การจะขับรถยนต์ให้ถึงที่หมายโดยปลอดภัยนั้นดูเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะปลอดภัย โดยเฉพาะกับมอเตอร์ไซค์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีความปลอดภัยน้อยกว่า การใช้ชีวิตบนท้องถนนเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัยอยู่ทุกเมื่อ จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถสบายใจได้ด้วยประกันทั้งภาคบังคับและสมัครใจ!
พรบ รถจักรยานยนต์คืออะไร
พรบ รถจักรยานยนต์ มีชื่อเต็มคือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นประกันรถภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายระบุชัดเจนว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจะต้องทำเพื่อเป็นหลักประกันความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ทันท่วงที โดยความคุ้มครองจะครอบคลุมเงินชดเชยและเงินค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้เคราะห์ร้ายในเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ว่าจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นอย่างแน่นอน ทำให้มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ใดก็จะได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งหากว่าเราเฉยเมยไม่ทำ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังไม่สามารถต่อทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกอีกด้วย
ความคุ้มครองของพรบ รถจักรยานยนต์
เช่น รถล้มเพราะถนนลื่น ขับรถไปชนเสาจนได้รับบาดเจ็บ สุนัขวิ่งตัดหน้าจึงหักหลบจนเสียหลักล้ม จะให้ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยในกรณีบาดเจ็บ จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคนและหากเสียหายทั้งสองกรณี สามารถเบิกรวมกันไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าพรบ รถจักรยานยนต์ให้การคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยเท่านั้น แต่จะไม่คุ้มครองในส่วนของการซ่อมแซมรถ
ประกันรถจักรยานยนต์คืออะไร
ประกันรถจักรยานยนต์ เป็นประกันภาคสมัครใจ ซึ่งตามกฎหมายเราจะทำหรือไม่ทำก็ได้โดยไม่มีความผิด ซึ่งจะมีการคุ้มครองเพิ่มเติมจากพรบ รถจักรยานยนต์ คือการคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน โดยวงเงินและขอบเขตการคุ้มครองจะเป็นไปตามประเภทของประกันรถ ซึ่งข้อดีของประกันรถจักรยานยนต์คือความคุ้มครองในส่วนความเสียหายของรถ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเสียค่าซ่อมรถเอง ซึ่งเป็นส่วนที่พรบ รถจักรยานยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง
นโยบายฯ และแผนประกันภัยปัจจุบัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit