชนติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เอริส เซียห์ (Ms Eris Seah)
เกี่ยวกับแพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัลสีเขียว (จีดีอีพี)
จีดีอีพีมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เชื่อมโยงธุรกิจของเกาหลีกับอินโดนีเซีย รวมถึงพันธมิตรและนักลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศ ภารกิจหลักคือการส่งเสริมความยั่งยืน ส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัล และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยยึดหลัก 3 ประการต่อไปนี้
เกี่ยวกับฮิวแมนเอ็กซ์
ฮิวแมนเอ็กซ์ (HumanX) คือความร่วมมือระดับโลกของชุมชนนักวิชาการ ธุรกิจ และการลงทุน ซึ่งมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเอไอและเทคโนโลยีที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ริเริ่มโดยสถาบันดีคิว (DQ Institute) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิวัติภูมิทัศน์ระดับโลกของการคิดค้นนวัตกรรมและลงทุนด้านเอไอและเทคโนโลยี โดยเป็นไปตามหลักการของมาตรฐานดิจิทัล-การวัดความยั่งยืน (DESG) ฮิวแมนเอ็กซ์ปลูกฝังระบบนิเวศที่แข็งแกร่งโดยส่งเสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างนักลงทุน นวัตกร และพาร์ทเนอร์ผ่านหลักการ 3 ประการ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐาน การลงทุนในกองทุน และการติดตามผลกระทบ
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://humanx.global/; https://www.dqinstitute.org/
เกี่ยวกับมาจูทานิ มูฟเมนต์
มาจูทานิ มูฟเมนต์ (Maju Tani Movement) เป็นขบวนการระดับรากหญ้า เพื่อเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมด้วยระบบดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความยั่งยืน มาจูทานิ มูฟเมนต์ ได้เสนอแนวคิดการทำเมตาฟาร์ม ที่ทุกคนเป็นเกษตรกรได้แม้ไม่มีที่ดิน ผ่านการเชื่อมต่อการทำฟาร์มด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล วัตถุประสงค์หลักของมาจูทานิ มูฟเมนต์ คือการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นเกษตรกรไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร
ข้อมูลเพิ่มเติม: www.MajuTani.id แชทตลอด 24 ชั่วโมง: +62 811-1062-007
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2209661/DQ_Institute.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit