วิศวะมหิดล จัดหนัก 20 ทุน หนุนสร้าง 'วิศวกรเคมี' ป้อนตลาดไทย-อาเซียน ขยายรับ นศ. ใหม่ ป.โท - เอก สมัครวันนี้ - 16 พ.ค. 66

วิศวกรเคมี เป็นหนึ่งในอาชีพสุดฮอตซึ่งเป็นที่ต้องการสูงในการพัฒนาประเทศ เพื่อสนองตอบแนวโน้มการพัฒนาวัสดุและนวัตกรรมในโลกธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับรองหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตตามมาตรฐานโลกหรือ ABET สหรัฐอเมริกา ได้ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ขยายการเปิดรับสมัครนักศึกษา ป.โท - ป.เอก สำหรับหลักสูตร 2 ปริญญานานาชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 สมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 16 พ.ค. 66 พร้อมจัด 20 ทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ก้าวสู่อาชีพวิศวกรเคมีระดับโลกอีกด้วย

วิศวะมหิดล จัดหนัก 20 ทุน หนุนสร้าง 'วิศวกรเคมี' ป้อนตลาดไทย-อาเซียน ขยายรับ นศ. ใหม่ ป.โท - เอก สมัครวันนี้ - 16 พ.ค. 66

ผศ.ดร.วนิดา คูอมรพัฒนะ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า แนวโน้มวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) เป็นวิชาชีพวิศวกรรมที่มีความต้องการของตลาดสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เนื่องจากตลาดงานทางวิศวกรรมเคมีมีความหลากหลาย ตอบโจทย์ทุกภาคส่วนในการสร้างนวัตกรรม ทั้งภาคอุตสาหกรรม และการวิจัยแบบบูรณาการ วิศวกรเคมีจึงนับเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่เป้าหมายที่วางไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ หลักสูตรวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดเด่นเป็นหลักสูตร 2 ปริญญา (Doubled Degree Curriculum) โดยผนึกความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยสามารถเรียน 2 ปี (สำหรับหลักสูตร ป.โท) และ 3 หรือ 4 ปี (สำหรับหลักสูตร ป.เอก ) และได้ปริญญาร่วมจากทั้งสองสถาบัน วิศวะมหิดล จัดหนัก 20 ทุน หนุนสร้าง 'วิศวกรเคมี' ป้อนตลาดไทย-อาเซียน ขยายรับ นศ. ใหม่ ป.โท - เอก สมัครวันนี้ - 16 พ.ค. 66

โดยหลักสูตร2 ปริญญา ได้รับการออกแบบตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตอบรับแนวโน้มบทบาทของวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) ที่มีส่วนสร้างสรรค์วัสดุและนวัตกรรมใหม่ ตลอดจนพัฒนาสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเสริมฐานทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งผลิตนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมเคมีและวิศวกรรมเคมีเชิงบูรณาการ โดยใช้องค์ความรู้ผสมผสานทางวิทยาศาสตร์ ต่อยอดผลงานวิจัยพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่า อาทิเช่น พัฒนาศาสตร์ทางด้านพลังงานและอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนาวัสดุขั้นสูง นาโนเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพ (Health care) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การพัฒนาแบบจำลอง (Modeling) สมัยใหม่ทางวิศวกรรมเคมี และการจำลอง (Simulation) การปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ วิจัย เชื่อมโยงกับนักศึกษาต่างประเทศในสังคมต่างวัฒนธรรม EcoSystem และห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีระดับนานาชาติอีกด้วย ทุกห้องปฏิบัติการได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมีระดับชาติ (ESPReL) ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในมาตรฐานของหลักสูตรและความปลอดภัยในการทำวิจัย

กำหนดเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ วันนี้ - 16 พ.ค. 66 ใน 3 หลักสูตรนานาชาติ คือ 1.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 2.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) และ 3.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) ผู้เรียนยังมีโอกาสได้รับการพิจารทุนการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 20 ทุน

ผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมเคมี สามารถประกอบอาชีพที่ก้าวหน้าไปกับโลกยุคใหม่ได้หลากหลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  อาทิ วิศวกร นักวิจัย นักวิชาการ วิศวกรทางด้านอาหารและยา วิศวกรกระบวนการผลิต โดยสามารถออกแบบ และควบคุมระบบในกระบวนการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ รวมถึงวิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรทางด้านพลังงาน วิศวกรปิโตรเลียมและปิโตรเคมี วิศวกรอุตสาหกรรมซีเมนต์ ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง เจ้าของธุรกิจ/สตาร์ทอัพ ที่มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพระดับสากล เป็นต้น

คุณสมบัติผู้สมัครเรียน 3 หลักสูตร

  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) ผู้สมัครมีคุณสมบัติดังนี้ 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 2. มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ผลงาน (แผน ก1) หรือ ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 (แผน ก2) 3. สอบผ่านภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ผศ.ดร.ณัฐธีร์ อัครวัฒน์โฆษิต E-mail: [email protected] โทร 02-889-2138 ต่อ 6101
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรภาคปกติสำหรับนักศึกษาทั่วไป และหลักสูตรภาคพิเศษสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว 1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 2. มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (กรณีที่เกรดเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 2.50 สามารถเข้าศึกษาได้โดยการพิจารณาของกรรมการบริหารหลักสูตร) 3. สอบผ่านภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (หากยังไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษ สามารถขอสอบภายหลังได้) สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ผศ.ดร.พรชัย บำรุงศรี E-mail: [email protected] โทร 087-933-2403
  3. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เคมี หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 2. เกรดเฉลี่ยสะสมมากกว่า 3.50 3. สอบผ่านภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (และหากมีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่แล้วในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ปี จะสามารถเข้าศึกษาในแผนการเรียนที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ศ.ดร. มะลิ หุ่นสม E-mail: [email protected] โทร 02-889-2138 ต่อ 6101

ข่าวมหาวิทยาลัยโอซาก้า+คณะวิศวกรรมศาสตร์วันนี้

วิศวะมหิดล เดินหน้าพัฒนา 'วิศวศึกษายุคใหม่' ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นและไต้หวัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดย ผศ.ดร.ภัทรพร โปสกนิษฐกุล รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ พร้อมด้วย ดร.สรชา เดชะอำไพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ต้อนรับ ศ.ฮิโรชิ อูมาโกชิ (Hiroshi Umakoshi) ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka University) และ คุณอากิระ โยโกตะ (Akira Yokota) ประธาน บริษัท ซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในการประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และร่วมแสดงความยินดีกับ

เครื่องสำอาง COVERMARK (คัฟเวอร์มาร์ค) ชว... COVERMARK ชวนสัมผัสประสบการณ์ใหม่กับ CELL ADVANCED SERUM — เครื่องสำอาง COVERMARK (คัฟเวอร์มาร์ค) ชวนสัมผัสประสบการณ์กับ CELL ADVANCED SERUM WS เซรั่มสูตร...

อีกก้าวของความร่วมมือ ไทย ญี่ปุ่น ผศ.ดร.จ... วิศวะมหิดล MOU กับ มหาวิทยาลัยโอซาก้า แห่งญี่ปุ่น ผนึกพลังวิจัยนวัตกรรมระดับโลก — อีกก้าวของความร่วมมือ ไทย ญี่ปุ่น ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศว...

รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ซังเกียว ซึ่งใช้เซลล์แสงอาทิตย์ของทรินา โซลาร์ คว้ารางวัล "Dream Class" จากการแข่งขัน "FIA Electric & New Energy Championship 2017"

บริษัท ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ประกาศว่า รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ซังเกียว (OSU) รุ่น "OSU-Model-S"...

ทาดามิตสึ คิชิโมโตะ นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวญี่ปุ่น เข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติยศจากสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบีย

ศาสตราจารย์ ทาดามิตสึ คิชิโมโตะ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เข้ารับพระราชทานรางวัล King Faisal International Prize ประจำปี 2560 สาขาแพทยศาสตร์ จากสม...

แอพพลิเคชั่น teamLabBody -3D Motion Human Anatomy- เตรียมวางจำหน่ายทั่วโลก 21 มีนาคมนี้

แอพกายวิภาคศาสตร์มนุษย์แบบ 3 มิติตัวแรกของโลก จะจำลองการจัดเรียงและการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ที่มีชีวิต TEAMLAB BODY Inc. ซึ่งร่วมก่อตั้งโดย teamLab และศาสตราจารย์ คาซึโอมิ ซึกาโมโตะ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า จะ...

ภาพข่าว: มอบรางวัลนักวิจัย

นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ ศ.ดร.นพ.คาซูโนริ โออิชิ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะนักวิจัยอุบัติการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย ภายในงาน "รวมพลังขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีโภชนาการสมวัย ส่ง...