ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ 'ตม.อาเซียน DGICM' ครั้งที่ 26 ประชุม ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-11 สิงหาคม ณ โรงแรมอังสนา ลากูน่า จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด "Building Security, Fostering Collaboration and Sustaining the Future" ท่ามกลางความร่วมมือจาก 11 ประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมประเทศติมอร์เลสเต ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนล่าสุดเข้าร่วมสังเกตการณ์ และเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนประเทศออสเตรเลีย และประเทศคู่เจรจา +3 ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมกว่า 500 คน โดยปีนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
สำหรับประเด็นสำคัญในการประชุมหารือ DGICM ครั้งที่ 26 เป็นไปตามหัวข้อสารัตถะสำคัญ ได้แก่
นอกจากนั้น ยังมีเวทีการประชุมกับประเทศคู่เจรจาอีก 2 เวที ได้แก่ การประชุม DGICM กับคู่เจรจาประเทศ ออสเตรเลีย และการประชุม DGICM กับคู่เจรจา + 3 ได้แก่ ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยมีการประชุมเต็มคณะโดยอธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้าฝ่ายกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ
สำหรับผลการประชุมหารือ DGICM สรุปเป็นภาพรวมได้ ดังนี้
พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. เผยว่า "วัตถุประสงค์หลักของการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและทำข้อตกลงในการร่วมมือกันพัฒนาความเข้มแข็งเพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายผ่านแดนของบรรดาอาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง และการค้ามนุษย์ในเขตภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคใกล้เคียง ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการประชุม DGICM ครั้งที่ 26 นับเป็นการประชุมครั้งสำคัญที่ผู้นำตรวจคนเข้าเมืองอาเซียนระดับอธิบดี และผู้นำตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงหัวหน้าฝ่ายกงสุลจากประเทศที่มีบทบาทสำคัญวงล้อมรอบอาเซียนในฐานะคู่เจรจาอื่นๆ จะได้มาร่วมประชุมกัน ซึ่งผลการประชุมหารือในทุกด้าน ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมเป็นต้นมา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งด้านสารัตถะซึ่งปรากฏผลความร่วมมือที่เป็นไปในทิศทางที่ดีโดยมีประเด็นหลักด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอัพเดทข้อมูลการติดต่อหน่วยงานตลอด 24 ชั่วโมง การศึกษาและนำเทคโนโลยีมาใช้"
"เนื่องด้วยงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นเหมือนประตูบ้านที่คอยสกัดกั้นการเดินทางของบุคคลที่เป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ โดยเฉพาะอาชญากรตั้งแต่ระดับการก่อการร้ายไปจนถึงระดับมิจฉาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวเป็นเครือข่ายควบคุมการพัฒนาทางด้านการคมนาคมขนส่งและเทคโนโลยี เข้าลักษณะอาชญากรข้ามชาติ นี่จึงเป็นเวทีสำคัญที่จะหารือเพื่อปัองกันการแพร่ขยายความรุนแรงด้านความมั่นคงและอาชญากรรมระหว่างประเทศให้กับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หวังป็นอย่างยิ่งว่า ข้อตกลงที่ได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน รวมถึงกระชับความสัมพันธ์จะนำมาซึ่งประโยชน์แก่การประสานงานและปฏิบัติภารกิจงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นสากลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไทย" กล่าวทิ้งท้าย
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit