ลาซาด้า กรุ๊ป เผยแพร่รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2566

22 Aug 2023

ลาซาด้า ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผยแพร่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ประจำปี 2566 ในชื่อ "เติมเต็มคุณค่าให้ชีวิต ต่อยอดความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน" (Enriching Lives, Emerging Stronger) ซึ่งรวบรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในการพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก ภายใต้กรอบการทำงานด้าน ESG ที่ประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ

ลาซาด้า กรุ๊ป เผยแพร่รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2566

หลังจากลาซาด้าได้จัดทำบัญชีคาร์บอนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการระบุแหล่งที่มาหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของบริษัทฯ ในปี 2565 ลาซาด้าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมได้ถึง 10% เมื่อเทียบกับกรอบเวลาการรายงานครั้งก่อน

เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า "นับเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษที่ลาซาด้าได้ขับเคลื่อนการเติบโตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการค้าและเทคโนโลยี ผมรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เราสามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ตามที่ได้เผยแพร่ในรายงานด้านผลกระทบ ESG ฉบับที่สองของเรา และผมมั่นใจว่าเราจะสามารถต่อยอดความสำเร็จนี้ไปด้วยกัน โดยความยั่งยืนจะยังคงเป็นแกนหลักในการเดินหน้าของเรา การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสและความมุ่งมั่นที่เรามีต่ออนาคต ผมเชื่อว่า ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป"

รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2566 ของลาซาด้า ได้นำเสนอภาพรวมความสำเร็จและความคืบหน้าของการดำเนินงานด้าน ESG ที่โดดเด่นของบริษัทฯ ภายในกรอบเวลาการรายงานที่ผ่านมา โดยมีไฮไลท์ที่สำคัญ ดังนี้

  • การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
  • ผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคม: ลาซาด้าได้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กว่า 1 ล้านคน[1] จากทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มอีคอมเมิร์ซของลาซาด้าทั้งใน 6 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยผู้ขาย ผู้ให้บริการด้านการค้าดิจิทัล คู่ค้าโลจิสติกส์ รวมถึงพนักงาน
  • การให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อส่งเสริมชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
  • ลาซาด้าได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ครั้งล่าสุด เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs) ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจและสร้างการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ลาซาด้า เวียดนาม ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2 รางวัล จากการสนับสนุนและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ในงาน Saigon Times Corporate Social Responsibility 2022 Merit Ceremony และรางวัล Corporate Social Recognition Awards ของหอการค้าอเมริกันในเวียดนาม

การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต

สภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนความหลากหลายและเปิดรับความแตกต่าง: ลาซาด้ามีพนักงานกว่า 32 สัญชาติ

ในทุกประเทศที่ลาซาด้าดำเนินธุรกิจ โดยมีพนักงานเพศหญิงมากถึง 44% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด

  • ประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับทุกคน: GROW แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ของลาซาด้า ซึ่งเปิดสอนกว่า 1,000 หลักสูตรสำหรับพนักงานในทุกประเทศ
  • การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ลดลง: ลาซาด้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลงถึง 10% เมื่อเทียบกับกรอบเวลาการรายงานครั้งก่อน
  • โครงการด้านโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน: โครงการจุดเชื่อมต่อการขนส่ง (Transport Access Point: TAP) ของลาซาด้า โลจิสติกส์ ในประเทศอินโดนีเซีย ช่วยลดการเดินทางกว่า 20,000 เที่ยว หรือประมาณ 7 ล้านกิโลเมตร จากกิจกรรมการขนส่งทางถนนที่ลดลง โดยความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือกับพันธมิตรในการใช้รถบรรทุกขนส่งของลาซาด้าในการจัดส่งพัสดุไปยังเมืองที่มีจุดหลายปลายทางร่วมกัน ทำให้สามารถลดการใช้รถบรรทุกขนส่งแยกกันได้

การกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ

  • มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น: ในช่วงกรอบเวลาการรายงานที่ผ่านมา ลาซาด้าไม่ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าจากการดำเนินธุรกิจในส่วนต่าง ๆ ของลาซาด้า
  • แนวปฎิบัติและกระบวนการด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (IPR): เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ลาซาด้า ได้เป็นผู้นำการจัดตั้งคณะทำงานด้านการต่อต้านสินค้าปลอมในธุรกิจอีคอมเมิร์ซประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia eCommerce Anti-Counterfeiting Working Group: SeCA) ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าร่วมในภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มแรก เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในด้านนโยบาย โครงการ เครื่องมือ และทรัพยากรที่แพลตฟอร์มมอบให้แก่แบรนด์ในการบริหารจัดการและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

กลาดิส ชุน ที่ปรึกษา ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า "หลังจากที่เราได้เผยแพร่รายงานผลกระทบด้าน ESG ฉบับแรกในปีที่แล้ว เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เห็นผลการดำเนินงานที่ดี รวมถึงความสำเร็จของโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของลาซาด้า ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและเป้าหมายระยะยาวของเราในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในส่วนของธุรกิจของลาซาด้าเอง และอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในวงกว้าง เราเชื่อว่า แนวทางสู่ความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ควรทำ แต่ยังเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาส เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้นในระยะยาว"

รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2566 ของลาซาด้า จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการจัดทำรายงานของ Global Reporting Initiative (GRI) ปี 2564[2]

[1] ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566

[2] ดูรายละเอียดได้ในข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบรรณาธิการ

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบรรณาธิการ:

  • รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2566 ของลาซาด้า นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและผลการดำเนินงานด้าน ESG ของลาซาด้า กรุ๊ป โดยครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมดใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงการดำเนินงานของบริษัทย่อย ได้แก่ เรดมาร์ท ในสิงคโปร์ โดยมีกรอบเวลาการรายงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 ("ปีงบประมาณ 2566") เว้นแต่ว่าจะมีการระบุเป็นอื่น และรวมถึงทีมงานระดับภูมิภาคที่สนับสนุนการดำเนินงานระหว่างประเทศ โดยมีพนักงานอยู่ใน 6 ประเทศและในประเทศจีน
  • รายงานฉบับนี้ยังประกอบด้วยข้อมูลจากกรอบเวลาการรายงานครั้งก่อนหน้า ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ("ปีงบประมาณ 2565") สำหรับการเปรียบเทียบที่เหมาะสม
  • มาตรฐาน GRI ได้รับเลือกเนื่องจากเป็นมาตรฐานระดับโลกที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดโดยธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนที่มีหลักเกณฑ์ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ เนื้อหาดัชนีของมาตรฐาน GRI โดยละเอียดอยู่ในส่วนท้ายของรายงาน (หน้า 36)

ลาซาด้า กรุ๊ป เผยแพร่รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2566
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit