รหัสผ่านที่หละหลวมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามอันใหญ่หลวง และเป็นหนึ่งในจุดเปราะบางสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาการละเมิดข้อมูล การหลอกลวงด้วยฟิชชิง และการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่
การเริ่มต้นใช้รหัสผ่านในยุค 1960 ทำให้โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้รหัสผ่านได้กลายเป็นวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ใช้กันจนคุ้นชินโดยไม่ต้องท่องจำ ตั้งแต่ชื่อสัตว์เลี้ยงตัวแรกไปจนถึงชื่อจังหวัดเกิดของเรา วันนี้รหัสผ่านเป็นปราการหลักที่คอยปกป้องความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนเรื่องธนาคารและการเงิน
แม้จะทราบเช่นนั้น แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมองว่ารหัสผ่านเป็นมาตรการที่ปลอดภัยเพียงพอ ทั้งที่จริงเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยเพราะคาดเดาได้ง่ายก็ตาม เพราะชื่อสุนัข ชื่อคู่สมรส วันเกิด หรือถ้อยคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคุณซึ่งพบเห็นได้บนโพรไฟล์โซเชียลมีเดีย ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้โจมตีสืบเสาะได้ง่ายเช่นกัน
จริงที่ว่าหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลตกเป็นภาระของบริษัทที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว แต่ผู้บริโภคก็ทำอะไรได้หลายอย่างเพื่อปกป้องข้อมูลการเข้าสู่ระบบของตนเองเช่นกัน ดังนั้น วันรหัสผ่านโลก จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและเชิญชวนบุคคลทั่วไปตลอดจนองค์กรต่างๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของรหัสผ่านที่รัดกุม เพื่อดำเนินมาตรการปรับปรุงความปลอดภัยของรหัสผ่านให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่การโจมตีทางไซเบอร์และปัญหาการละเมิดข้อมูลกำลังลุกลาม การใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันจึงมีความสำคัญอย่างมากเพื่อช่วยปกป้องบัญชีออนไลน์และข้อมูลส่วนบุคคลของเรา
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ผู้ใช้ราว 91% ทราบถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเมื่อใช้รหัสผ่านซ้ำกันในหลายบัญชี แต่ก็ยังมีกว่า 66% ที่ยังคงใช้รหัสผ่านซ้ำกันอยู่ดี ซึ่งสตีเวน เชอร์แมน รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ได้เสนอแนวทางง่ายๆ ในการทำให้รหัสผ่านกลายเป็นปราการหลักที่จะช่วยคุ้มครองชีวิตส่วนตัวและการทำงานของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
มาตรการเหล่านี้จะช่วยยกระดับความปลอดภัยของรหัสผ่านแก่ผู้ใช้ทั่วไปและองค์กร ตลอดจนช่วยปกป้องบัญชีออนไลน์และข้อมูลส่วนตัวได้อย่างดีที่สุด
พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยรายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ประจำปี 2568 ที่พบว่าปัจจุบันคนร้ายได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนจากการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขโมยข้อมูลแบบเดิม ไปสู่การมุ่งขัดขวางการดำเนินธุรกิจ มีการใช้ AI ช่วยในการโจมตี และอาศัยบุคคลภายในสร้างภัยคุกคาม รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า เกือบครึ่งหนึ่งของเหตุการณ์ความปลอดภัย (44%) มีความเกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์ เมื่อไม่นานมานี้
Synology เผยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ พุ่ง 22% ต่อสัปดาห์ - ข้อมูลรั่วไหล 81% แนะองค์กรปรับเกม เปิด 4 โซลูชัน ใหม่ เพิ่มความปลอดภัยในยุคดิจิทัล
—
Synology ผู้นำร...
วันรหัสผ่านโลก: ขอพลังไซเบอร์จงสถิตอยู่กับท่าน
—
รหัสผ่านที่หละหลวมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามอันใหญ่หลวง และเป็นหนึ่งในจุดเปราะบางสำคัญที่นำไป...
รายงานฉบับใหม่จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ก่อปัญหาการข่มขู่เพิ่มขึ้น 20 เท่า
—
รายงานเปิดเผยรายละเอียดยุทธวิธีล่าสุดของแก...
Zoom เผยเทรนด์ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ปี 66
—
เมื่อเทรนด์การทำงานในองค์กรต่างๆทั่วโลกเปลี่ยนเป็นแบบไฮบริด เกิดการเพิ่มขึ้นของดิจิทัลฟุตพริ้นมากมาย นำ...
พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับเอเชียแปซิฟิก ในปี 2566:
—
การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบในอุตสาหกรรมต่างๆในปีที่ผ่านมามีสถานก...
หนึ่งในสี่ของบริษัททั่วโลกถูกละเมิดข้อมูลเสียหายมูลค่ากว่า 1 ถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสามปีที่ผ่านมา
—
สี่ในห้าขององค์กรทั่วโลกระบุว่า การเปิดเผยข้อมู...
รายงานฉบับใหม่จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผย ทั่วโลกทุบสถิติการจ่ายค่าไถ่ให้มัลแวร์ในปี 2564 เพราะข้อมูลรั่วเข้าตลาดมืดเพิ่มขึ้น
—
การเรียกค่า...
"ยิบอินซอย" เติมมิติใหม่จัดการข้อมูลให้พ้นภัยแรนซัมแวร์
—
ปัจจุบัน พฤติกรรมผู้ใช้งานและองค์กรธุรกิจต่างเปลี่ยนผ่านตัวเองสู่โลกออนไลน์ ได้เพิ่มปริมาณของข้อ...
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจปรับกลยุทธ์รับมือภัยไซเบอร์ปี 64
—
หลังแฮกเกอร์ฉวยโอกาสช่วงวิกฤตโควิด-19 จู่โจมระบบความปลอดภัยขององค์กรเพิ่มขึ้น PwC ประเทศไทย แนะธ...