เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2566

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์ (Japan Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปี อิเล็กทรอนิกส์566 เมื่อวันที่ อิเล็กทรอนิกส์4 มกราคม อิเล็กทรอนิกส์566 ที่ผ่านมา โดยศ.มาซาทากะ นากาซาวา (Masataka Nakazawa) และนายคาซูโอะ ฮากิโมโตะ (Kazuo Hagimoto) ซึ่งมาจากญี่ปุ่นทั้งสองท่าน เป็นผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ร่วมกันในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ และการสื่อสาร ขณะที่ศ.เกโร มีเซนบ็อก (Gero Miesenboeck) จากออสเตรีย และศ.คาร์ล ดีสเซอโรธ (Karl Deisseroth) จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ร่วมกันในสาขาชีววิทยาศาสตร์

- สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ และการสื่อสาร

ศ.มาซาทากะ นากาซาวา

https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202301122017/_prw_PI1fl_6Rl1J1P6.jpg

นายคาซูโอะ ฮากิโมโตะ

https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202301122017/_prw_PI2fl_92oy84V5.jpg

- สาขาชีววิทยาศาสตร์

ศ.เกโร มีเซนบ็อก

https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202301122017/_prw_PI3fl_umu1Iz4Y.jpg

ศ.คาร์ล ดีสเซอโรธ

https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202301122017/_prw_PI4fl_NHukgJH3.jpg

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปีนี้ ศ.นากาซาวา และนายฮากิโมโตะ ได้รับการยกย่องจากผลงานอันโดดเด่นในด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสงความจุสูงทางไกลระดับโลก โดยทั้งสองได้พัฒนาตัวขยายกำลังงานแสงปั๊มเลเซอร์เซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่ศ.มีเซนบ็อก และศ.ดีสเซอโรธ ได้รับการยกย่องจากการพัฒนากลวิธีที่ใช้โปรตีนเมมเบรนแบบไวต่อแสงที่ระบุตำแหน่งได้ทางพันธุกรรม เพื่อแก้ไขการทำงานของวงจรประสาท

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ปี 2566 ทางมูลนิธิฯ ได้ขอให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีชื่อเสียงประมาณ 15,500 คนทั่วโลก ร่วมเสนอชื่อนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสาขาประจำปีนี้ โดยได้รับการเสนอชื่อ 123 รายในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ และการสื่อสาร และได้รับการเสนอชื่อ 204 รายในสาขาชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้ชนะประจำปีนี้ได้รับเลือกจากผู้ชิงรางวัลรวม 327 ราย

เกี่ยวกับเจแปน ไพรซ์

เจแปน ไพรซ์ (Japan Prize) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างสรรค์รางวัลระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลก และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคมากมาย ในที่สุดมูลนิธิเจแปน ไพรซ์ ก็ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีในปี 2526

เจแปน ไพรซ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์และน่าทึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับสาขาของตนเอง ตลอดจนสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาล้วนมีสิทธิ์ได้รับรางวัล ซึ่งในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัลสองสาขาโดยพิจารณาจากแนวโน้มการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยหลักการแล้วจะมีผู้ชนะรางวัลสาขาละหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และเงินรางวัล นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐบาลทั้งสามฝ่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลในแต่ละครั้งด้วย

ที่มา: มูลนิธิเจแปน ไพรซ์


ข่าวคาซูโอะ ฮากิโมโตะ+ชีววิทยาศาสตร์วันนี้

เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2566

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์ (Japan Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยศ.มาซาทากะ นากาซาวา (Masataka Nakazawa) และนายคาซูโอะ ฮากิโมโตะ (Kazuo Hagimoto) ซึ่งมาจากญี่ปุ่นทั้งสองท่าน เป็นผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ร่วมกันในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ และการสื่อสาร ขณะที่ศ.เกโร มีเซนบ็อก (Gero Miesenboeck) จากออสเตรีย และศ.คาร์ล ดีสเซอโรธ (Karl Deisseroth) จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ร่วมกันในสาขาชีววิทยาศาสตร์ - สาขาอิ

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุ... วว. ยกทัพงานบริการ วทน. โชว์ในงานนิทรรศการนานาชาติแห่งเอเชีย LAB BIO CHEM International 2024 — นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศ...

เฟพอน (Fapon) บริษัทชีววิทยาศาสตร์ชั้นนำร... เฟพอน ร่วมงาน JITMM 2023 โชว์ความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวินิจฉัยโรค — เฟพอน (Fapon) บริษัทชีววิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ขึ้นเวทีแสดงความเชี่ยวชาญในการประชุมวิ...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...