ทีมวิจัยแพทย์รามาฯ ม.มหิดลวิจัยปรับสมดุลจุลชีพในทารกเกิดก่อนกำหนด

ด้วยสมมุติฐานที่มักพบว่า "ทารกเกิดก่อนกำหนด" มีโอกาสติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดได้ง่ายกว่า "ทารกเกิดครบกำหนด" ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียสมดุลของจุลชีพในทางเดินอาหาร (gut dysbiosis) จึงนำไปสู่การวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการปรับสมดุลทางจุลชีพในทางเดินอาหารที่เป็นสิ่งท้าท้ายศักยภาพวงการสาธารณสุขของประเทศไทย

ทีมวิจัยแพทย์รามาฯ ม.มหิดลวิจัยปรับสมดุลจุลชีพในทารกเกิดก่อนกำหนด

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ อาจารย์ประจำสาขาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ด้วยสมมุติฐานที่มักพบว่า "ทารกเกิดก่อนกำหนด" มีโอกาสติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดได้ง่ายกว่า "ทารกเกิดครบกำหนด"

ทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พยายามพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าวข้างต้นว่าอาจสัมพันธ์กับการเสียสมดุลของจุลชีพในทางเดินอาหาร (gut dysbiosis) จึงนำไปสู่การวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการปรับสมดุลทางจุลชีพในทางเดินอาหารที่เป็นสิ่งท้าท้ายศักยภาพวงการสาธารณสุขของประเทศไทย

เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดมีรูปแบบของสมดุลจุลชีพในทางเดินอาหารที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทีมวิจัยจึงได้ทดลองปรับสมดุลจุลชีพให้กลับมาใกล้เคียงปกติได้ด้วยโพรไบโอติกส์ (probiotics) หรือจุลชีพเพื่อสุขภาพบางชนิดมาทำหน้าที่ปรับสมดุลดังกล่าว เพื่อสร้างโอกาสที่จะทำให้สมดุลของจุลชีพกลับมาใกล้เคียงปกติ

ซึ่งจุลชีพในโพรไบโอติกส์ที่นำมาใช้ในการทดลองปรับสมดุลร่างกายของทารกเกิดก่อนกำหนด เป็นเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มโพรไบโอติกส์จำนวน 2 ชนิด ได้แก่Bifidobacterium bifidum ร่วมกับ Lactobacillus acidophilus

ปัจจุบันโครงการวิจัยดังกล่าวอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล และลงทะเบียนผู้ป่วย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 9 เดือนข้างหน้า ก่อนเตรียมส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการเพื่อขยายผลการศึกษาวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์ในปีต่อไป

โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะทิ้งท้าย ไม่ว่าจะทำงานวิจัยเรื่องอะไร หากทำด้วยใจรัก จะทำให้สามารถทำงานวิจัยได้อย่างมีความสุขขอเพียงไม่ละทิ้งความเพียรพยายาม และหมั่นทบทวนเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เชื่อว่าจะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ดังตั้งใจได้ในที่สุด

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวโรงพยาบาลรามาธิบดี+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

มูลนิธิรามาธิบดีฯ สนับสนุนการศึกษาแพทย์ไทย ระดมทุนผ่านแรงสนับสนุนจากผู้บริจาค เปิดอาคารกายวิภาคคลินิก ผสานเทคโนโลยีการสอนทันสมัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลักดันศักยภาพของการศึกษาแพทย์ไทยผ่านการสนับสนุนอาคารกายวิภาคคลินิก (Clinical Anatomy Building) ของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการสร้างอาคาร และเครื่องมือทางการแพทย์จากผู้บริจาค ซึ่งเป็นพลังแห่งน้ำใจที่ช่วยส่งเสริมการศึกษาและการแพทย์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พร้อมเปิดให้บริการด้านกายวิภาคศาสตร์อย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการรับบริจาคร่างกาย

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบ... รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ จัดการประชุมวิชาการ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดก...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับโรงเรียนพยาบา... รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลราม...

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุ... ธ.ทิสโก้จับมือกรุงเทพประกันชีวิต บุกอีสาน ! เดินสายสัมมนาให้ความรู้ลูกค้า @อุดรธานี — ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาช...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกั... วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ "จดจำ" อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โ...

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมี... ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ — การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...

โรคซึ่งมีสาเหตุจากกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อ... ม.มหิดลวิจัยค้นพบ'สารสังเคราะห์จากสมุนไพรไทย'ต้านภาวะไตเสื่อมจากเบาหวาน — โรคซึ่งมีสาเหตุจากกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อน มักอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NC...