128 ปี นับตั้งแต่ "รังสีเอกซ์" (X-ray) ได้รับการค้นพบโดย วิลเฮล์มคอนราด เรินต์เกน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้คว้ารางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ คนแรกของประวัติศาสตร์ทำให้โลกได้มีการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยรังสีเอกซ์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคต่างๆ จวบจนปัจจุบันและนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของบทบาท "นักฟิสิกส์การแพทย์" ให้โลกได้จารึก
ด้วยความมุ่งมั่นในปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถผลักดันให้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อผลิต "นักฟิสิกส์การแพทย์ทักษะสูง" เยียวยาวิกฤติขาดแคลนวิชาชีพดังกล่าว เสริมยุทธศาสตร์ชาติ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภฤศ หาญอุตสาหะ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะฯ ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์การแพทย์ ด้วยทักษะขั้นสูง เพื่อรองรับการขาดแคลนวิชาชีพ"นักฟิสิกส์การแพทย์" ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในโลกที่เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่งเช่นปัจจุบัน
ซึ่งนักฟิสิกส์การแพทย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย จากการใช้องค์ความรู้ทางฟิสิกส์ประยุกต์เพื่อทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการได้รับการฉายรังสีในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย โดยมีการทำงานที่สอดประสานกันระหว่างรังสีแพทย์ในการวินิจฉัยโรค และนักรังสีเทคนิคในการใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
รังสีเป็นพลังงานที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาโรคมะเร็ง แม้การฉายรังสีจะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติได้ จึงทำให้มีการบรรจุรายวิชา "การป้องกันและความปลอดภัยจากการแผ่รังสี" เอาไว้ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาฟิสิกส์การแพทย์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่นอกจากมีความรู้ทางวิชาชีพที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ยังจัดให้มีการฝึกปฏิบัติทางคลินิกของฟิสิกส์การแพทย์ และการใช้เทคนิคขั้นสูงสำหรับรังสีรักษาตลอดจนการทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อที่สามารถแก้ไขปัญหาในการให้บริการผู้ป่วยด้านรังสี และการวางแผนการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยต่อไปอีกด้วย
ปัจจุบัน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการรับรองมาตรฐานนานาชาติAUN-QA (ASEAN University Network Quality Assurance) นอกจากนี้ คณะฯ ยังมีหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งปริญญาโท และเอก อีกหลายหลักสูตรที่เตรียมเข้ารับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ โดยคณะฯ มุ่งพัฒนาให้ทุกหลักสูตรมีเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถนำไปพัฒนาวิชาชีพ และส่งเสริมประเทศไทยให้บรรลุยุทธศาสตร์ชาติที่ยั่งยืนต่อไป
มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลักดันศักยภาพของการศึกษาแพทย์ไทยผ่านการสนับสนุนอาคารกายวิภาคคลินิก (Clinical Anatomy Building) ของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการสร้างอาคาร และเครื่องมือทางการแพทย์จากผู้บริจาค ซึ่งเป็นพลังแห่งน้ำใจที่ช่วยส่งเสริมการศึกษาและการแพทย์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พร้อมเปิดให้บริการด้านกายวิภาคศาสตร์อย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการรับบริจาคร่างกาย
รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ จัดการประชุมวิชาการ
—
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดก...
รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
—
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลราม...
ม.มหิดลคิดค้น'เครื่องมือ RRST'คัดกรองความเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
—
"ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง" อาจต้องกลายเป็น "ผู้พิการ" หรื...
ธ.ทิสโก้จับมือกรุงเทพประกันชีวิต บุกอีสาน ! เดินสายสัมมนาให้ความรู้ลูกค้า @อุดรธานี
—
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาช...
รร.พยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับรพ.ไทยนครินทร์ ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการออนไลน์
—
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบด...
วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ "จดจำ" อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โ...
ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ
—
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...
ม.มหิดลวิจัยค้นพบ'สารสังเคราะห์จากสมุนไพรไทย'ต้านภาวะไตเสื่อมจากเบาหวาน
—
โรคซึ่งมีสาเหตุจากกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อน มักอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NC...