มณฑลกุ้ยโจวเร่งดำเนินโครงการ "East Data & West Computing" เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

รายงานข่าวโดย Huanqiu.com

มณฑลกุ้ยโจวเร่งดำเนินโครงการ "East Data & West Computing" เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในยุคแห่งความอัจฉริยะ ข้อมูลทำหน้าที่เป็น "สินทรัพย์หลัก" ในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในมณฑลกุ้ยโจว

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มณฑลกุ้ยโจวมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่พิเศษขึ้นมาหลายแห่งสำหรับบริษัทชั้นนำอย่างไชน่า โมบาย (China Mobile), ไชน่า ยูนิคอม ( China Telecom), ไชน่า เทเลคอม (China Telecom), หัวเว่ย (Huawei), เทนเซ็นต์ (Tencent) และแอปเปิ้ล (Apple) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าอย่างจริงจัง โดยที่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับบิ๊กดาต้า อาทิ เอสกิน (Esgyn) แซดเค-วิชัน (ZK-Vision) และไพล็อต อินฟอร์เมชัน (Pilot Information) ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ก็ได้ปล่อยพลังขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง

บิ๊กดาต้าได้เข้ามาขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของมณฑลกุ้ยโจวเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลทางสถิติแสดงให้เห็นว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของมณฑลแห่งนี้อยู่ในระดับสูงสุดของประเทศจีนในช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2564 โดยมีการเติบโตขึ้นถึง 248.8% และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของมณฑลกุ้ยโจวในปี 2565 อยู่ที่ 2.01646 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 7.060 หมื่นล้านหยวนจากระดับของปี 2564

ในปี 2565 มณฑลกุ้ยโจวได้กลายมาเป็นหนึ่งในโหนดศูนย์ประมวลผล (computing hub) ระดับชาติอย่างเป็นทางการในโครงการ "East Data & West Computing" และเมืองกุ้ยอันก็กลายเป็น 1 ใน 10 กลุ่มศูนย์ข้อมูลระดับชาติของจีน ในส่วนของการก่อสร้างเขตพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มณฑลกุ้ยโจวกำลังเร่งความเร็วในการดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรุ่นใหม่ ๆ เช่น ศูนย์ข้อมูล เครือข่ายการประมวลผล และ 5G โดยมุ่งเน้นไปที่โครงการ "East Data & West Computing" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเค้าโครงอุตสาหกรรมของศูนย์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

ในด้านศูนย์ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม มณฑลกุ้ยโจวมีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่และใหญ่มากทั้งหมด 18 แห่งที่ตั้งอยู่ภายในมณฑล ในจำนวนนี้เป็นศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่มาก 8 แห่ง โดยความจุเซิร์ฟเวอร์รวมกันแล้วมากกว่า 2.25 ล้านเครื่อง และมีอัตราการโหลด (rack loading rate) สูงถึง 60.53%

ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม มณฑลกุ้ยโจวได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G แห่งใหม่ไปทั้งสิ้น 2,362 แห่ง โดยมีจำนวนสถานีฐาน 5G รวมทั้งหมดมากถึง 87,000 แห่ง และวางสายเคเบิลใยแก้วไปแล้ว 1.916 ล้านกิโลเมตร

เมื่อช่วงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ฐานประมวลผลหลักสำหรับเฟสแรกของโหนดศูนย์ประมวลผลระดับชาติ (กุ้ยโจว) ในเครือข่ายประมวลผลรวมแห่งชาติ (National Integrated Computing Network) ได้เข้าสู่ขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องขั้นสุดท้ายและเตรียมที่จะเปิดใช้งานในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะกลายมาเป็นหน้าต่างของการส่งพลังการประมวลในมณฑลกุ้ยโจว พร้อมทั้งให้บริการประมวลผลคุณภาพสูงสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องในมณฑล หรือแม้แต่ในพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ มณฑลกุ้ยโจวยังให้การส่งเสริมโครงการสำคัญอีก 2 โครงการในเมืองใหม่กุ้ยอันควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้แก่ ศูนย์ข้อมูลเน็ตอีส (NetEase Data Center) และศูนย์ข้อมูลคลาวด์ไมเดีย (Midea Cloud Data Center) ซึ่งทั้งสองโครงการใช้เงินลงทุนมากกว่า 1 พันล้านหยวน เพื่อจะมาช่วยเสริมศักยภาพการก่อสร้างโครงการ "East Data & West Computing" และวางรากฐานในการสนับสนุนการประมวลผลระดับชาติ

รากฐานการวางเค้าโครงอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์การลงทุนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในมณฑลกุ้ยโจวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากสำนักงานบิ๊กดาต้าของมณฑลกุ้ยโจว (Guizhou Big Data Bureau) ชี้ว่า ในไตรมาสแรกของปี 2566 มณฑลกุ้ยโจวมีการลงทุนในด้านบิ๊กดาต้าไปแล้ว 8.078 พันล้านหยวน รวมการลงทุนสำหรับโครงการ "East Data & West Computing" ที่ดำเนินการไปแล้วมูลค่า 1.499 พันล้านหยวน

มณฑลกุ้ยโจวเตรียมจัดกิจกรรม "ปีแห่งการก่อสร้างโครงการบิ๊กดาต้า" (Construction Year of Big Data Projects) ทุกพื้นที่ทั่วมณฑลในปีนี้ โดยตั้งเป้าจะทำให้โครงการลงทุน 2 หมื่นล้านหยวนในด้านบิ๊กดาต้าเสร็จสมบูรณ์ และเปิดตัวโครงการเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งให้ได้มากกว่า 200 โครงการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2084334/Tencent_Seven_Star_Data_Center_in_Guizhou_Source_IC_photo.jpg

คำบรรยายภาพ - ศูนย์ข้อมูลเทนเซ็นต์ เซเวน สตาร์ ในมณฑลกุ้ยโจว (ที่มา: IC photo)


ข่าวไชน่า เทเลคอม+China Telecomวันนี้

หัวเว่ย วางเครือข่ายที่เชื่อถือได้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง

รถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุงของอินโดนีเซีย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "WHOOSH" ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว โดยรถไฟสายนี้ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงจากเดิม 3 ชั่วโมงครึ่ง เหลือเพียงแค่ 40 นาทีเท่านั้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง ในโอกาสนี้ หัวเว่ย (Huawei) ได้ผนึกกำลังกับ ไชน่า เรลเวย์ ซิกนัล แอนด์ คอมมิวนิเคชัน (China Railway Signal & Communication หรือ CRSC) และไชน่า เทเลคอม (China Telecom) วางเครือข่ายรถไฟสำหรับ WHOOSH โดยเฉพาะ

รายงานข่าวโดย Huanqiu.com ในยุคแห่งความอั... มณฑลกุ้ยโจวเร่งดำเนินโครงการ "East Data & West Computing" เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ — รายงานข่าวโดย Huanqiu.com ในยุคแห่งความอัจฉริยะ ข้อมูลทำหน...

ไทยคม บรรลุข้อตกลงกรอบข้อกำหนดการขายไอพีสตาร์ในประเทศจีน

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้บรรลุข้อตกลงกรอบข้อกำหนดการขายช่องสัญญาณไอพีสตาร์ในประเทศจีน (Framework Agreement) กับ ไชน่า เทเลคอม แซทเทลไลท์ (China Telecom Satellite) และ ซีเนอร์โทน คอมมิวนิเคชั่น คอร์ปอเรชั่น (Synertone Communication...

เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นเตรียมเปิดศูนย์ข้อมูล Yuanqu Data Center พร้อมจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต e-VLAN ในนครเซี่ยงไฮ้

เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ คอร์เปอเรชั่น (NTT Communications Corporation หรือ NTT Com) ประกาศในวันนี้ว่า บริษัทได้ทำข้อตกลงให้ไชน่า เทเลคอม เซี่ยงไฮ้ (China Telecom Shanghai) บริษัทใน...

สรุปข่าวเอเชียเน็ทประจำวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2549

การเข้าร่วมของเวอร์ริสัน ปักกิ่ง: เวอร์ริสัน บิสิเนส(Verizon Business)ได้ลงนามในข้อตกลงด้านการก่อสร้างและการบำรุงรักษาร่วมกับกลุ่มบริษัท ซึ่งประกอบด้วย บริษัทไชน่า เทเลคอม(China Telecom)และบริษัทไชน่า เน็ทคอม(China Netcom)เพื่อสร้างระบบเคเบิลใยแก้ว...

ไชน่า เทเลคอม มุ่งสู่เครือข่าย IP NGN เลือกซิสโก้เป็นซัพพลายเออร์หลัก สำหรับการขยายเครือข่ายไชน่าเน็ต 2 (CN2) ในปี 2549

เราเตอร์ Cisco CRS-1 และ 12000 Series ปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายและการให้บริการ ซิสโก้ ซีสเต็มส์? เปิดเผยว่า ไชน่า เทเลคอม (China Telecom) ได้เลือกใช้สถาปัตยกรรม Cisco? Internet...

ซิสโก้เตรียมสร้างเครือข่ายพื้นฐาน และเครือข่ายธุรกิจรุ่นอนาคตให้กับไชน่า เทเลคอม

ซิสโก้เตรียมสร้างเครือข่ายพื้นฐาน และเครือข่ายธุรกิจรุ่นอนาคตให้กับไชน่า เทเลคอม ติดตั้งเราเตอร์เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าพร้อมสนับสนุนเครือข่ายระดับเมืองในอนาคต ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (NASDAQ:CSCO) เปิดเผยว่า...

หัวเว่ยและพันธมิตรออกหนังสือปกขาวชี้แจงอุตสาหกรรม 5GDN

เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย ร่วมกับสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจีน (CAICT), ไชน่า โมบายล์, ไชน่า เทเลคอม และไชน่า ยูนิคอม ออกรายงาน 5GDN Industry White Paper โดยนับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งกลุ่ม 5G Deterministic Networking Alliance (5GDNA)...

“เซี่ยงไฮ้” ให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับกิกะบิตทั่วมหานคร

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท เซี่ยงไฮ้ เทเลคอม ในเครือไชน่า เทเลคอม ได้ประกาศความสำเร็จในการวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ระดับกิกะบิตในมหานครเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้บริษัทก้าวขึ้นเป็นผู้นำของโลกในการให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับ 10Gps ทั่ว...