กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมภาคเอกชนยึดหลักรูปแบบการฝึกของ EEC Model
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:EEC) เป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน เพื่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นโดยเฉพาะตลาดแรงงานในระดับสูง ซึ่งการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีระดับทักษะฝีมือที่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ เร่งดำเนินการพัฒนากำลังแรงงานเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC ดำเนินการแล้ว โดยเฉพาะที่ชลบุรี มีสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางคือ สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ซึ่งหน่วยงานของกรมได้บูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในพันที่ แจ้งความประสงค์เข้าฝึกอบรม มนหลักสูตรที่ภาคเอกชนเป็นผู้กำหนด และร่วมกันกับกรมเพื่อจัดทำหลักสูตรตามความต้องการร่วมกัน แล้วนำมาใช้ฝึกพนักงานของสถานประกอบกิจการในพื้นที่ โดยใช้บุลคลากรที่มีศักยาภาพร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และถ่ายทอดไปยังแรงงาน นอกจากนี้ยังบูรณาการด้านงบประมาณอีกด้วย รูปแบบดังกล่าวเป็นการฝึกแบบมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน เรียกว่า "EEC Model Type B" คือ ภาคเอกชนผู้ใช้บุคลากรในพื้นที่ EEC เป็นผู้กำหนดความต้องการ หลักสูตร รูปแบบการฝึกอบรม เครื่องมือ อุปกรณ์ และคุณสมบัติของผู้เรียนและผู้สอน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมจึงเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการในพื้นที่ EEC เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการพัฒนากำลังคนของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
"หลักสูตรที่ดำเนินการฝึก อาทิ การใช้โปรแกรม Hypermill for 3-AXIS MILLING การบำรุงรักษาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (YASKAWA) และการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระดับพื้นฐาน (KUKA) ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th หัวข้อกำหนดการฝึกอบรม หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 039-276823 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4"อธิบดีบุปผา กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit