ม.มหิดลเดินหน้าร่วมพัฒนา'ผลิตภัณฑ์ 3 เค็มเสริมไอโอดีน' สู่มาตรฐานเดียวกัน

ความเค็มของเกลือมีทั้งด้านดี และด้านที่พึงระวัง ด้านหนึ่งเต็มไปด้วย "โซเดียม" ที่ร่างกายรับได้ในปริมาณจำกัด แต่อีกด้านคือเป็นตัวนำพา "ไอโอดีน" ซึ่งเป็นสารที่ทั่วโลกนิยมเติมลงไปในเกลือ และผลิตภัณฑ์ 3 เค็มในประเทศไทย สารไอโอดีนนี้เป็นสารที่จำเป็นต่อกลุ่มวัย โดยเฉพาะทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อป้องกันความบกพร่องของพัฒนาการทางสมอง

ม.มหิดลเดินหน้าร่วมพัฒนา'ผลิตภัณฑ์ 3 เค็มเสริมไอโอดีน' สู่มาตรฐานเดียวกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการการสร้างระบบมาตรฐานระดับชาติและการวิเคราะห์สารไอโอดีนในอาหารและในปัสสาวะ ซึ่งสถาบันฯได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส (Swiss Federal Institute of Technology in Zurich, ETH, Zurich) พัฒนาความสามารถของการตรวจวัดสารไอโอดีนมาอย่างต่อเนื่อง

จากเมื่อประมาณกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในปริมาณ 20-40 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ควรบริโภคประมาณวันละ250 ไมโครกรัม เด็กแรกเกิด - 5 ปี ควรบริโภคประมาณวันละ 90 ไมโครกรัม เด็กอายุ 6 - 12 ปี ควรบริโภคประมาณวันละ 120 ไมโครกรัม และเด็กวัยรุ่น - ผู้ใหญ่ ควรบริโภคประมาณวันละ 150 ไมโครกรัม

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินงานวิจัยเพื่อการควบคุมการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนให้ได้มาตรฐานด้วยการพัฒนาเครื่องผสมเกลือไอโอดีนต้นแบบทั้งผู้ผลิตในระดับครัวเรือน จนถึงผู้ประกอบการขนาดกลาง จนทำให้เกิดเกลือที่มีคุณภาพ ได้ปริมาณไอโอดีน 20-40 พีพีเอ็ม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้น จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยพบว่าแท้ที่จริงแล้วคนไทยนิยมใช้ "ผลิตภัณฑ์ 3 เค็ม" ในการปรุงอาหาร ซึ่งได้แก่น้ำปลา ซีอิ๊ว และน้ำเกลือปรุงรส หรือน้ำปลาเกรดรองลงมามากกว่าการเติมเกลือลงไปในอาหารโดยตรง

ซึ่งอุปสรรคในช่วงแรกของการพัฒนา "ผลิตภัณฑ์ 3 เค็มเสริมไอโอดีน" พบว่าปริมาณที่เติมสารไอโอดีนนี้มีปริมาณที่ต่ำมาก (2-3 พีพีเอ็ม) ทำให้ผู้ประกอบการยังคงไม่มั่นใจในสูตรการเติม และการตรวจวัดต้องใช้ห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือตรวจวัดขั้นสูง (ICP-MS) ซึ่งมีราคาแพงมากอีกด้วย แต่หลังจากที่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าไปร่วมให้คำปรึกษา และดูแลคุณภาพการผลิต จึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าวเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็น "ต้นแบบ" ในระดับภูมิภาคเอเชียได้ในเวลาต่อมา

แต่อย่างไรก็ตามการตรวจวัดปริมาณไอโอดีนในอาหารยังพบว่าผลที่ได้จากแต่ละห้องปฏิบัติการมีผลการทดสอบที่แตกต่างกันในตัวอย่างเดียวกัน

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ด้วยการจัดเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส มาให้การฝึกอบรมกับห้องปฏิบัติการต่างๆ 8 แห่งทั้งภาครัฐ และเอกชน หลังจากนั้นจัดทำการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการในผลิตภัณฑ์ 3 เค็ม จำนวน 2 รอบ ผลที่ได้พบว่าห้องปฏิบัติการได้ผลการทดสอบไม่แตกต่างกัน มีผลประเมินความสามารถดีได้มากกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นการแก้ปัญหาในเรื่องการทดสอบปริมาณไอโอดีนที่ได้ผลแตกต่างกัน จึงน่าจะหมดไป

ในขณะที่ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคอาหารสุขภาพ นิยมนำ "ดอกเกลือ" ไปปรุงอาหาร ซึ่งเป็นเกลือที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ในทางวิชาการคือเกลือที่มีแร่ธาตุอื่นผสมอยู่ในผลึกเกลือด้วยนั่นเอง จึงทำให้ดอกเกลือมีความเค็มน้อยกว่าผลึกเกลือโดยทั่วไป ทำให้อาหารรสชาติกลมกล่อม รวมทั้งอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็น แต่มีราคาสูงกว่า เนื่องจากผลิตได้น้อยกว่า และไม่ได้เสริมสารไอโอดีน

นอกจากนี้ ยังมีเกลือสีชมพูหิมาลายัน ซึ่งมีสีสวยกว่า กำลังเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ไม่ได้เป็นเกลือทะเล แต่ได้จากหินเกลือที่ขุดลึกจากชั้นใต้ดิน มักพบแถบเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งดีต่อสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากเป็นเกลือธรรมชาติที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นและปราศจากสารเติมแต่ง มีโซเดียมน้อยกว่า แต่มีราคาสูง และไม่ได้เสริมสารไอโอดีน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต จุดประสงค์ กล่าวว่า ทั้งดอกเกลือ และเกลือสีชมพูหิมาลายัน สามารถนำมาเติมสารไอโอดีนได้ แต่พบว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่นิยมนำมาเติม ซึ่งการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีนไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมไทรอยด์อักเสบไทรอยด์เป็นพิษ หรือมะเร็งไทรอยด์ โดยคนกลุ่มนี้ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเกิน 500 ไมโครกรัมต่อวัน

ก้าวต่อไปของโครงการฯ อยู่ที่ จะทำอย่างไรให้ทุกห้องปฏิบัติการได้มีมาตรฐานเดียวกัน ด้วยความหวังที่จะนำไปสู่การพัฒนา "ผลิตภัณฑ์ 3 เค็มเสริมไอโอดีน" ที่ได้มาตรฐานเดียวกันให้ได้มากที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทยห่างไกลจากโรคขาดสารไอโอดีนกันถ้วนหน้า รวมถึงการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการปรับแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีช่วงของปริมาณไอโอดีนที่เหมาะสมต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+สถาบันโภชนาการวันนี้

การประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 14 (NCT14) "Toxicology for Sustainable Development"

เมื่อเร็วนี้ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 14 (NCT14) เรื่อง "Toxicology for Sustainable Development" โดยสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพิษวิทยาคลินิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชมรมพันธุพิษแห่งประเทศไทย ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย และ Thailand LAB INTERNATIONAL 2024 เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน พ.ศ.2567 ณ ห้อง MR 224-225 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมี... ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ — การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...

เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 9... การประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 13 (NCT13) เรื่อง "Toxicology in BCG Policies of Thailand" — เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 9.00 น. รองศาสตราจา...

ด้วยเทคโนโลยีทางอาหาร เปลี่ยน "ข้าวหอมมะล... ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลผลิต'อาหารโฟมโปรตีนสูงเพื่อผู้สูงวัยจากข้าวหอมมะลิไทย' — ด้วยเทคโนโลยีทางอาหาร เปลี่ยน "ข้าวหอมมะลิไทย" ให้เป็นนวัตกรรม "อาหารโฟมโปร...

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทย... โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security — คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ตอกย้ำความเป... โตชิบาคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมสินค้าแห่งปี ตอกย้ำผู้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน — บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ...