คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ในหัวข้อ "ผลกระทบที่ซับซ้อนของตัวแปรในจีโนมที่มีต่อระดับไขมันและโรคหลอดเลือดหัวใจ"
ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการค้นหาตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับความแปรผันเชิงปริมาณ และสมมติฐานที่ว่าตัวแปรเหล่านั้นต้องทำปฏิกิริยากันเองหรือกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL cholesterol) หรือ ไขมันเลว มีส่วนโดยตรงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สิ่งแวดล้อมและจีโนมต่างมีอิทธิพลต่อการเกิดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด โดยอิทธิพลดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกัน ยกตัวอย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นพาหะนำตัวแปรในจีโนมที่ทำให้การเผาผลาญแอลกอฮอล์ช้าลง กลับได้รับการปกป้องจากผลกระทบเชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อหัวใจและหลอดเลือด ส่วนผู้ที่เป็นพาหะนำตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับไขมันในตับ มีความเสี่ยงที่จะมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้นเมื่อบริโภคปลาที่มีไขมัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่าตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองนั้น ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอล โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โฮโมไซโกตของแอลลีล APOE2 ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มว่าจะมีคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในระดับสูงพอ ๆ กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ แต่มีอนุภาคนำคอเลสเตอรอล (ApoB) น้อยกว่ามาก ขณะเดียวกัน โฮโมไซโกตเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจพอ ๆ กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ ซึ่งบ่งชี้ว่าปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรค ไม่ใช่จำนวนอนุภาคนำคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี นอกจากนี้ ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่า ภาวะการหลั่งหมู่เลือดมีอิทธิพลต่อระดับคอเลสเตอรอลและความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่ได้อยู่ในหมู่เลือด A1 แต่ไม่มีอิทธิพลต่อผู้ที่อยู่ในหมู่เลือด A1
ตัวอย่างเหล่านี้เน้นย้ำถึงวิธีการอันซับซ้อนและน่าทึ่ง ซึ่งจีโนมและสิ่งแวดล้อมทำปฏิกิริยากันและส่งผลต่อสุขภาพ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีแบบจำลองที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจพันธุศาสตร์ของโรคในมนุษย์อย่างรอบด้าน
บริษัท ดีโค้ด ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านการวิเคราะห์และทำความเข้าใจจีโนมมนุษย์ บริษัทอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและข้อมูลประชากรจนค้นพบปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของโรคที่พบบ่อยหลายสิบโรค จุดประสงค์ของการทำความเข้าใจพันธุศาสตร์ของโรคก็คือ การใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างสรรค์วิธีการใหม่ในการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค ทั้งนี้ ดีโค้ดเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (NASDAQ:AMGN)
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
ธอรา คริสติน อัสเกียร์ดอตตีร์ (Thora Kristin Asgeirsdottir)
อีเมล: [email protected]
โทร: 00354 894 1909
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2208437/deCODE_genetics.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2208436/deCODE_genetics_Amgen_Logo.jpg
คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ในหัวข้อ "ผลกระทบที่ซับซ้อนของตัวแปรในจีโนมที่มีต่อระดับไขมันและโรคหลอดเลือดหัวใจ" ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการค้นหาตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับความแปรผันเชิงปริมาณ และสมมติฐานที่ว่าตัวแปรเหล่านั้นต้องทำปฏิกิริยากันเองหรือกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่
โรงพยาบาลหัวเฉียวดูแลหัวใจผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมทั่วประเทศ ด้วยการรักษา 7 หัตถการโรคหัวใจและหลอดเลือด
—
โรงพยาบาลหัวเฉียว ได้รับความไว้วางใจจากสำนักง...
โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้
—
"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...
ขอเชิญชวนพยาบาลและบุคลากรสุขภาพเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ECG Interpretation and Nursing Care
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพยาบาลและบ...
"OPEN BOX for OPEN HEART" คอนเสิร์ตแห่งการให้ รวมพลังศิลปินช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ 200 ราย
—
เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสมควรได้รับโอกาสให้หั...
อาหารที่ดีต่อหัวใจ
—
เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...
โรคหัวใจที่คนวัยทำงาน.. ควรใส่ใจ
—
นพ.ธนาภูมิ พงษ์กิจพิศาล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ อนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจและหลอด...
กลับมาอีกครั้ง กับ "คาราวาน ตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน" 16-17 ก.พ. ที่พาราไดซ์ เพลส
—
สุขภาพดีไม่มีขาย! พาราไดซ์ เพลส ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมกับ กรุ...