กรมวิชาการเกษตร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) องค์กรความร่วมมือของประเทศเยอรมนี (GIZ) ร่วมกับภาคเอกชนนำร่องจัดทำ Baseline การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพืชเศรษฐกิจหลัก อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ไม้ผล (ทุเรียน มะม่วง)
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะประธานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) กล่าวว่า จากการประชุม APEC ซึ่งไทยได้ให้ความสำคัญและเน้นย้ำการพัฒนา ทางเศรษฐกิจผ่านนโยบาย Bio-Circular Green Economy (BCG) การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมาย Net Zero การพัฒนาระบบคาร์บอนเครดิต ภาคการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่
กรมวิชาการเกษตร และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ทำ MOU ร่วมกัน ก่อให้เกิดการสนับสนุนทั้งด้านการพัฒนา และผลักดันการจัดการคาร์บอนเครดิต รวมทั้งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้อย่างยั่งยืน มีการสร้างการสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และ ร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ในพืชเศรษฐกิจสำคัญ
การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) องค์กรความร่วมมือของประเทศเยอรมนี และสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ดึง บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด บริษัท วรุณา ประเทศไทย จำกัด บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด บริษัท ราชสีมา กรีน สตาร์ช จำกัด บริษัท ไทยอิสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาร์ดีเกษตรพัฒนา จำกัด บริษัท บูรพา เทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท เนทซีโรคาร์บอน จำกัด และ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด
เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกนำร่องในพืชเป้าหมาย คือ อ้อย ในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ขอนแก่น นครสวรรค์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี ปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี และกระบี่ มันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัด อุทัยธานี ระยอง ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยภูมิ และฉะเชิงเทรา ยางพารา ในพื้นที่จังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สงขลา ไม้ผล (ทุเรียนและมะม่วง) ในพื้นที่จังหวัด จันทุบรี ศรีสะเกษ สุโขทัย และขอนแก่น
คาดว่าภายหลังความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรและภาคเอกชน จะได้รูปแบบวิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติในการลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้ baseline ในพืชแต่ละชนิด มีพื้นที่ที่เข้าสู่โครงการ T-VER เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต มีแปลงต้นแบบในการจัดการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ มีแนวทางในการพัฒนา GAP Carbon Credit Plus มีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมขององค์กร และท้ายที่สุด บุคลากรของกรมวิชาการเกษตร จะได้รับการรับรองเป็นผู้ตรวจประเมิน (VVB)
"ผลที่จะได้รับจากความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรของประเทศจะลดลง และเกษตรกรจะมีคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินการเกษตรดีที่เหมาะสม คือ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง หรือ กักเก็บได้ จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหน่วยเป็นต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น การนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงาน และนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
กรมวิชาการเกษตร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) องค์กรความร่วมมือของประเทศเยอรมนี (GIZ) ร่วมกับภาคเอกชนนำร่องจัดทำ Baseline การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพืชเศรษฐกิจหลัก อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ไม้ผล (ทุเรียน มะม่วง) นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะประธานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) กล่าวว่า จากการประชุม APEC ซึ่งไทยได้ให้ความสำคัญและ
กรมวิทย์ฯ หารือ GISTDA เร่งสร้างความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและระบบทดสอบมาตรฐานสากล ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศแห่งอนาคต
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ก...
BSRC พร้อมเครือข่ายพันธมิตรเดินหน้าโครงการ "ชีวานุรักษ์ พันธกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ" เตรียมนำพา "นกกาฮัง" คู่ใหม่ กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
—
หลังจากบริษ...
ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ ยกระดับความรู้ "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" เตรียมรับมือวิกฤต PM 2.5
—
ไทยพีบีเอส ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย เปิดโครงการยกระดับความรู้...
BSRC ผนึกกำลัง GISTDA และองค์การสวนสัตว์ เสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
—
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC ...
กรมอนามัย จับมือ GISTDA คว้ารางวัลเลิศรัฐ ปี 2567 จากผลงานแอปพลิเคชัน "Life Dee"
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จับมือ กระทรว...
BMN เปิดพื้นที่ Metro Art : MRT พหลโยธิน สร้างฝันส่งเยาวชนไทยสู่เวทีศิลปะระดับโลก
—
Metro Art อาร์ตสเปซใจกลางเมืองที่ MRT พหลโยธิน ยกระดับการสนับสนุนศิลปะ...
ปตท. ร่วมกับ GISTDA มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ต่อยอดธุรกิจดาวเทียม
—
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร...
GISTDA ลงพื้นที่ ระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารส...
GISTDA เปิดตัว "สมอล-วอท" ระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม
—
20 พฤศจิกายน 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒ...