ปักหมุด "ไทยพีบีเอส" องค์กรสื่อแห่งแรก ร่วม 10 องค์กรภาคีภาคเอกชน พัฒนาย่าน 'หลักสี่สีเขียว' น่าอยู่ ลุยปรับปรุงพื้นที่ ด้านหลังป้ายรถเมล์ เป็นสวน 15 นาที ให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้มาใช้บริการ
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมกับ we!park we!park จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "บทบาทภาคเอกชน กับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ" ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อชวนภาคเอกชนร่วมกันสร้างประชาคมหลักสี่สีเขียว พัฒนาย่านหลักสี่ให้เป็นย่านน่าอยู่ มีพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อกันภายในย่าน เป็นสวนที่เข้าถึงได้ในทุกๆ 15 นาที หรือ ในระยะ 800 เมตร ผ่านองค์ความรู้การออกแบบพื้นที่สีเขียวด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ตามแนวคิด "สรรค์สร้าง หน้าบ้าน สร้างสรรค์ ย่านสีเขียว" ระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566
ผศ.ปาณิทัต รัตนวิจิตร หัวหน้าฝ่ายหลักสูตรฝึกอบรมและการวิจัย โครงการ we!park กล่าวว่า โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ บทบาทภาคเอกชน กับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรุงเทพมหานคร เพื่อออกแบบสวน 15 นาที พบว่า กระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวได้สำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมออกแบบ ตอบโจทย์การใช้งาน ซึ่งการพัฒนาพื้นที่หน่วยงานเดียวหรือคนเดียวยากที่จะประสบความสำเร็จ การพัฒนาจึงต้องเชื่อมโยงหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับย่าน โดยการอบรมครั้งนี้ มุ่งหวังว่าจะทำให้หลักสี่เป็นย่านสีเขียวเพื่อคุณภาพชีวิตของคนในย่าน ถ้าเรามีพื้นที่สีเขียวเปิดให้คนมาใช้ พื้นที่ก็จะดึงดูดคนเหล่านั้นให้เข้ามามากขึ้น เมื่อมีคนมาเห็นเรามากขึ้นในแง่ธุรกิจก็ขายได้มากขึ้น กระตุ้นการออกมาทำกิจกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจในเมือง การมีพื้นที่สีเขียวช่วยในเรื่องสุขภาพด้วย งานวิจัยต่างประเทศสามารถพอได้เลยว่าพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการรักษาพยาบาลได้จริง
นายอดุลย์ พรชุมพล ผู้อำนวยการสำนักบริหาร ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ไทยพีบีเอสให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีแนวทางขับเคลื่อนพื้นที่สีเขียว พื้นที่สวนสาธารณะให้มีการขับเคลื่อนและเกิดผลสัมฤทธิ์ประจักษ์ได้จริง โดยชวนภาคเอกชนที่สนใจ ออกแนวความคิดวิเคราะห์ถึงเรื่องของความจำเป็น การได้มีส่วนร่วมออกแบบพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ ในการเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ซึ่งเป็นโอกาสของไทยพีบีเอสที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิด ในส่วนพื้นที่ของไทยพีบีเอส มีแนวทางที่จะปรับปรุงพื้นที่ด้านหน้าอาคาร ด้านหลังป้ายรถเมล์ ในการทำเป็นสวน 15 นาที ให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้มาใช้บริการ ส่วนพื้นที่ภายในของไทยพีบีเอสได้มีการจัดพื้นที่ภูมิทัศน์ให้สอดรับกับแนวทางสำนักงานสีเขียวให้พนักงานได้มีสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี ส่งเสริมให้บรรยากาศการทำงาน และคุณภาพชีวิตของพนักงานที่ดีขึ้น
นายคมพศิษฎ์ ประไพศิลป์ สถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตหลักสี่ ในฐานะตัวแทนสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำหรับโครงการของไทยพีบีเอสครั้งนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง และเป็นต้นแบบของการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลภาวะ สร้างเมืองน่าอยู่ยั่งยืนต่อไป กระบวนการที่ไทยพีบีเอสมอบให้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ให้ข้อมูลกับคนในย่าน ขั้นตอนการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร จนทำให้รู้ว่าถ้าเราพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะแล้วใครจะได้ประโยชน์บ้าง โดยให้ความสำคัญเรื่องการออกแบบและการมีส่วนร่วม
"สำหรับสำนักงานเขตหลักสี่เล็งเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์อย่างมาก ทำให้เอกชนและหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ได้เล็งเห็นว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมทำอะไรได้บ้าง ส่วนสำนักงานเขตเองก็จะมีส่วนร่วมโดยการผลักดันนโยบาย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนในย่านมาร่วมขับเคลื่อนโครงการไปด้วยกัน หวังว่าหน่วยงานเอกชนและองค์กรที่เข้าร่วม จะได้เห็นความสำคัญและร่วมกันทำให้พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นต่อไป อยากให้โครงการแบบนี้จัดขึ้นต่อเนื่อง ถ้าประชาชนภายนอกให้รับรู้มีการแนะนำการเข้าถึงพื้นที่ไทยพีบีเอสได้ดีขึ้น ก็จะเป็นส่วนผลักดันไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ได้เข้าร่วมโครงการต่อไป" นายคมพศิษฎ์ กล่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีผู้แทนสมาชิกสมาคมเข้าร่วมประชุม 38 องค์กร เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมัยที่ 13 (ปี 2567) รายงานสถานะการเงินประจำปี 2566-2567, แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมัยที่ 13 มีรายละเอียดโครงการประกอบด้วย กิจกรรมสัมมนา "กระชับสัมพันธ์ SONP" ระดมสมองทิศทางการดำเนินงานปี 67 ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
เปิดตัวโครงการ Cyber Booster ถึงเวลาฉีดวัคซีน#สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์ 5 หน่วยงานร่วมผนึกกำลัง ป้องกันประชาชนจากภัยร้ายออนไลน์
—
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร...
เปิดตัวโครงการ Cyber Booster ถึงเวลาฉีดวัคซีน #สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์ 5 หน่วยงานร่วมผนึกกำลัง ป้องกันประชาชนจากภัยร้ายออนไลน์
—
วันนี้ (7 พฤศจิกายน) กองทุ...
ร.ร.คำเขื่อนแก้วฯ ยโสธร คว้าถ้วยพระราชทานโดรนแปรอักษร ด้าน วช.ปลื้มผลงาน Soft Power เล็งหนุนเพิ่ม 500 ลำ
—
สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ร่วมกับ ...
วิชาการ จับมือวิชาชีพ พัฒนาทักษะ "สื่อใหม่" ให้กับนักศึกษาจากไทย-ลาว
—
สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา ผนึกเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ จัด Wo...
ปักหมุด "ไทยพีบีเอส" พัฒนาย่าน 'หลักสี่สีเขียว' น่าอยู่
—
ปักหมุด "ไทยพีบีเอส" องค์กรสื่อแห่งแรก ร่วม 10 องค์กรภาคีภาคเอกชน พัฒนาย่าน 'หลักสี่สีเขียว' น่า...
วช. หนุน มธ. และไทยพีบีเอส จัดกิจกรรมผลิตสื่อ Tiktok เพื่อให้เยาวชนรู้เท่าทันข่าวปลอมทางการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์
—
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักง...
วช. ชวนฟังเสวนา "เยาวชนจะร่วมขับเคลื่อน Soft Power ได้อย่างไร"ในงาน Youth In Charge Day
—
"เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า" ถึงเวลาผู้ใหญ่มาคุยกันว่าจะพาเ...