สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และมหาวิทยาลัยพะเยา จับมือสร้างเครือข่ายงานวิจัยเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หนุน คาดหวังเกิดความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโดยอาศัยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน พัฒนากำลังคน สร้างผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ สู่การประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรมและชุมชน
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และมหาวิทยาลัยพะเยา โดย รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โอกาสนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วย
รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ กล่าวว่า "หนึ่งในพันธกิจของสถาบันฯ คือการส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์ สู่การยกระดับและพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา สามารถใช้เทคนิคแสงซินโครตรอน และเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบของสถาบันได้ ร่วมกับพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมสร้างความร่วมมือเครือข่ายงานวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน"
ศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยให้อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตที่มีความสนใจ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้าน ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นในอนาคต ความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี โดยอาศัยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเป็นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคน การสร้างสรรค์กิจกรรมทางวิชาการใหม่ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง สู่การประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ ชุมชนและสังคม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม"
นอกจากนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันสนันสนุนด้านวิชาการ การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และด้านเทคนิควิศวกรรมขั้นสูง เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารทางวิชาการ ร่วมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรด้วย
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม "ค่ายลำแสงซินโครตรอน แสงแห่งอนาคต" ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจิตรลดา พร้อมฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ ชูไฮไลท์การจำลองสถานการณ์คดีฆาตกรรมเพื่อสืบหาคนร้ายจากเศษขนด้วยเทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์ 3 มิติ และฐานการทดลองเพื่อเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคและเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสำหรับโรงเรียนจิตรลดา
เปิดโลกซินโครตรอนให้นักเรียนราชสีมาวิทยาห้องเรียนพิเศษและความสามารถพิเศษด้านวิทย์-คณิต
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...
มหกรรมวิทย์ โดย กระทรวง อว. ชวนสัมผัส “ซินโครตรอนในชีวิตประจำวัน”
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตก...
ปตท. ผนึก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มุ่งยกระดับและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงโดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน
—
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่...
TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน
—
ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...
จัดค่ายนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องแดนซินโครตรอน สร้างแรงบันดาลใจเส้นทางอาชีพเยาวชน
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...
ซินโครตรอนร่วมอนุรักษ์มรดกโลก "เมืองโบราณศรีเทพ" ถอดสูตรอิฐยุคก่อนประวัติศาสตร์
—
ดร.วุฒิไกร บุษยาพร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน...
มิตรผล-ซินโครตรอนจับมือร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์บนเส้นทาง Net Zero
—
บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ...
ซินโครตรอน-ม.พะเยาจับมือสร้างเครือข่ายงานวิจัยเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...